ตัวเลขในวัฒนธรรมจีน

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัวเลขในวัฒนธรรมจีน ในวัฒนธรรมจีน มีความเชื่อว่าตัวเลขบางตัวเป็นตัวเลขแห่งความโชคดีหรือเป็นเลขมงคล (auspicious; 吉利) และมีบางตัวเลขเป็นเลขแห่งความโชคร้ายหรือเป็นเลขอวมงคล (inauspicious; 不利) ตามคำในภาษาจีนที่ตัวเลขนั้นมีการออกเสียงคล้ายคลึง โดยเชื่อว่าเลข 0, 6, 8 และ 9 ล้วนเป็นเลขมงคลเนื่องจากเป็นคำพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายในเชิงบวก

เลขมงคลหรือเลขนำโชค (Lucky numbers)[แก้]

ศูนย์[แก้]

เลข 0 (零 หรือ 檸, พินอิน: líng or níng) มีความหมายว่าทั้งหมด (all) และยังทำให้เลขจำนวนเงินที่ลงท้ายด้วยเลขนี้มีค่ามากขึ้น

สอง[แก้]

เลข 2 (二 หรือ 两, พินอิน: èr or liăng) เป็นตัวเลขที่มักได้รับการยอมรับว่าเป็นเลขที่ดีในวัฒนธรรมจีน โดยมีคำกล่าวที่ว่า: "สิ่งที่ดีมักมาเป็นคู่". และมักพบว่ามีการซ้ำตัวอักษรในชื่อสินค้า เช่น ความสุข ซึ่งมีตัวอักษรว่า 囍 (ความสุขเป็นคู่ หรือสองเท่า) ซึ่งมาจากตัวอักษร 喜 (ความสุข) สองตัวรวมกัน ในภาษาจีนกวางตุ้งมาตรฐาน เลขสอง (jyutping: ji6 or loeng5) เป็นคำพ้องเสียงของคำว่า "ง่าย" (易) และคำว่า "สดใส" (亮) ในตอนเหนือของประเทศจีน เลขนี้เมื่อใช้เป็นคำคุณศัพท์ยังสามารถหมายความว่า "โง่"[1]

สาม[แก้]

เลข 3 (三, พินอิน: sān, jyutping: saam1) มีเสียงคล้ายกับตัวอักษรคำว่า "เกิด" ในภาษาจีน (生, พินอิน: shēng, jyutping: saang1) และถือเป็นเลขนำโชค

ห้า[แก้]

เลข 5 (五, พินอิน: wŭ) มีความสัมพันธ์กับธาตุทั้งห้า (Wu Xing; 五行) ซึ่งประกอบด้วยน้ำ ไฟ ดิน ไม้ และโลหะ ในหลักปรัชญาจีน นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระจักรพรรดิจีนอีกด้วย อาทิ ประตูจัตุรัสเทียนอันเหมินที่เป็นเส้นทางหลักเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามประกอบด้วยช่องโค้ง (arches) 5 ช่อง เป็นต้น

หก[แก้]

เลข 6 เป็นตัวแทนของความร่ำรวยในภาษาจีนกวางตุ้งเนื่องจากมีการออกเสียงคล้ายกับตัวอักษร 祿 (Lok) ซึ่งหมายถึงเงินเดือน เลข 6 (六, พินอิน: liù) ในภาษาจีนกลางก็อ่านออกเสียงเหมือนกับตัวอักษร "溜 (strong current)" (พินอิน: liù) และคล้ายกับตัวอักษร "流 (flow)" (พินอิน: liú) จึงถือเป็นเลขที่ดีสำหรับธุรกิจ

เจ็ด[แก้]

เลข 7 (七, พินอิน: qī) เป็นเลขมงคลสำหรับความสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของ "การร่วมกัน" นอกจากนี้ยังเป็นเลขนำโชคที่ดีที่สุดในโลกตะวันตกด้วย ซึ่งมักจะหาได้ยากสำหรับเลขที่มีความหมายที่ดีทั้งในวัฒนธรรมจีนและในวัฒนธรรมตะวันตกพร้อมๆ กัน โดยเลขนี้มีเสียงคล้ายกับอักษรจีนคำว่า 起 (พินอิน: qǐ) ซึ่งมีความหมายว่า เกิดขึ้น และอักษร 气 (พินอิน: qì) ที่มีความหมายว่า สาระสำคัญของชีวิต

สี่สิบเก้า[แก้]

