ข้ามไปเนื้อหา

บารายตะวันออก

พิกัด: 13°26′51″N 103°55′19″E / 13.44756°N 103.9219093°E / 13.44756; 103.9219093
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บารายตะวันออก (เขมร: បារាយណ៍ខាងកើត; อังกฤษ: East Baray) ในปัจจุบันเป็น บาราย ที่เหือดแห้งหายไปแล้ว เป็นแหล่งเก็บน้ำสำคัญในอดีตใน เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกำแพงเมือง นครธม บารายตะวันออกถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 1443 (หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 10) ในรัชสมัยของ พระเจ้ายโศวรมัน บารายแห่งนี้ถูกหล่อเลี้ยงโดยแม่น้ำเสียมราฐ บารายแห่งนี้เป็นบารายที่ใหญ่ที่สุดอันดับสอง รองลงมาจาก บารายตะวันตก วัดคร่าว ๆ ได้ 7,150 คูณ 1,740 เมตร และบรรจุน้ำได้เกือบ 50 ล้าน ลูกบาศก์เมตร

รูปสลักที่เล่าเรื่องการก่อสร้างบาราย พบได้ตามมุมทั้งสี่ของสิ่งก่อสร้าง ตอนแรก บารายแห่งนี้ ถูกเรียกว่า ยโศดรตตกะ ตามชื่อกษัตริย์ผู้สร้าง

บัณฑิตแบ่งแยกกันตามความคิดของวัตถุประสงค์ของบารายนี้ และบารายอื่น ๆ โดยทฤษฎีบางทฤษฎี ชาวขอมกักเก็บน้ำสำหรับการชลประทาน แต่ไม่มีร่องรอยการแกะสลักที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทฤษฎีอื่น ๆ คือ บารายถูกสร้างขึ้นมาหลัก ๆ ไว้สำหรับทางศาสนา ซึ่งแสดงถึงทะเลแห่งการสร้าง ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

บารายตะวันออกในปัจจุบันไม่ได้บรรจุน้ำแล้ว แต่เค้าโครงของมันยังคงปรากฏให้เห็นเด่นชัดในภาพถ่ายทางอากาศ ตรงใจกลางของบาราย คือ ปราสาทแม่บุญตะวันออก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นยกระดับที่เคยเป็นเกาะมาก่อนในอดีต ตอนที่บารายยังบรรจุน้ำ

อ้างอิง

[แก้]
  • ฮิกแฮม, ชารลส์. The Civilization of Angkor. [ม.ป.ท.] : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, พ.ศ. 2544. (อังกฤษ)

13°26′51″N 103°55′19″E / 13.44756°N 103.9219093°E / 13.44756; 103.9219093