ข้ามไปเนื้อหา

ถ้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ้ำ Lechuguilla นิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
ถ้ำ

ถ้ำ คือโพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา[1] หรือเป็นช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ[2] โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านกัดเซาะ ซึ่งมักพบตามภูเขาหินปูนหรือ ภูเขาชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคสังคมบุพกาล

     มนุษย์เริ่มอาศัยอยู่ในถ้ำตั้งแต่ยุคหินเก่า เพื่อให้เป็นที่หลบภัยธรรมชาติ และภัยจากสัตว์ร้าย ปัจจุบันก็ยังพบว่ามีชาวจีนภาคเหนือหลายร้อยคนอาศัยอยู่ในบ้านถ้ำบนที่ราบสูงดินเลิสส์

ประเภทของถ้ำ

[แก้]

แบ่งตามลักษณะและทิศทาง

[แก้]
  • ถ้ำแนวนอน ทอดตัวยาวลึก
  • ถ้ำชั้น ภายในแบ่งเป็นหลายๆ ชั้น
  • ถ้ำแนวตั้ง ทอดตัวแนวตั้งลึกลงไปในดิน
  • ถ้ำแนวลาด ทอดตัวลาดเท ไม่ขนานหรือตั้งฉากกับระดับพื้น [ต้องการอ้างอิง]

แบ่งตามโครงสร้าง

[แก้]
  • ถ้ำหินปูน เกิดจากการกัดเซาะของน้ำใต้ดินและน้ำฝนจนทำให้เกิดเป็นโพรงถ้ำ
  • ถ้ำน้ำแข็ง เป็นถ้ำในแถบขั้วโลก ส่วนใหญ่เกิดจากการละลายในธารน้ำแข็ง สามารถเกิดได้ในเขตหุบเขาที่อุณหภูมิต่ำตลอดปีด้วยเช่นกัน
  • โพรงหินชายฝั่ง หรือ ถ้ำทะเล เกิดจากกระบวนการกัดเซาะพื้นหินจนเกิดเป็นโพรงถ้ำมักเจอตามแนวชายฝั่งตามรอยแตกของชั้นหินและรอยเลื่อน[3]
  • ถ้ำภูเขาไฟ เกิดขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟและการเย็นตัวของลาวาขณะไหลทะลักออกมาจากภูเขาไฟ[4]

แบ่งตามระบบ

[แก้]
  • ถ้ำเป็น คือ ถ้ำที่ยังคงมีน้ำไหลภายในถ้ำ มีการเจริญเติบโตของหินงอกหินย้อย[5]
  • ถ้ำตาย คือ ถ้ำที่ไม่มีน้ำไหลผ่านภายในถ้ำ ไม่มีการเจริญเติบโตของหินงอกหินย้อย[6][7]

สิ่งที่น่าสนใจในถ้ำ

[แก้]

ตะกอนหินปูนที่จัดตัวเป็นแท่งสูงจากพื้นถ้ำขึ้นไปหาเพดานถ้ำ เกิดจากหยดน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยเมื่อหล่นถึงพื้นถ้ำจะเกิดการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สารประกอบคาร์บอเนตเกิดการสะสมตัวและค่อยๆ สูงขึ้นจากพื้นถ้ำ

ตะกอนหินปูนที่จับตัวเป็นแท่งหรือแผ่นย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ เกิดจากน้ำใต้ดินที่มีหินปูนละลายอยู่หยดลงมาจากรอยแตกบนเพดานถ้ำ และเมื่อน้ำสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปก็จะทำให้เกิดสารประกอบคาร์บอเนตเริ่มสะสมตัวทีละน้อย และพอกยาวลงมาจากเพดานเรื่อยๆ โดยปกติมักมีลักษณะเป็นหลอดกลวงอยู่ตรงกลาง

ลักษณะของหินที่เป็นแท่งหรือเสายาวจากพื้นถ้ำจรดเพดานถ้ำ เกิดจากหินงอกหินย้อยมาบรรจบกัน

สารหินปูนที่จัดตัวเป็นหลอดหรือท่อย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ สารประกอบคาร์บอเนตที่เกิดจะมีการเรียงตัวของผลึกในแนวยาวและย้อยลงมาทำให้มีความยาวเพิ่มขึ้น ทำให้ดูคล้ายหลอดกลวงที่มีน้ำหยดออกมา

ตะกอนที่เกิดจากน้ำที่มีสารประกอบคาร์บอเนตไหลเป็นแผ่นบางๆ บนพื้นผิวของพื้นถ้ำ ซึ่งมักจะประกอบไปด้วยหินทราเวอร์ทีน ซึ่งเป็นอีกรูปหนึ่งของสารประกอบคาร์บอเนต

