ชีวิตด้านเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในเพศสภาพของมนุษย์ ชีวิตด้านเพศ หรือ เซ็กส์ไลฟ์ (อังกฤษ: sex life) เป็นส่วนหนึ่งของการมีอยู่ของบุคคลซึ่งอาจประกอบด้วยกิจกรรมทางเพศหรือแสดงถึงการขาดกิจกรรมทางเพศ โดยทั่วไปคำอาจมีความหมายแฝงและการตีความทางสังคมหลายแบบ แต่มักรวมถึงสิ่งเหล่านี้:

  • บุคคลสามารถมีกิจกรรมทางเพศอย่างสมยอมกับคู่นอนเป็นประจำหรือกึ่งประจำ กล่าวคือกิจกรรมอื่นนอกจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองคนเดียว สิ่งนี้สื่อว่าต้องมีอีกคนหนึ่งเข้าร่วมไม่ว่าจะมีหรือไม่มีกิจกรรมทางเพศ และไม่ว่าสถานการณ์เหล่านี้จะถือว่าเป็นการมีคู่สมรสคนเดียวหรือไม่ อีกนัยนึงคือ "เซ็กซ์ไลฟ์" อาจเป็นการมีคู่ครองระยะยาวคนเดียวหรืออาจเป็นการเปลี่ยนคู่ครองไปเรื่อย ๆ ความคิดของเซ็กส์ไลฟ์ที่เป็น 'ประจำหรือกึ่งประจำ' แตกต่างกันไป ทว่าการจำแนกคนที่ไม่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ (ตรงข้ามกับการตั้งใจงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์) เป็นคนที่มีเซ็กส์ไลฟ์อาจไม่ถูกต้องนัก
  • บุคคลที่มีเซ็กส์ไลฟ์สามารถสำรวจและพัฒนาทักษะด้านเพศของตนเมื่อเขาหรือเธอต้องการ และยังสามารถมีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และพัฒนาภาวะทางเพศของตน
  • เพราะปัจจัยเหล่านี้บุคคลสามารถมี "พื้นที่" ใน "ชีวิต" ของเขาหรือเธอที่เกี่ยวข้องกับเซ็กส์ในทางคล้ายกับการที่นักกีฬามี "พื้นที่" ในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกีฬา หรือการที่นักดนตรีมี "พื้นที่" ในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับดนตรี คนที่มีเซ็กส์ไลฟ์ที่มั่นคงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาสามารถกล่าวถึงเพศสภาพของตนว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนเอง และแม้ว่าเซ็กส์ไลฟ์ที่มั่นคงไม่ได้หมายความว่าคนคนนั้นจะรู้สึกมั่นใจหรือมีเสน่ห์ตลอดเวลา การร่วมเพศอย่างสม่ำเสมอและความสามารถที่จะพัฒนาทักษะทางเพศของตนมอบความเชื่อมันทางจิตวิทยาเกี่ยวกับเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้ามของตนในแบบที่คนไม่มี "เซ็กส์ไลฟ์" มักไม่มี

หลายแหล่งข้อมูลกล่าวว่าความถี่ของการร่วมเพศของมนุษย์อาจมีตั้งแต่ ศูนย์ ถึง 15 หรือ 20 ครั้งต่อสัปดาห์[1] ในสหรัฐอเมริกา ความถี่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์[2] เป็นที่รู้โดยทั่วไปว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักร่วมเพศน้อยลง[3] และความถี่โดยเฉลี่ยของการร่วมเพศน้อยลงกับอายุที่เพิ่มขึ้น สถาบันคินซีย์กล่าวว่าความถี่เฉลี่ยของการร่วมเพศในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 112 ครั้งต่อปี (อายุ 18–29 ปี), 86 ครั้งต่อปี (อายุ 30–39 ปี), และ 69 ครั้งต่อปี (อายุ 40–49 ปี)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sexual health: An interview with a Mayo Clinic specialist เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Varcarolis, E.M. (1990). Foundations of Psychiatric Mental Health Nursing. New York: W.B. Saunders Company. p. 787. ISBN 0-7216-1976-2.
  3. "ACOG 2003 Poster, Sociosexual Behavior in Healthy Women". สืบค้นเมื่อ 2009-01-06.
  4. "Frequently asked questions to the Kinsey Institute for Research in Sex, Gender, and Reproduction (Kinsey Institute)". สืบค้นเมื่อ 2009-01-06.