ข้ามไปเนื้อหา

คอล ฟ็อน ลินเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาโรลัส ลินเนียส)
คอล ฟ็อน ลินเนีย
Portrait of Linnaeus on a brown background with the word "Linne" in the top right corner
คอล ฟ็อน ลินเนีย, อเล็กซานเดอร์ รอสลิน, ค.ศ. 1775
(สีน้ำมันบนผ้าใบ, ปราสาทกริปส์ฮอล์ม)
เกิด23 พฤษภาคม ค.ศ. 1707(1707-05-23)[note 1]
Råshult, Stenbrohult parish (ปัจจุบันอยู่ในเทศบาลแอล์มฮุลต์), ประเทศสวีเดน
เสียชีวิต10 มกราคม ค.ศ. 1778(1778-01-10) (70 ปี)
Hammarby (ที่ดิน), Danmark parish (นอกอุปซอลา), ประเทศสวีเดน
สุสานอาสนวิหารอุปซอลา
59°51′29″N 17°38′00″E / 59.85806°N 17.63333°E / 59.85806; 17.63333
สัญชาติสวีเดน
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรสSara Elisabeth Moraea (สมรส 1739)
บุตร7
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยอุปซอลา
วิทยานิพนธ์Dissertatio medica inauguralis in qua exhibetur hypothesis nova de febrium intermittentium causa (1735)
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงปีเตอร์ อัสกานิอุส
ชื่อย่อที่ใช้ทางพฤกษศาสตร์L.
ชื่อย่อที่ใช้ทางสัตววิทยาLinn.
ลายมือชื่อ
Carl v. Linné

คอล ฟ็อน ลินเนีย (สวีเดน: Carl von Linné,[1] ออกเสียง: [ˈkɑːɭ fɔn lɪˈneː] ( ฟังเสียง)) หรือมักเป็นที่รู้จักในชื่อ การอลุส ลินไนอุส (ละติน: Carolus Linnaeus) หรือบ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (อังกฤษ: Carl Linnaeus; 23 พฤษภาคม[note 1] ค.ศ. 1707 – 10 มกราคม ค.ศ. 1778) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน และเป็นที่รู้จักในฉายา "บิดาอนุกรมวิธานสมัยใหม่"[2]

อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn. (พืช) หรือ Linnaeus (สัตว์) เพื่อเป็นการให้เกียรติ นอกจากนี้ประเทศสวีเดน ยังใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อ มหาวิทยาลัยลินเนียส เพื่อเป็นการให้เกียรติอีกด้วย

ชีวิตวัยเยาว์และการศึกษา

[แก้]

คอล ลินเนีย เกิดที่หมู่บ้านรอชัลต์ ในจังหวัดสมอลันด์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสวีเดน เมื่อวัยเยาว์ เขาถูกสอนให้ดำเนินรอยตามพ่อ คือเป็นครูสอนศาสนา แต่เขาก็ไม่สนใจเท่าใดนัก ต่อมาเมื่อเจริญวัยขึ้น ได้ไปศึกษายังมหาวิทยาลัยลุนด์ เขาได้จัดทำสวนพฤกษศาสตร์ แต่ก็มีอุปสรรค จนเขาต้องไปศึกษายังมหาวิทยาลัยอุปซอลา

ในตอนแรกก็ลำบากทางการเงินมาก แต่ต่อมาก็ตั้งตัวได้ โดยการอุปการะของโอลอฟ เซลเซียส (Olof Celsius) ต่อมา ลินเนียได้อ่านหนังสือชื่อ Sermo de Structura Florum ของเซบาสเตียง แวยองต์ (Sébastien Vaillant) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จนได้ความคิดเกี่ยวกับการจำแนกเพศของพืช ในปี พ.ศ. 2272 เขาได้เขียนบทความในเรื่องนี้ จึงถูกทาบทามให้เป็นอาจารย์วิชาพฤกษศาสตร์ในมหาวิทยาลัยอุปซอลา

ภาพวาดของคอล ฟ็อน ลินเนีย ในชุดชาวแลปป์ วาดโดยมาร์ติน ฮอฟแมน

ชีวิตการงาน

[แก้]

ต่อมา ลินเนียได้รับทุนให้ไปทำการวิจัยยังแลปแลนด์ ทางตอนเหนือสุดของประเทศ และต่อมาก็ได้เดินทางไปเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2278 เพื่อศึกษาวิชาการแพทย์ ปีต่อมา เขาเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ต่อมาเขาได้กลับไปอัมสเตอร์ดัม แล้วทำงานเกี่ยวกับอนุกรมวิธานต่อจนสำเร็จ เขาเดินทางต่อไปอีกหลายที่ จนกระทั่งกลับมายังกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

