ชีวินก้นทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาหร่ายทะเลและลิ่นทะเลในแอ่งน้ำตามชายฝั่ง

ชีวินก้นทะเล หรือ เบนทอส (อังกฤษ: Benthos) เป็นชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในหรือใกล้ก้นทะเล แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือก้นลำธาร หรือที่เรียกว่าเขตพื้นใต้น้ำ[1] ชุมชนสิ่งมีชีวิตนี้อาศัยในหรือใกล้กับสภาพแวดล้อมการสะสมของตะกอนน้ำเค็มหรือน้ำจืด ตั้งแต่แอ่งน้ำตามชายฝั่งจนถึงไหล่ทวีปและไปจนถึงเขตความลึกก้นสมุทร

สิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่ปรับตัวให้เข้ากับแรงดันน้ำลึกไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในน้ำตื้นได้ อาจมีความแตกต่างของความดันมาก (ประมาณหนึ่งบรรยากาศสำหรับความลึกของน้ำแต่ละ 10 เมตร)

เนื่องจากแสงถูกดูดซับหมดก่อนที่จะไปถึงเขตทะเลลึก แหล่งพลังงานของระบบนิเวศบริเวณก้นน้ำลึกมักเป็นสารอินทรีย์จากชั้นที่สูงขึ้นที่จงลงไป สสารที่ตายและผุพังพวกนี้ค้ำจุนห่วงโซ่อาหารของชีวินก้นทะเล ชีวินก้นทะเลส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินซากหรือผู้ย่อยสลาย

คำว่าเบนทอสบัญญัติโดย Haeckel ในปี 1891[2] มาจากคำนามภาษากรีก βένθος "ความลึกของทะเล" นอกจากนั้นคำว่าชีวินก้นทะเลใช้ในชีววิทยาน้ำจืดอีกด้วย เพื่ออ้างถึงสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้านล่างของแหล่งน้ำจืด เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ และลำธาร[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Benthos from the Census of Antarctic Marine Life website
  2. Haeckel, E. 1891. Plankton-Studien. Jenaische Zeitschrift für Naturwissenschaft 25 / (Neue Folge) 18: 232-336. BHL.
  3. "North American Benthological Society website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.