ชาร์ล มีแชล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาร์ล มีแชล
ประธานคณะมนตรียุโรป
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม ค.ศ. 2019
ก่อนหน้าดอนัลต์ ตุสก์
นายกรัฐมนตรีเบลเยียมคนที่ 51
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม ค.ศ. 2014 – 27 ตุลาคม ค.ศ. 2019
กษัตริย์สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
ก่อนหน้าเอลีโย ดี รูโป
ถัดไปซอฟี วีลแม็ส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ชาร์ล อีฟว์ ฌ็อง กีแลน มีแชล

(1975-12-21) 21 ธันวาคม ค.ศ. 1975 (48 ปี)
นามูร์ เบลเยียม
พรรคการเมืองขบวนการปฏิรูป
คู่อาศัยAmélie Derbaudrenghien
บุตร2 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเสรีบรัสเซลส์
มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม

ชาร์ล อีฟว์ ฌ็อง กีแลน มีแชล (ฝรั่งเศส: Charles Yves Jean Ghislaine Michel) เป็นนักการเมืองชาวเบลเยียมซึ่งในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะมนตรียุโรป มีแชลเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเบลเยียมระหว่าง ค.ศ. 2014–2019

มีแชลเป็นรัฐมนตรีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาใน ค.ศ. 2007 จนกระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าขบวนการปฏิรูปซึ่งเป็นพรรคเสรีนิยมฝรั่งเศสในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ซึ่งเขาสามารถทำคะแนนเป็นอันดับสามในสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2014 โดยภายหลังจากการต่อรองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคร่วมฯ มีแชลได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากความร่วมมือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลระหว่างขบวนการปฏิรูป-พันธมิตรเฟลมิชใหม่-โอเปิน เฟเอลเด-ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช โดยได้ถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2014 นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดของเบลเยียมตั้งแต่ ค.ศ. 1845

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 รัฐบาลผสมของมีแชลสิ้นสุดลงภายหลังจากความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่น ซึ่งเป็นเหตุให้พรรคพันธมิตรเฟลมิชใหม่ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล มีแชลจึงขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไป[1]

ในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2019 ขบวนการปฏิรูปได้รับคะแนนเสียงลดลงโดยมีแชลยังคงรับหน้าที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีในระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคร่วมรัฐบาล ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 คณะมนตรียุโรปได้ออกเสียงเลือกมีแชลเป็นประธานคณะมนตรียุโรปคนใหม่ โดยรับหน้าที่ต่อจากดอนัลต์ ตุสก์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 โดยเริ่มต้นสมัยเมื่อ 1 ธันวาคม อย่างเป็นทางการ[2][3]

งานด้านการเมือง[แก้]

มีแชลได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน ค.ศ 1999 ในเขตจังหวัดวอลลูนบราบันต์ซึ่งเป็นเหมือนที่มั่นสำคัญของขบวนการปฏิรูป

ใน ค.ศ. 2000 เขาได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลวอลลูนในขณะที่เขามีอายุเพียง 25 ปี กลายเป็นรัฐมนตรีในการปกครองส่วนภูมิภาคที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์เบลเยียม[4] ในส่วนของการเมืองระดับท้องถิ่น มีแชลได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาเมืองวาฟวร์ใน ค.ศ. 2000 และใน ค.ศ 2006 ได้กลายเป็นนายกเทศมนตรีของเมือง

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 มีแชลได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในรัฐบาลเฟอร์โฮฟสตัต 3 และต่อเนื่องในรัฐบาลเลอแตร์ม 1, ฟัน โรมเปย 1 และ เลอแตร์ม 2[5]

หลังจากความล้มเหลวในการเลือกตั้งท้องถิ่นใน ค.ศ. 2009 มีแชลเป็นหนึ่งในสมาชิกที่กดดันเรียกร้องให้ดีดีเย แร็นเดิร์ส หัวหน้าขบวนการปฏิรูป ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ต่อมาพรรคก็ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2010 แร็นเดิร์สจึงลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค และมีแชลก็ได้ประกาศตัวเข้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค จึงได้ลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dunst, Charles. "Charles Michel to head Belgian caretaker government – POLITICO". Politico.eu. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  2. "Charles Michel takes over from Donald Tusk as President of the European Council". General Secretariat of the Council (ภาษาอังกฤษ). Press release. 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  3. @eucopresident (29 November 2019). "It's time: I am handing over the #EUCO bell & this Twitter account to my friend @CharlesMichel. Best wishes, Mr President! Thank you all for accompanying me over the last 5 years! europa.eu/!Yd78Cd Don't worry, I will continue tweeting on @donaldtusk and @donaldtuskEPP" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  4. "Charles Michel officiellement candidat à la présidence du MR". Le Vif. 13 December 2010.
  5. "20 March 2008 – Royal Orders. Government – Dismissals – Appointments" (PDF) (ภาษาดัตช์ และ ฝรั่งเศส). The Belgian Official Journal. 21 March 2008. pp. 3–4. สืบค้นเมื่อ 30 March 2008.
  6. "Michel vs. Reynders: waarom de MR elke keer wat anders zegt". De Morgen. 27 June 2014.