ในปี พ.ศ. 2282 เขาได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (Royal Swedish Academy of Sciences) สองปีต่อมาเขาได้เป็นอาจารย์วิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอุปซอลา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนไปสอนวิชาพฤกษศาสตร์ ระหว่างที่สอนวิชาพฤกษศาสตร์ เขาได้เป็นผู้นำการสำรวจเพื่อจำแนกพันธุ์พืชและสัตว์นานาชนิดในสวีเดนนับครั้งไม่ถ้วน ขณะที่ว่างจากการเดินทาง เขาก็ทำงานเกี่ยวกับการจำแนกพืชและสัตว์ออกเป็นกลุ่ม ๆ ผลงานเกี่ยวกับการจำแนกสิ่งมีชีวิตของลินเนียได้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก

ต่อมา พระเจ้าอะดอล์ฟ เฟรเดอริก (Adolf Frederick of Sweden) กษัตริย์สวีเดนในสมัยนั้น ทรงแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้แก่ลินเนีย เมื่อปี พ.ศ. 2300 นับแต่นั้นเขาจึงมีชื่อเป็น คอล ฟ็อน ลินเนีย

ชีวิตครอบครัว

[แก้]

ลินเนียสมรสกับซาร่า เอลิซาเบ็ท โมเรีย มีบุตรด้วยกัน 7 คน แต่มีเพียง 5 คน ที่รอดจนเป็นผู้ใหญ่ หนึ่งในนั้นได้แก่ คอล ฟ็อน ลินเนียผู้ลูก เมื่อลินเนียผู้พ่อถึงแก่กรรม ลินเนียผู้ลูกก็สืบทอดตำแหน่งศาสตราจารย์ของพ่อ ทว่าอยู่ได้เพียงห้าปี ลินเนียผู้ลูกก็ถึงแก่กรรม งานของลินเนียผู้ลูก มักจะอ้างถึงโดยใช้คำว่า filius

ชีวิตบั้นปลาย

[แก้]

ในช่วงปลายของชีวิต สุขภาพของลินเนียเริ่มอ่อนแอลง เขาป่วยเป็นโรคเกาต์ ปวดฟันและเริ่มมีอาการหนักมากเมื่อปี พ.ศ. 2317 และ อีก 4 ปีต่อมา เขาก็ถึงแก่กรรมขณะกำลังทำพิธีในโบสถ์เมืองอุปซอลา รวมอายุได้ 71 ปีเศษ ทั้งนี้ ร่างของเขาก็ถูกฝังอยู่ ณ โบสถ์แห่งนั้น พร้อมกับร่างของบุตรชาย

คอล ฟ็อน ลินเนียมีชีวิตอยู่ในระหว่างปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเสือและปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ผลงานหนังสือ

[แก้]

หนังสือชื่อ Systema Naturae พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2278 ซึ่งมีความหนาเพียง 11 หน้าเท่านั้น แต่ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ซึ่งพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2301 ได้จำแนกสัตว์ได้ถึง 4,400 สปีชีส์ และพืชอีก 7,700 สปีชีส์ ถึงแม้ว่าชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในสมัยนั้นจะดูเยิ่นเย้อยืดยาว เช่น"Physalis annua ramosissima, ramis angulosis glabris, foliis dentato-serratis" แต่ในหนังสือของลินเนีย ชื่อเหล่านี้ได้ถูกจัดให้เป็นชื่อทวินาม ซึ่งเป็นระบบที่ลินเนียเองไม่ได้ตั้งขึ้น แต่ถูกคิดค้นโดยสองพี่น้องตระกูลเบาฮีน (คัสพาร์ เบาฮีน และโยฮัน เบาฮีน นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส

ผลงานโดยลินเนีย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

หายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 คอล ฟ็อน ลินเนียเกิดวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 (ปฏิทินสวีเดน) หรือวันที่ 23 พฤษภาคมตามปฏิทินกริกอเรียน ส่วนในปฏิทินจูเลียนเกิดในวันที่ 12 พฤษภาคม (Blunt 2004, p. 12)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Blunt (2004), p. 171.
  2. Calisher, CH (2007). "Taxonomy: what's in a name? Doesn't a rose by any other name smell as sweet?". Croatian Medical Journal. 48 (2): 268–270. PMC 2080517. PMID 17436393.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ชีวประวัติ

ข้อมูล

อื่น ๆ