เลข 49 ซึ่งเป็นเลขที่มาจากเลขยกกำลังของเลข 7 มักพบในนิทานพื้นบ้านของจีน และพิธีกรรมทางศาสนาทั้งเต๋าและพุทธในวัฒนธรรมจีน ตัวอย่างเช่น มีความเชื่อที่ว่าวิญญาณของผู้เสียชีวิตจะยังคงวนเวียนอยู๋บนโลก 49 วัน[2] ดังนั้นพิธีบังสุกุลครั้งที่สองจึงมักจัดขึ้นในวันครบรอบ 49 วันนี้[3]

นอกจากนี้ยังมีบางพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเลข 49 ที่ใช้ชื่อเรียกที่มาจากเลข 7 ว่า "7-7-49" (七四十九) โดยไม่ใช้เลข "49" โดยตรง

แปด[แก้]

คำว่า "แปด" (八 พินอิน: bā) มีเสียงอ่านคล้ายคลึงกับคำว่า ซึ่งหมายถึง "ความรุ่งโรจน์" หรือ "ความร่ำรวย" (, พินอิน: fā – ย่อมาจากคำว่า "發財", พินอิน: fācái) และในภาษถิ่น ตัวอักษรคำว่า "แปด" และคำว่า "โชคลาภ" ก็มีการออกเสียงที่ใกล้เคียงกัน เช่น ในภาษาจีนกวางตุ้ง ออกเสียง "baat3" และ "faat3" เป็นต้น

นอกจากนี้เลขแปดคู่ "88" ยังมีภาพคล้ายกับคำว่า 囍 "shuāng xĭ" ("ความสุขสองเท่า หรือ double joy)", พินอิน: shuāng xǐ) โดย 喜 "xĭ" มีความหมายว่า "ความปิติยินดี" หรือ "ความสุข"

นอกจากนี้ยังเชื่อว่าถ้ามีเลข 8 มากเท่าไร ก็จะโชคดีมากขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างการใช้เลข 8 ซึ่งถือเป็นเลขมงคลหรือเลขนำโชคในหลายๆ กรณี ดังนี้

เก้า[แก้]

เลข 9 (九, พินอิน: jiŭ, jyutping: gau2) มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจักรพรรดิจีน โดยถูกนำมาใช้บ่อยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก อาทิเช่น ก่อนที่จะมีระบบการสอบขุนนาง (imperial examination) ข้าราชการถูกจัดอยู่ในระบบราชการเก้าขั้น (nine-rank system) โดยมีสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ (nine bestowments) ให้เป็นรางวัลจากองค์พระจักรพรรดิเพื่อให้ข้าราชการมีความจงรักภักดี ในขณะที่การประหารเก้าชั่วโคตร (nine familial exterminations) เป็นการลงโทษที่รุนแรงสาหัสยิ่งกว่าโทษประหารชีวิต รวมทั้งเสื้อคลุมขององค์พระจักรพรรดิยังมีลายเป็นรูปมังกรเก้าตัว และตำนานเทพเจ้าจีน (Chinese mythology) กล่าวถึงมังกรเก้าตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี

นอกจากนั้นเลข 9 ยังเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า "ยาวนาน" (久) จึงมักถูกใช้ในพิธีการแต่งงาน

เลขอวมงคล (Unlucky numbers)[แก้]

สี่[แก้]

The number 4 is omitted in some Chinese buildings.

เลข 4 (四; accounting 肆; พินอิน sì) ถือเป็นเลขอวมงคลของจีนเนื่องจากเป็นคำพ้องเสียงของคำว่า "ความตาย" (死 พินอิน ) มีสินค้าหลายชนิดที่ข้ามการใช้เลข 4 ในการออกสินค้าที่ใช้ตัวเลขเป็นชื่อสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือโนเกีย (Nokia) ที่ไม่มีสินค้าที่่ใช้เลข 4 ขึ้นต้นชื่อรุ่นของสินค้า[9] Canon PowerShot รุ่นจี (G series) ก็ออกรุ่นจี 3 และข้ามไปเป็นรุ่นจี 5 เลย เป็นต้น

