น้ำกร่อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น้ำกร่อย (อังกฤษ: brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน

น้ำแบ่งตามระดับความเค็ม วัดจากความเข้มข้นของเกลือ
น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเกลือ/น้ำเค็ม น้ำเกลือเข้มข้น
< 0.05 % 0.05 – 3 % 3 – 5 % > 5 %
< 0.5 ppt 0.5 – 30 ppt 30 – 50 ppt > 50 ppt

เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand = ส่วนในพันส่วน) ซึ่งเป็นหน่วยของค่าความเค็มของน้ำ ความเค็มกับ pH ไม่ได้สัมพันธ์กันโดยตรง เพียงแต่ว่าน้ำทะเลมี pH สูงกว่าน้ำจืด แต่น้ำในนาเกลือที่มีความเค็มเกิน 100 ppt มีค่า pH ไม่แตกต่างจากน้ำทะเลปกติ (ไม่นับปัจจัยอย่างอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่น ค่า DO หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น)

ในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยมีสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืชอาศัยอยู่ ซึ่งมีรายละเอียดดังแสดงข้างล่าง

รายชื่อปลาน้ำกร่อย[แก้]

ต้นไม้น้ำกร่อย[แก้]