ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มปูชนียสถานของชาวโหยสฬะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มปูชนียสถานของชาวโหยสฬะ
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ที่ตั้งรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: i, ii, iv
อ้างอิง1670
ขึ้นทะเบียน2023 (สมัยที่ 45th)

กลุ่มปูชนียสภานของชาวโหยสฬะ (อังกฤษ: Sacred Ensembles of the Hoysalas) ประกอบด้วยโบสถ์พราหมณ์สามแห่งที่สร้างขึ้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมโหยสฬะในอินเดียใต้ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ปูชนียสถานเหล่านี้สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 12-13 ในสมัยจักรวรรดิโหยสฬะ[1] รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของทั้งสามแห่งพัฒนาขึ้นในสมัยโหยสฬะตอนต้นซึ่งกำลังขึ้นเรืองอำนาจในแถบอินเดียใต้ รูปแบบของโหยสฬะในยุคนี้เริ่มมีความโดดเด่นแตกต่างจากรูปแบบร่วมสมัยของจักรวรรดิและวัฒนธรรมอื่น ๆ

ด้วยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น งานประติมากรรมสมจริง และงานแกะสลักหิน ยูเนสโกขึ้นทะเบียนทั้งสามสถานที่ให้เป็นแหล่งมรดกโลกในปี 2023[2][3][4]

รายชื่อ

[แก้]
ปูชนียสถานของชาวโหยสฬะ แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก
ที่ ชื่อในปัจจุบัน ศาสนา เทพเจ้า สร้างเสร็จ
(ค.ศ.)
ภาพ
1 จันนเกศวเทวาลัย ฮินดู พระวิษณุ 1117
2 โหยสเฬสวรเทวาลัย ฮินดู พระศิวะ 1160
3 เกศวเทวาลัย ฮินดู พระวิษณุ 1258

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Three Hoysala temples of Karnataka inscribed as UNESCO World Heritage sites". www.thehindu.com (ภาษาIndian English). Mysuru: The Hindu. 18 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
  2. A, Divya (18 September 2023). "Karnataka's sacred ensembles of Hoysalas inscribed on UNESCO world heritage list". www.indianexpress.com (ภาษาอังกฤษ). New Delhi: The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
  3. Singh, Rahul Sunilkumar (18 September 2023). "Hoysala Temples in Karnataka now India's 42nd UNESCO's World Heritage site; PM Modi says 'more pride'". www.hindustantimes.com (ภาษาอังกฤษ). Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
  4. "Karnataka's Hoysala temples get World Heritage tag". www.telegraphindia.com. 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.