ในเอเชียตะวันออกมีอาคารบางแห่งไม่มีชั้นเลขที่ 4 (เทียบเคียงได้กับในทวีปตะวันตก ที่อาคารบางแห่งไม่มีชั้นเลขที่ 13 เนื่องจากเชื่อว่าเลข 13 เป็นเลขอวมงคล) ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง อาคารที่พักอาศัยบางแห่งก็ไม่มีเลขที่ชั้นที่มีหมายเลข "4" ประกอบ เช่น ชั้นที่ 4, 14, 24, 34 และชั้นที่ 40–49 และบางแห่งยังไม่มีชั้นที่ 13 ด้วย[8] เป็นผลให้อาคารที่มีเลขชั้นสูงถึงชั้นที่ 50 อาจมีจำนวนชั้นจริงๆ เพียง 35 ชั้น เป็นต้น

อีกตัวอย่างคือ องค์การขนส่งสาธารณะเอสบีเอส ทรานซิท (SBS Transit) ในประเทศสิงคโปร์ งดการออกแผ่นป้ายทะเบียนรถเมล์สาธารณะที่มีเลขลงท้ายด้วยเลข '4' ด้วยเหตุผลเดียวกัน หรืออีกองค์การขนส่งสาธารณะของสิงคโปร์ คือ เอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ก็งดการใช้เลข '4' เป็นเลขนำหน้าหมายเลขกำกับขบวนรถไฟและรถเมล์ด้วยเช่นกัน

ห้า[แก้]

เลข 5 (五, พินอิน: wǔ, jyutping: ng5) มีความสัมพันธ์กับคำว่า "ไม่" (จีนกลาง: 無, พินอิน , และจีนกวางตุ้ง: 唔 m4) ดังนั้นถ้าใช้เลขนี้ร่วมกับเลขไม่ดี ก็จะกลายความหมายเป็นเรื่องดีได้ และในทางกลับกันก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เลข 54 มีความหมายว่า "ไม่ตาย" หรือเลข 53 (จีนกวางตุ้ง "ng5 saam1") มีเสียงคล้าย "m4 sang1 (唔生)" จึงหมายถึง "ไม่มีชีวิต"

หก[แก้]

เลข 6 ในภาษาจึนกวางตุ้งมีการออกเสียงคล้ายคำว่า "lok6" (落 ซึ่งหมายถึง "หล่น ทำตก หรือแย่ลง")

เลขผสม[แก้]

