เกาะหินโด่ง
เกาะหินโด่ง คือ ลักษณะทางธรณีสัณฐาน มีลักษณะเป็นเสาหินที่วางตัวในแนวตั้ง แยกตัวเป็นเสาเดี่ยวๆ อยู่ใกล้กับชายฝั่ง เกิดมาจากกระบวนการทางธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยคลื่น น้ำทะเล และลมเท่านั้น การกัดเซาะและการกระแทกของลมและน้ำทะเลก็จะทำให้หินที่บริเวณแหลมชายหาดเกิดความไม่แข็งแรง เกิดกัดเซาะจนกระทั่งทำให้หินเกิดรอยร้าว เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน จึงเกิดการพังทลายลง เกิดเป็นสาหินเดี่ยวๆหรืออาจเป็นเกาะเล็กๆ เลยก็ได้ นอกจากนั้นแล้วเกาะหินโด่งยังเกิดได้จากการที่สะพานโค้งธรรมชาติเกิดการพังทลายจากแรงโน้มถ่วง เกาะหินโด่งยังมีความสำคัญต่อการทำรังของนกทะเล และการปีนเขา
ลักษณะการเกิด[แก้]
เกาะหินโด่งนั้นแรกเริ่มมีการกำเนิดมาจากชั้นของหินตะกอน หินตะกอนไฟหรือผาหินปูนก็ได้ ซึ่งหินเหล่านี้มีความแข็งไม่มาก พอที่จะเกิดการกรัดกร่อนได้ง่าย ถ้าหากเป็นหน้าผาของเคลย์ก็จะเกิดการกรัดกร่อนและพังทลายง่ายเป็นพิเศษ แต่ถ้าหากเป็นแกรนิตก็จะใช้เวลาในการเกิดนานกว่ามาก
รูปแบบของการเกิดส่วนมากนั้นจะเกิดจากการที่น้ำทะเลซัดสาดใส่ในแนวที่เป็นรอยแตกในส่วนของแหลมชายฝั่ง จากนั้นรอยแตกก็จะขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเป็นถ้ำเล็กๆ เมื่อเวลาผ่านไป ถ้ำเกิดการขยายตัวจนเป็นสะพานโค้งธรรมชาติและถูกกัดกร่อนจากปัจจัยภายนอกและจากแรงโน้มถ่วง เกิดการพังทลายกลายเป็นเกาะหินโด่งในที่สุด นอกจากนั้นแล้วการที่น้ำทะเลหนุนสูงก็ยังทำให้เกิดการกัดกร่อนเป็นอย่างมากอีกด้วย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดเกาะหินโด่งได้
ตัวอย่าง[แก้]
- เกาะตาปู, อ่าวพังงา, ประเทศไทย
- เกาะบอลส์พีระมิด ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของออสเตรเลีย
- ฟารากลอนิ, เมืองคาปรี, อิตาลี
- เดอะ บิก ฟลาวเวอร์พอต, เกาะ ฟลาวเวอร์พอต, ทะเลสาบฮูรอน, แคนาดา
- ทรี ซิสเตอร์, เอตันวิล, เมืองโนวา สโคเทล, แคนาดา
- โกธรอค, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
- ชูการ์ลอฟ, เกาะมิชิแกน, เมืองมิชิแกน, สหรัฐอเมริกา
- เฮย์สเตค, เกาะแคนนอน, สหรัฐอเมริกา
- โอลด์แฮรี่รอค, ดอร์เซท, อังกฤษ
- โอลด์แมนออฟฮอย, เมืองออร์คนี,สก็อตแลน
- โฮปเวลส์ ร็อค, แหลมโฮปเวลส์, นิวบรุนซวิค, แคนาดา
- ปู ปิน ชู, เกาะไฮ, ฮ่องกง
- อซีทรีซา, เมืองซิคิลี, อิตาลี
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เกาะหินโด่ง |