เกิดจากน้ำที่มีสารคาร์บอเนตสูงที่ไหลตามผนังที่เอียงซึ่งเกิดจากแรงตึงผิวของน้ำ เมื่อน้ำเกิดสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงทำให้เกิดการตกตะกอนของสารประกอบคาร์บอเนต มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ย้อยลงมาจากผนังถ้ำดูคล้ายม่าน บางแห่งจะมีสีน้ำตาลแดงสลับกับสีขาวหรือเหลืองอ่อนมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ม่านเบคอน

เกิดขึ้นจากการสะสมแคลไซต์หรืออาราโกไนต์ขนาดเล็กที่เกิดจากการตกตะกอนที่มีศูนย์กลางรอบนิวเคลียส สัมผัสกับน้ำที่ไหลจะทำให้พื้นผิวของไข่มุกถ้ำเงาวาว มีสารประกอบด้วยแคลไซต์เป็นหลัก มีลักษณะเป็นทรงกลมเป็นไข่มุกขนาดเล็ก มักพบในถ้ำหินปูน หากสัมผัสกับอากาศ อาจทำให้เสื่อมสภาพและดูหยาบได้[8][9]

สัตว์ในถ้ำ

[แก้]

สัตว์ในถ้ำแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

  1. ทร็อกโลไบต์ จะอาศัยอยู่ในถ้ำตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่สามารถดำรงชีวิตนอกถ้ำได้ มักอยู่ในส่วนลึกของถ้ำ หาอาหารในถ้ำ เช่น จิ้งโกร่ง แมลงสองง่าม
  2. ทร็อกโลไฟล์ ดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในถ้ำ และภายนอก เช่น แมงมุม
  3. สัตว์ถ้ำชั่วคราว ปกติใช้ชีวิตอยู่นอกถ้ำ แต่มักมีพฤติกรรมเข้าๆ ออกๆ จากถ้ำบ่อยๆ เช่น ค้างคาว ผีเสื้อกลางคืน หมี

การเตรียมตัวสำรวจถ้ำ

[แก้]

อุปกรณ์

[แก้]
เข็มทิศ
กล้องถ่ายรูป

สิ่งสำคัญ

[แก้]
  1. เราจะไม่กลัว ถ้าศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับถ้ำ
  2. ไม่ควรสำรวจถ้ำคนเดียว ควรไปเป็นหมู่คณะ และมีผู้เชี่ยวชาญนำสำรวจ
  3. ก่อนสำรวจ ควรแจ้งสถานีตำรวจ และศูนย์ท่องเที่ยวในบริเวณนั้น
  4. การสำรวจถ้ำเสี่ยงต่อการหลงทาง จึงห้ามเดินพลัดหลงคนเดียว
  5. ถ้าจะปีนหน้าผา หรือเก็บรังนก ควรฝึกการปีนบันไดเชือกให้แม่นยำก่อน
  6. เตรียมอุปกรณ์ข้างต้นให้พร้อมก่อนเดินทาง
  7. ระมัดระวังตัว

กฎและข้อห้าม

[แก้]
  • ห้ามนำหินงอกหินย้อยออกจากถ้ำ
  • ห้ามขีดเขียนผนังถ้ำ
  • ห้ามทิ้งขยะในถ้ำ และแหล่งน้ำในถ้ำ ไม่ว่าตรงไหนก็ตามในถ้ำ
  • ห้ามสัมผัสหินงอก หินย้อย[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  2. พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544
  3. "Sea/Littoral Caves - Caves and Karst (U.S. National Park Service)". www.nps.gov (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Cave Types - National Cave and Karst Research Institute" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-02.
  5. "active cave – Termframe" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "สำรวจความเชื่อเรื่อง 'ถ้ำ' ของคนไทย พื้นที่ของความตาย และการถือกำเนิด". THE STANDARD. 2018-06-28.
  7. "dry cave, dead cave – Termframe" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. Gillieson, David (1996-11-17). Caves: Processes, Development and Management (PDF) (ภาษาอังกฤษ) (1 ed.). Wiley. p. 304. doi:10.1002/9781444313680.gloss. ISBN 978-0-631-19175-9.
  9. "cave pearls, cave pearl, pisolite, pisolith – Termframe" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-08-14.
  • วิทยาศาสตร์ฉลาดรู้ เรื่อง สำรวจถ้ำ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]