สะพานแผ่นดิน
หน้าตา
สะพานแผ่นดิน (อังกฤษ: land bridge) ทางชีวภูมิศาสตร์[2] หมายถึงคอคอดหรือแผ่นดินที่กว้างกว่านั้น ที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินสองแผ่นดินที่ตามปกติแล้วแยกจากกัน การเชื่อมทำให้เกิดภาวะที่ทำให้สัตว์บกและพืชสามารถเดินทางข้ามแลกเปลี่ยนไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ได้ สะพานแผ่นดินอาจจะเกิดได้จากการการร่นถอยของทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลแห้งเหือดลง ที่ทำให้บริเวณไหล่ทวีปที่เคยอยู่ใต้น้ำตื้นเขินขึ้น หรือเมื่อแผ่นเปลือกโลกเลื่อนตัวจนทำให้เกิดแผ่นดินใหม่ขึ้น หรือเมื่อท้องทะเลสูงตัวขึ้นในกรณีแผ่นดินสูงคืนตัวหลังการละลายของธารน้ำแข็ง (Post-glacial rebound) หลังจากยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง
ตัวอย่าง
[แก้]- รามเสตุ เชื่อมต่อระหว่างประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา
- สะพานแผ่นดินเบริงเจีย สะพานแผ่นดินในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในอดีตเคยเชื่อมไซบีเรียของทวีปเอเชียกับอะแลสกาของอเมริกาเหนือเข้าด้วยกัน
- คอคอดปานามา เกิดขึ้นเมื่อสามล้านปีที่แล้วที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางภูมิสัตวภาพระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและใต้[1]
- คาบสมุทรไซนาย เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Webb, S. David (23 August 2006). "The Great American Biotic Interchange: Patterns and Processes". Annals of the Missouri Botanical Garden. 93 (2): 245–257. doi:10.3417/0026-6493(2006)93[245:TGABIP]2.0.CO;2. S2CID 198152030.
- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สะพานแผ่นดิน