การทำอาหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทำอาหาร คือ การกระทำเพื่อเตรียมอาหารให้พร้อมสำหรับการบริโภค นับตั้งแต่มนุษย์ค้นพบไฟเป็นต้นมา การทำอาหารได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรม

เทคนิค[แก้]

  • การตุ๋น คือ การทำอาหารให้สุกในน้ำหรือการต้ม ใช้ความร้อนไม่ถึงจุดเดือดแต่ความร้อนจะสูงกว่าการทอดไข่น้ำ ใช้กับอาหารที่ต้องการให้สุกแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อป้องกันอาหารแข็งและเหนียว การทำอาหารแบบนี้ น้ำที่ใช้ต้มจะมีอิทธิพลต่อรสชาติของอาหารมาก ดังนั้นการทำอาหารชนิดนี้จะต้องมีการปรุงรสน้ำที่จะมาทำการเคี่ยว ด้วยการใส่เครื่องปรุงรสลงไปด้วย
  • การลวก คือ การต้มวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นในน้ำ หรือ น้ำมันประกอบอาหาร โดยใช้เวลาเพียงระยะสั้นๆ ไม่ให้อาหารสุกมาก วิธีการนี้โดยมากแล้วจะใช้เพื่อการทำลาย รสชาติ หรือ กลิ่นที่เราไม่ต้องการออกไป
  • การทอดไข่น้ำ คือ การทำอาหารให้สุกในน้ำ ซึ่งมีความร้อนสูงไม่ถึงจุดเดือด ใช้กับการต้มอาหารที่ไม่ต้องการให้สุกแข็งมากเกินไป เช่น ไข่ดาวน้ำ หรือ ปลา
  • การผัด คือการผัดอาหารในกระทะด้วยความร้อนสูงน้ำมันน้อยและระยะเวลาสั้น จะมีการคนอาหาร พลิกกลับไปมาอย่างรวดเร็ว
  • การทอดกระทะ คือ การทำอาหารให้สุก-กรอบ แต่การทอดในวิธีนี้จะใช้น้ำมันน้อย ใช้เพียงแค่การเคลือบบนผิวกระทะ ป้องกันอาหารติดเท่านั้น และความร้อนที่ใช้จะต่ำกว่าการผัด เพราะจะกลายเป็นการทำให้อาหารไหม้ แต่ถ้าใช้ความร้อนต่ำเกินไปจะทำอาหารอมน้ำมัน ดังนั้นการใช้วิธีนี้จะต้องกะความร้อนให้ดีและเมื่อทอดอาหารเสร็จแล้วก็ควรนำกระดาษมาซับน้ำมันออกจากอาหารด้วย
  • การทอด คือ การทำอาหารให้สุกโดยการทอดแบบน้ำมันท่วมอาหาร อาหารที่ทอดจะจมลงไปในน้ำมัน
  • การอบ คือ การทำวัตถุดิบให้สุกโดยผ่านความร้อนจากด้านบนของอาหารโดยใช้ความร้อนสูงมาก เครื่องมือที่ใช้จะมีลักษณะเหมือนกับเตาไฟฟ้า เพียงแต่แทนที่ขดลวดให้ความร้อนจะอยู่ข้างใต้ ก็เปลี่ยนไปอยู่ข้างบนแทน จุดมุ่งหมายหลักของการทำอาหารแบบนี้จะเป็นการทำเพื่อความสวยงามมากกว่า คือต้องการให้อาหารด้านบนมีสีน้ำตาลดูน่ารับประทาน
  • การปิ้ง หรือการปิ้งย่าง หรือการทำอาหารให้สุกโดยไม่ใช้กระทะหรือหม้อใดๆอาหารจะได้รับความร้อนโดยตรงผ่านตะแกรงจากความร้อนที่อยู่ใต้อาหาร โดยอาจจะมากเตาแก๊ส หรือ เตาถ่านก็ได้
  • การย่าง คือการทำให้อาหารสุกโดยใช้ความร้อนจากรอบทิศทางภายในตู้ คำว่าย่าง จะใช้กับอาหารคาว ยกเว้นใช้กับขนมอบเช่นขนมปังหรือเค้ก มักจะเรียกว่าการอบ

ความปลอดภัยในการทำอาหาร[แก้]

เพื่อสุขภาพที่ดี และความปลอดภัย ในการทำอาหาร ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ควรล้างมือ ล้างผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ ไม่ควรล้าง
  • เมื่อมีการซื้อผักและผลไม้ มาจากตลาดควรนำผักไปแช่ น้ำเกลือ หรือ ด่างทับทิม เพื่อให้สารพิษหลุดออก ทำให้ผลดีต่อสุขภาพ
  • ล้าง อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น มีด เขียง ก่อนทุกครั้ง เมื่อมีการใช้งาน และหลังจากทำอาหารเสร็จ ควรล้างอุปกรณ์เครื่องครัวให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกในการหยิบใช้ครั้งต่อไป
  • พยายามอย่าให้สัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณห้องครัวที่ใช้ในการทำอาหาร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]