  • 28, 38: เนื่องจากเลขแปดมีความหมายถึงความรุ่งโรจน์ เลข 28 จึงหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องเป็นสองเท่า และเลข 38 ถือเป็นเลขนำโชคที่ดีที่สุด โดยหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องมากเป็นสามเท่านั่นเอง
  • 167, 169, 1679: ในฮ่องกง เลข 7 (七) และเลข 9 (九) มีการออกเสียงคล้ายกับ "the five most insulting words" ในภาษาจีนกวางตุ้ง – อวัยวะเพศชาย ตามลำดับ สำหรับเลข 6 ในภาษาจีนกวางตุ้งมีการออกเสียงคล้ายคำไม่สุภาพ ดังนั้นเลข 167, 169, 1679 และตัวเลขอื่นที่มีการผสมอื่นๆ ใกล้เคียงกัน (เช่น taboo "on-9-9") จึงเป็นตลกลามก (dirty jokes) ในฮ่องกง
  • 250: ในภาษาจีนกลาง เลข 250 มีความหมายได้ว่า "คนปัญญาอ่อน หรือคนโง่ (imbecile)"
  • 286 และ 386: ในราวปี ค.ศ. 2002-2004 ในกลุ่มนักเรียนปักกิ่งได้ใช้ตัวเลขทั้งสองนี้สำหรับคนที่มีสมองช้าหรือโง่ ซึ่งมีที่มาจากระบบประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ (CPU) รุ่นเก่า
  • 5354: "不生不死" (m4 saang1 m4 sei2 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) ออกเสียงคล้ายคำว่า "ไม่อยู่ ไม่ตาย (not alive, not dead)" จึงมักใช้เรียกสิ่งที่เสมือนตายไปแล้วครึ่งหนึ่ง หรืออยู่ริมปากเหวแห่งความตาย นอกจากนั้นในภาษาจีนกวางตุ้งยังมีความหมายถึง ลักษณะที่ไม่เหมาะสม (improper look)
  • 1314: ออกเสียงคล้ายคำว่า "一生一世" (หนึ่งชีวิต หนึ่งชั่วอายุ; one life, one lifetime) ทั้งในภาษาจีนกลางและภาษาจีนกวางตุ้ง จึงมักถูกใช้ในความหมายคล้ายกับภาษาอังกฤษที่ว่า "for better, for worse, for richer, for poorer, in sickness and in health, until death do us part"
  • 768: "七六八" (jyutping: cat1 luk6 baat3) มีเสียงคล้องจองกับคำว่า "一路發" (jyutping: jat1 lou6 faat3) ในภาษาจีนกวางตุ้ง ซึ่งหมายถึง "โชคลาภตลอดทาง (fortune all the way)" และในภาษาจีนกลาง บางครั้งใช้อีกเลขหนึ่ง คือ 168 "一六八" แทน
  • 7456: ในภาษาจีนกลาง เลข 7456 (qī sì wǔ liù) ซึ่งมีเสียงคล้ายกับ "氣死我了" (qì sǐ wǒ le) มีความหมายว่า "ทำให้โกรธ (to make me angry, to piss me off)" และบางครั้งก็ใช้ในภาษาแชต (internet slang)[10]
  • 9413: "九死一生" (gau2 sei2 yat1 saang1 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) – เก้าตาย หนึ่งรอด (nine die to one live) หมายความว่ามีโอกาส 90% ที่จะเสียชีวิต และมีโอกาสเพียง 10% ในการมีชีวิตรอด หรือโดยรวมมีความหมายว่า ยากที่จะรอดในสถานการณ์นั้น
  • 521/5211314: เลข 521 ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า อู๋ เออร์ อี (wu er yi) ซึ่งมีเสียงคล้ายคำว่า อั่ว อ้าย หนี่ (wo ai ni) แปลว่า ฉันรักคุณ และเลข 1314 ในภาษาจีนกวางตุ้ง ออกเสียงคล้ายคำว่า yut sung yut sei หมายถึง นิรันดร (แปลตามตัวอักษรว่า one life one death) ดังนั้นเลข 5211314 จึงหมายถึง ฉันรักคุณชั่วนิรันดร์
  • 748: "七四八" ในภาษาจีนกลาง เลขนี้ออกเสียงว่า "ชี ซื่อ ปา (qī sì bā)" ซึ่งเมื่อออกเสียงโดยใช้วรรณยุกต์ที่แตกต่างออกไป จะมีความหมายโดยแปลอย่างคร่าวๆ ว่า: "ทำไมไม่ไปตายเสีย (Why don't you go die)?" "去死吧 (ชวี่ สื่อ ปะ; qù sǐ ba)" เป็นการดูถูกหรือล้อเลียนมากกว่าจะมีความหมายในทางข่มขู่ให้ไปตายตามตัวอักษร ในกลุ่มเยาวชนมีการใช้ข้อความนี้ในการล้อเลียนกับผู้อื่น โดยพูดว่า "你去死吧!" โดยอาจจะเป็นการพูดเล่น หรือดูถูก หรือยั่วยุให้โกรธได้ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์
  • ตัวเลขที่เป็นจำนวนเท่าของเลข 5: "五" (wǔ) มีการออกเสียงคล้ายสัทพจน์ (onomatopoeia) หรือการเลียนเสียงร้องไห้ โดยบางครั้งจะนำมาใช้ในภาษาแชตด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://offbeatchina.com/tuesday-feb-22nd-2222-the-2-day-for-the-retarded-in-china
  2. "The Tibetan Book of the Dead," by C. Kray, Yukari Hayasi dir.1999.  Wellspring Media. 90 min.  Not closed captioned. Leonard Cohen, narrator. Co-production of NHK/NHK Creative of Japan, Mistral Film of France, and National Film Board of Canada.
  3. Chinese Funeral Customs, http://www.chinaculture.org/gb/en_chinaway/2004-03/03/content_46092.htm เก็บถาวร 2009-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "China's 'lucky' phone number". BBC News. 2003-08-13. สืบค้นเมื่อ 24 December 2013.
  5. 5.0 5.1 "Patriot games: China makes its point with greatest show" by Richard Williams, The Guardian, published August 9, 2008
  6. ""DFI captive bred EMERALD BLUE Cross backs and Bukit Merah Blue Cross backs with Special Golden Tag Numbers for good luck"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2014-04-29.
  7. ""The One & Only – Arowana King & Platinum Xback"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-29.
  8. 8.0 8.1 8.2 Moy, Patsy; Yiu, Derek (22 October 2009). "Raising the roof over developer's tall story". The Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011.
  9. [1][ลิงก์เสีย]
  10. Gao Liwei (2008). "Language change in progress: evidence from computer-mediated communication" (PDF). Proceedings of the North American Conference on Chinese Linguistics. 20: 361–377. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-26. สืบค้นเมื่อ 2014-04-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]