ประเภท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเภท (ฝรั่งเศส: genre /ˈʒɒnrə/ หรือ /ˈɒnrə/; จากภาษาฝรั่งเศส, genre เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ʒɑ̃ʁ(ə)], "ชนิด" หรือ "ประเภท", จากภาษาละติน: genus (รากศัพท์ gener-), ภาษากรีก: genos, γένος) เป็นคำที่ใช้กับวรรณกรรม หรือสิ่งบันเทิงรูปแบบต่าง ๆ เช่น ดนตรี ทั้งในภาษาเขียนหรือภาษาพูด แบบเสียงหรือภาพ ยึดจากเกณฑ์ของสิ่งบันเทิงแต่ละชนิด ประเภทเกิดขึ้นตามข้อตกลงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหากมีประเภทใหม่ถูกคิดค้นขึ้น และประเภทเก่าไม่ได้ใช้แล้ว บ่อยครั้ง สิ่งบันเทิงต่าง ๆ จะตรงกับประเภทได้มากกว่าหนึ่งประเภท โดยยืมและผสมผสานข้อตกลงต่าง ๆ เหล่านี้

ประเภทเริ่มขึ้นจากระบบการแบ่งประเภทสำหรับวรรณกรรมกรีกโบราณ กวีนิพนธ์ ร้อยแก้ว และการแสดง ต้องมีรูปแบบที่เฉพาะที่สอดคล้องกับประเด็นของเรื่อง รูปแบบการพูดแบบตลกไม่ควรจะอยู่ในเรื่องโศกนาฏกรรม และแม้แต่นักแสดงก็ควรเคร่งครัดกับประเภทที่พวกเขาแสดงภายใต้ฐานคติว่าคนประเภทหนึ่ง ๆ จะสามารถบอกเล่าเรื่องเล่าประเภทหนึ่ง ๆ ได้ดีที่สุด ประเภทในยุคต่อมาได้เพิ่มจำนวนขึ้นและพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ชมและผู้สร้าง ประเภทกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สาธารณชนเข้าใจถึงงานศิลปะที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ เนื่องจากงานศิลปะจะสอดคล้องกับสถานะทางสังคมที่ว่าคนจะเขียน วาดภาพ ร้องเพลง หรือเต้นรำเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเข้าใจ การนำประเภทมาใช้เป็นเครื่องมือนั้นจะต้องปรับใช้กับความหมายที่เปลี่ยนไปได้ด้วย ความจริงแล้วในยุคกรีกโบราณก็มีงานศิลปะรูปแบบใหม่ผสมผสานกัน และเรียกว่าเป็นวิวัฒนาการของประเภท ตัวอย่างเช่น "โศกนาฏกรรมตลก" (tragicomedy)

วรรณกรรม[แก้]

วรรณกรรมคือประเภทหนึ่งของหมวดหมู่การประพันธ์ รวมไปถึงแนวที่อาจจะถูกกำหนดเนื้อหาโดยใช้เทคนิคการประพันธ์ โทนของเรื่อง หรือแม้กระทั่งเขียนบทความยาวอย่างเช่นนิยาย แล้วไม่ควรสับสนระหว่างคำว่า หมวดหมู่แนวของกลุ่มนักอ่านเด็กจนถึงวัยรุ่น หรือ หมวดหมู่แนวของกลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่ เพราะโดยส่วนใหญ่จะมีการจำแนกนิยายวัยรุ่น และแนวผู้ใหญ่ให้อยู่แล้ว ไม่ควรรวมนิยายภาพ เพราะแนว หมวดหมู่มีความยืดหยุ่นและแยกย่อยไปตามแต่ละหลายประเภท