ข้ามไปเนื้อหา

ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษากวางตุ้ง
廣東話
Gwóngdūng wá
คำว่า Gwóngdūng wá เมื่อเขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม (ซ้าย) และอักษรจีนตัวย่อ (ขวา)
ประเทศที่มีการพูดจีน ฮ่องกง มาเก๊า และจีนโพ้นทะเล
ภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูในมณฑลกวางตุ้ง, ทางตะวันออกของกว่างซี
ชาติพันธุ์ชาวกวางตุ้ง
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนตัวเขียนภาษากวางตุ้ง
อักษรเบรลล์ภาษากวางตุ้ง
ตัวเขียนภาษาจีน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ฮ่องกง
 มาเก๊า
รหัสภาษา
ISO 639-3yue (กลุ่มใหญ่สำหรับภาษาเยฺว่ทั้งหมด)
Linguasphere79-AAA-ma

ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน หรือ สำเนียงกวางเจา คือสำเนียงของภาษากวางตุ้งที่เป็นที่ยอมรับให้เป็นสำเนียงมาตรฐาน ใช้เป็นภาษาราชการที่พูดกันในฮ่องกงและมาเก๊า ทั้งในรัฐบาลและการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษานี้เป็นภาษาประจำถิ่นของเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง และบริเวณโดยรอบทางตอนใต้ของประเทศจีน

สัทวิทยา

[แก้]

ภาษากวางตุ้งมาตรฐานสามารถประสมต้นพยางค์ (พยัญชนะต้น) กับท้ายพยางค์ (สระและพยัญชนะสะกด) ได้ประมาณ 630 เสียง โดยไม่นับเสียงวรรณยุกต์

ต้นพยางค์

[แก้]
  ริมฝีปาก ฟันหรือปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
ปกติ ผสมเสียดแทรก ปกติ ห่อริมฝีปาก
เสียงนาสิก /m/
(ม)
/n/
(น)
    /ŋ/
(ง)
   
เสียงกัก
(ไม่ก้อง)
สิถิล /p/
(ป)
/t/
(ต)
/t͡s/
(ตซ คล้าย จ)
  /k/
(ก)
/kʷ/
(กว)
( /ʔ/ )
(อ)
ธนิต /pʰ/
(พ)
/tʰ/
(ท)
/t͡sʰ/
(ทซ คล้าย ช)
  /kʰ/
(ค)
/kʷʰ/
(คว)
 
เสียงเสียดแทรก /f/
(ฟ)
  /s/
(ซ)
      /h/
(ฮ)
เสียงเปิด   /l/
(ล)
  /j/
(ย)
  /w/
(ว)
 

นักภาษาศาสตร์บางท่านจัดว่า /j/ และ /w/ เป็นส่วนหนึ่งของท้ายพยางค์ซึ่งมากับเสียงสระ /i/ และ /u/ ตามลำดับ เหมือนกับภาษาจีนกลาง บางท่านก็วิเคราะห์ว่า /ʔ/ มาจากเสียงสระ เมื่อพยางค์นั้นไม่มีเสียงของพยัญชนะต้น

ในกลุ่มเสียงฐานฟันหรือปุ่มเหงือกสามารถเปลี่ยนแปรไปได้ /t/ กับ /tʰ/ จะอยู่ที่ฐานฟัน ในขณะที่ /t͡s/, /t͡sʰ/, /s/ ซึ่งออกเสียงที่ฐานปุ่มเหงือก.

