ลาดตีนทวีป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมิประเทศใต้ทะเล

ลาดตีนทวีป (อังกฤษ: continental rise) เป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดทวีปไปจนถึงพื้นท้องสมุทร (seabed) มีลักษณะเป็นที่ราบเรียบและอาจมีความชันเล็กน้อย และอาจมีบางส่วนลึกหรือเป็นที่สูงต่ำ เกิดจากการตกทับถมของตะกอนต่าง ๆ ที่พัดพามากับกระแสน้ำ บ้างปรากฏเป็นเขาก้นสมุทร (abyssal hill) ไม่สูงมาก พบได้ทั่วไป บางส่วนของลาดตีนทวีปนั้นก็มีความราบเรียบเท่ากันกับพื้นท้องมหาสมุทรที่เป็นพื้นที่ของมหาสมุทรนั้นมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายอันได้แก่ สันเขา ที่ราบสูง แอ่ง ภูเขา เช่น เทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทอดยาวจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติก มีบางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำทะเลกลายเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์สหรือหมู่เกาะฮาวาย ลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร บางลูกมียอดตัด เรียกว่า เขายอดราบใต้สมุทร (guyout) พบมากบริเวณตอนกลางและด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวาย สำหรับยอดเขายอดราบใต้สมุทรนั้นมักอยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200–1,800 เมตร[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ลาดตีนทวีป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.