ชีววิทยาทางทะเล
ชีววิทยาทางทะเล คือการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร น้ำกร่อย รวมไปถึงแหล่งน้ำอื่นๆ ในชีววิทยานั้นมีหลายไฟลัม วงศ์ และ สกุล ซึ่งมีทั้งสปีชีส์ที่อาศัยอยู่บนบก และ สปีชีส์ที่อาศัยอยู่ในทะเล ชีวะวิทยาทางทะเลนั้นแบ่ง สปีชีส์จากสิ่งแวดล้อมแทนที่กับอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยาทางทะเลนั้นไม่เหมือนกับ ชีววิทยาทางทะเล ด้วยความที่ นิเวศวิทยานั้นเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตตัวอื่น หรือ กับสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ ชีววิทยานั้นคือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
มหาสมุทรเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตมากมายบนโลกนี้ ทว่าเพราะขนาดที่ใหญ่และความซับซ้อนของมหาสมุทรนั้นทำให้มีหลายๆส่วนที่ยังไม่ถูกสำรวจ ทั้งนี้เราจึงไม่สามารถคาดเดาจำนวนสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในมหาสมุทรทั้งหมดได้[3] ประมาณ 71% ของพื้นผิวโลกนั้นครอบคลุมด้วยมหาสมุทร ที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่มีการศึึกษาในชีววิทยาทางทะเลนั้นมีหลากหลายตั้งแต่ ในชั้นบางๆของแรงตึงผิว ระหว่างน้ำและชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตเล็กๆ ไปจนถึง ร่องลึกก้นสมุทร ซึ่งสามารถมีความลึกได้มากกว่า 10,000 เมตรใต้ผิวน้ำ โดยจำเพาะตัวอย่างของที่อยู่อาศัยมีเช่น พืดหินปะการัง ป่าสาหร่ายเคลป์ (kelp forests) ทุ่งหญ้าทะเล ภูเขาไฟใต้น้ำ ปล่องไฮโดรเทอร์มอล แอ่งหิน พื้นโคลน พื้นทราย และ พื้นหินใต้ทะเล รวมไปถึงพื้นน้ำ (pelagic zone) ซึ่งปราศจากของแข็งและมีเพียงผิวน้ำที่เป็นขอบเขตที่สังเกตได้ สิ่งมีชีวิตที่ศึกษาก็มีตั้งแต่ ที่มีขนาดเล็กมากอย่าง แพลงก์ตอนพืช และ แพลงก์ตอนสัตว์ ไปจนถึง สัตว์ในไฟลัม ซีทาเซียซีทาเซีย (อันดับวาฬและโลมา) ซึ่งมีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 30 เมตร หรือ 98 ฟุต
ทั่วโลกนั้นมีสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งยา และแหล่งวัตถุดิบ รวมไปถึงเป็นสิ่งที่ส่งเสริม นันทนาการ และ การท่องเที่ยว โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งมีชีวิตในทะเลนั้นช่วยกำหนดธรรมชาติของโลก โดยช่วยสร้างสมดุลใน วัฏจักรออกซิเจน และยังมีส่วนช่วยกำกับภูมิอากาศของโลก[4] นอกจากนั้นสิ่งมีชีวิตในทะเลยังช่วยสร้างและปกป้องชายฝั่ง อีกด้วย[5]
สัตว์ทะเลหลายๆสปีชีส์นั้นมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ เช่น สัตว์น้ำที่สามารถนำมาเป็นอาหารได้ ทั้งนี้ในปัจจุบันนั้นทุกๆวันได้มีการศึกษาและค้นพบมากมายเกี่ยวกับความสัมพันระหว่างสิ่งมีชีวิตในทะเลและวัฏจักรที่สำคัญต่อธรรมชาติต่างๆ เช่น วัฏจักรคาร์บอน และ วัฏจักรของอากาศ และ การถ่ายเทของพลังงานผ่านระบบนิเวศ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Charette, Matthew; Smith, Walter H. F. (2010). "The volume of Earth's ocean". Oceanography. 23 (2): 112–114. doi:10.5670/oceanog.2010.51.
- ↑ World เก็บถาวร 2010-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The World Factbook, CIA.
- ↑ Oceanographic and Bathymetric Features Marine Conservation Institute.
- ↑ Foley, Jonathan A.; Taylor, Karl E.; Ghan, Steven J. (1991). "Planktonic dimethylsulfide and cloud albedo: An estimate of the feedback response". Climatic Change. 18 (1): 1. Bibcode:1991ClCh...18....1F. doi:10.1007/BF00142502. S2CID 154990993.
- ↑ Sousa, Wayne P. (1986) [1985]. "7, Disturbance and Patch Dynamics on Rocky Intertidal Shores". ใน Pickett, Steward T. A.; White, P. S. (บ.ก.). The Ecology of Natural Disturbance and Patch Dynamics. Academic Press. ISBN 978-0-12-554521-1.
- ↑ "History of the Study of Marine Biology - MarineBio.org".
- ↑ Gmelin S G (1768) Historia Fucorum Ex typographia Academiae scientiarum, St. Petersburg.
- ↑ Silva PC, Basson PW and Moe RL (1996) Catalogue of the Benthic Marine Algae of the Indian Ocean page 2, University of California Press.
- ↑ "A Brief History of Marine Biology and Oceanography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
อ้างอิงเพิ่มเติม
[แก้]- Morrissey J and Sumich J (2011) Introduction to the Biology of Marine Life Jones & Bartlett Publishers. ISBN 9780763781606.
- Mladenov, Philip V., Marine Biology: A Very Short Introduction, 2nd edn (Oxford, 2020; online edn, Very Short Introductions online, Feb. 2020), http://dx.doi.org/10.1093/actrade/9780198841715.001.0001, accessed 21 Jun. 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Smithsonian Ocean Portal
- Marine Conservation Society
- ชีววิทยาทางทะเล ที่เว็บไซต์ Curlie
- Marine Ecology - an evolutionary perspective
- Free special issue: Marine Biology in Time and Space
- Creatures of the deep ocean – National Geographic documentary, 2010.
- Exploris
- Freshwater and Marine Image Bank - From the University of Washington Library
- Marine Training Portal เก็บถาวร 2016-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Portal grouping training initiatives in the field of Marine Biology