ผู้ที่พูดภาษากวางตุ้งมาตรฐานบางคนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง /n/ กับ /l/ โดยจะออกเสียงเป็น /l/ และระหว่าง /ŋ/ กับหน่วยเสียงว่าง ซึ่งก็จะออกเสียงแต่หน่วยเสียงว่าง

ท้ายพยางค์

[แก้]
เสียงสระในภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
[aː] (อา) [ɛː] (แอ) [ɔː] (ออ) [œː] (เออ) [iː] (อี) [uː] (อู) [yː] (อวือ)
ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว ยาว ยาว
/-i/, /-y/
(-ย)
[aːi]
(อาย)
[ɐi]
(ไอ)
  [ei]
(เอ็ย)
[ɔːy]
(ออย)
    [ɵy]
(เอย)
  [uːy]
(อูย)
 
/-u/
(-ว)
[aːu]
(อาว)
[ɐu]
(เอา)
[ɛːu]¹
(แอว)
    [ou]
(อว)
    [iːu]
(อีว)
   
/-m/
(-ม)
[aːm]
(อาม)
[ɐm]
(อำ)
[ɛːm]¹
(แอม)
          [iːm]
(อีม)
   
/-n/
(-น)
[aːn]
(อาน)
[ɐn]
(อัน)
[ɛːn]¹
(แอน)
  [ɔːn]
(ออน)
    [ɵn]
(เอิน)
[iːn]
(อีน)
[uːn]
(อูน)
[yːn]
(อวืน)
/-ŋ/
(-ง)
[aːŋ]
(อาง)
[ɐŋ]
(อัง)
[ɛːŋ]
(แอง)
[eŋ]
(เอ็ง)
[ɔːŋ]
(ออง)
[oŋ]
(อง)
[œːŋ]
(เอิง)
       
/-p/
(-บ)
[aːp]
(อาบ)
[ɐp]
(อับ)
[ɛːp]¹
(แอบ)
          [iːp]
(อีบ)
   
/-t/
(-ด)
[aːt]
(อาด)
[ɐt]
(อัด)
[ɛːt]¹
(แอด)
  [ɔːt]
(ออด)
  [œːt]¹
(เอิด)
[ɵt]
(เอิด)
[iːt]
(อีด)
[uːt]
(อูด)
[yːt]
(อวืด)
/-k/
(-ก)
[aːk]
(อาก)
[ɐk]
(อัก)
[ɛːk]
(แอก)
[ek]
(เอ็ก)
[ɔːk]
(ออก)
[ok]
(อก)
[œːk]
(เอิก)
       

และพยางค์นาสิกอีก 2 พยางค์ได้แก่ [m̩] (ทำปาก ม แล้วเปล่งเสียง), [ŋ̩] (ทำปาก ง แล้วเปล่งเสียง)

¹ ท้ายพยางค์ [ɛːu], [ɛːm], [ɛːn], [ɛːp], [ɛːt], [œːt] พบได้เฉพาะภาษาพูดเท่านั้น ซึ่งไม่มีการวิเคราะห์หรือการแทนด้วยอักษรโรมัน

วรรณยุกต์

[แก้]

เสียงวรรณยุกต์ในภาษากวางตุ้งมาตรฐานมี 6 เสียง ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนดั้งเดิมสอนว่ามี 9 เสียง แต่ก็มี 3 เสียงที่ซ้ำกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพยางค์นั้นเป็นพยางค์เปิด (คำเป็น) หรือพยางค์ปิด (คำตาย)

พยางค์ พยางค์เปิด พยางค์ปิด
หมายเลข 1 2 3 4 5 6 7 (หรือ 1) 8 (หรือ 3) 9 (หรือ 6)
ระดับเสียง สูง,
สูง-กลาง
กลาง-สูง กลาง กลาง-ต่ำ,
ต่ำ
ต่ำ-กลาง กึ่งต่ำ สูง กลาง กึ่งต่ำ
ตัวอย่าง
เสียงอ่าน /si˥/,
/si˥˧/
/si˧˥/ /si˧/ /si˨˩/,
/si˩/
/si˩˧/ /si˨/ /sek˥/ /sɛk˧/ /sek˨/
กำกับเครื่องหมาย , si̖, sı̏ si̗ sék sɛ̄k sèk
ระบบเยล sī, sì si sīh, sìh síh sih sīk sek sihk
เสียง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]