ฌ้อปาอ๋อง
เซี่ยงอวี่ 項羽 | |||||
---|---|---|---|---|---|
ซีฉู่ป้าหวาง | |||||
ผู้ปกครองรัฐฉู่ | |||||
ครองราชย์ | 206–202 ปีก่อนคริสต์ศักราช | ||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิอี้ | ||||
ประสูติ | 232 ปีก่อนคริสต์ศักราช Suqian มณฑลเจียงซู | ||||
สวรรคต | 202 ปีก่อนคริสต์ศักราช (29–30 ปี) เทศมณฑลเหอ มณฑลอานฮุย | ||||
พระชายา | หยูจี | ||||
| |||||
พระราชบิดา | Xiang Chao |
ฌ้อปาอ๋อง | |||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 項羽 | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 项羽 | ||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
ซีฉู่ป้าหวาง | |||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 西楚霸王 | ||||||||||||||||||||||
|
ฌ้อปาอ๋อง หรือ ซีฉู่ป้าหวาง (จีน: 西楚霸王; พินอิน: Xī Chǔ Bà Wáng; ป. 232–202 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปลายราชวงศ์ฉินที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน เป็นคู่ปรับคนสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น
ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ (จีน: 項羽; พินอิน: Xiàng Yǔ) เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง (Xiang Liang, 項梁) ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนา และอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม[1]
ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง (King of Han, 汉王)
ต่อมาเซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention , 楚汉战争) ในระยะแรก ฌ้อปาอ๋องที่มีกองกำลังมากกว่าได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้ง แต่หลิวปังซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาและขุนพลคนสำคัญ คือ เตียวเหลียง (Zhang Liang 張良), เซี่ยวเหอ (Xiao He, 蕭何) และ หาน ซิ่น (Han Xin, 韓信) ทำให้ได้เปรียบได้ตอนท้าย และกลายมาเป็นฝ่ายยกกองทัพปิดล้อมกองทัพฌ้อ จนฌ้อปาอ๋องและหยูจี ซึ่งเป็นนางสนมไม่มีทางหนี ขณะที่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด จบชีวิตลงเมื่อปี 202 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น[2]
เรื่องราวของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ ชายรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เนื่องจากการบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร ขณะเดียวกันชีวิตส่วนตัวของฌ้อปาอ๋องกับนางสนมหยูจี ที่เป็นผู้หญิงที่สวยมาก ที่อยู่เคียงข้างจนวาระสุดท้าย ก็เป็นที่เล่าขานกัน ซึ่งก่อนที่ฌ้อปาอ๋องจะลุกขึ้นมานำทัพบุกฝ่าวงล้อมของกองทัพฮั่นนั้น ได้เข้าไปร่ำลานางหยูจี พร้อมกับตีกลองร้องเพลงที่มีความหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งเรียกว่า "เพลงแห่งไก่เซี่ย" (Song of Gaixia, 垓下歌) ที่อาจถอดความหมายได้ว่า
力拔山兮氣蓋世
時不利兮騅不逝
騅不逝兮可奈何
虞兮虞兮奈若何
— คำแปลเรี่ยวแรงของข้า มหาศาลดุจขุนเขา
จิตวิญญาณของข้าเคยหล่อเลี้ยงยุคสมัย
ในเวลาอันมืดมิดนี้ แม้แต่ม้าของข้าก็พาข้าหนีไปไม่ได้
แต่ยามนี้สิ่งเหล่านี้จะมีความหมายอันใด
โอ้ หยูจีที่รักของข้า ชะตากรรมเจ้าจะเป็นเช่นใด
ฌ้อปาอ๋องในโลกบันเทิง
[แก้]เรื่องราวของฌ้อปาอ๋อง ได้บันทึกไว้ในวรรณคดีเรื่องสำคัญแห่งการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น คือ ไซฮั่น และในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น
TV Serise เรื่อง "เจาะเวลาหาจิ๋นซี (A Step into the Past)" มีบทบาทเป็นลูกชายตัวละครเอกอย่าง เซี่ยงเส้าหลง[4] รวมถึงเนื้อเรื่องใหม่ที่สร้างในปี 2020
ภาพยนตร์เรื่อง The Great Conqueror's Concubine ในปี ค.ศ. 1993 นักแสดงผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ หลี่ เหลียงเหว่ย[5] หรือละครโทรทัศน์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งผู้รับบทนี้ คือ เหอ ยุ่นตง [6]
ภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ในปี ค.ศ. 1993 ที่ชื่อในภาษาจีน คือ 霸王別姬 ซึ่งถอดความหมายได้ว่า "ซีฉูปาอ๋องลานางสนม" ซึ่งเป็นบทในการแสดงอุปรากร[7]
ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 เรื่อง White Vengeance ผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ เฝิง เส้าเฟิง[8]
ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2012 เรื่อง The Last Supper ผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ อู๋ เอี้ยนจู่[9] หรือแม้แต่ดัดแปลงเป็นตัวละครในเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น[10]
ฌ้อปาอ๋อง ยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดขุนศึกที่รบเก่งที่สุดในประวัติศาสตร์จีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ชีวประวัติ ฌ้อปาอ๋อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 2011-10-10.
- ↑ [1]
- ↑ แสงจินดา กันยาทิพย์ แปลและเรียบเรียง, สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง ประเพณีเล่นว่าว ระหว่างเทศกาลเชงเม้ง หน้า 108-115 (พ.ศ. 2541) สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ISBN 974-604-217-3
- ↑ "เจาะเวลาหาจิ๋นซี (นวนิยาย)", วิกิพีเดีย, 2020-04-25, สืบค้นเมื่อ 2022-07-19
- ↑ ฌ้อปาอ๋อง ขุนศึกลำน้ำเลือด
- ↑ [ https://web.archive.org/web/20111106141026/http://ent.cn.yahoo.com/ypen/20110825/550886.html. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-06. สืบค้นเมื่อ 2011-10-10.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) ] - ↑ William Dolby, Eight Chinese Plays from the Thirteenth Century to the Present (London: P. Elek; New York: Columbia University Press, ค.ศ. 1978).
- ↑ ["WHITE VENGEANCE Review (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2012-02-11. WHITE VENGEANCE Review (อังกฤษ)]
- ↑ Wang de Shengyan ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- ↑ Gconfaqs > Walkthrough : [สามก๊กไซย่า 2 Shin Sangoku Musou MULTI RAID 2 แปลงร่างแล้วมาลุยไปด้วยกัน !!!!][ลิงก์เสีย]