สัทพจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัทพจน์ หรือ การเลียนเสียงธรรมชาติ คือคำที่เลียนรูปแบบทางสัทศาสตร์ของแหล่งกำเนิดเสียงที่พยายามจะกล่าวถึง สัทพจน์เป็นโวหารภาพพจน์อย่างหนึ่งที่ใช้ตัวอักษรสะกดให้ออกเสียงให้คล้ายกับเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่ได้ยินทั่วไปมากที่สุด สัทพจน์ที่สามารถพบได้บ่อยคือการเลียนเสียงสัตว์เช่น เหมียว จิ๊บๆ เป็นต้น สัทพจน์อาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละภาษา เนื่องจากระบบทางภาษาศาสตร์เป็นตัวควบคุมลักษณะของสัทพจน์ อาทิ เสียงของนาฬิกา เมื่อเลียนเสียงแล้ว คือติ๊กต๊อกในภาษาไทย, dī dā ในภาษาจีนกลาง หรือ katchin katchin ในภาษาญี่ปุ่น

สัทพจน์ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า onomatopoeia ส่วนคำว่าสัทพจน์หรือสัทพจน์โวหารเองในภาษาไทยยังใช้ไม่แพร่หลายและเข้าใจกันในหมู่ผู้มีการศึกษาหรือนักเรียนรุ่นใหม่เท่านั้น

ตัวอย่าง[แก้]

  • ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ
    ลูกนกร้องจิ๊บ ๆ ๆ
    ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
    เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าร้อง
    ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก
    กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
    คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง
    บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
    อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
    เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย
    กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
    ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น [1]
  • บ้างกอบปรายเบี้ยโปรยอยู่โกรยกราว [2]

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 2013-08-29.
  2. ข้อสอบโอเน็ตภาษาไทยปี 2551

อ้างอิงทั่วไป[แก้]

การเชื่อมโยงภายนอก[แก้]