เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)

พิกัด: 13°09′47″N 75°51′38″E / 13.162930°N 75.860593°E / 13.162930; 75.860593
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Chennakeshava Temple, Belur)
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)
เจนนเกศวเทวาลัย
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตหัสสาน
เทพพระเจนนเกศวะ (พระวิษณุ)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเพลูรุ
รัฐรัฐกรณาฏกะ
ประเทศประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)ตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ) (รัฐกรณาฏกะ)
พิกัดภูมิศาสตร์13°09′47″N 75°51′38″E / 13.162930°N 75.860593°E / 13.162930; 75.860593
สถาปัตยกรรม
ประเภทโหยสฬะ
ผู้สร้างโหยสฬะ วิษณุวรรธนะ
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 12
เว็บไซต์
Sri Chennakeshava Temple

เจนนเกศวเทวาลัย (กันนาดา: ಚೆನ್ನಕೇಶವ ದೇವಾಲಯ; Chennakeshava Temple) หรือ วิชัยนารายณเทวาลัย (อังกฤษ: Vijayanarayana Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 ตั้งอยู่ในเพลูรุ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นโดยดำริของกษัตริย์วิษณุวรรธนะในปี ค.ศ. 1117 บนฝั่งแม่น้ำยคจี ในเพลูรุซึ่งในเวลานั้นเป็นราชธานีแห่งโหยสฬะ การก่อสร้างเทวาลัยใช้เวลา 103 ปีจนแล้วเสร็จ[1] และถูกบุกเข้าโจมตีและทำลายหลายครั้งจากสงครามตลอดประวัติศาสตร์ และมีการสร้างขึ้นใหม่อยู่เรื่อยมา เทวาลัยตั้งอยู่ห่างไป 35  กิโลเมตรจากนครหัสสาน และ ราว 220 กิโลเมตรจากเบงกาลูรุ[2]

เทวาลัยนี้สร้างขึ้นบูชาพระเจนนเกศวะ (แปลว่า "เกศวะรูปหล่อ") เป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู มาตั้งแต่แรกเริ่ม ปรากฏการกล่าวถึงในฐานะปูชนียสถานในเอกสารฮินดูยุคกลาง และยังคงสถานะเป็นปูชนียสถานสำคัญหนึ่งของลัทธิไวษณวะจนถึงปัจจุบัน[1][3] เทวาลัยนี้โดดเด่นเป็นพิเศษจากสถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, งานสลักนูนต่ำ, หน้าบันต่าง ๆ ไปจนถึงประติมานวิทยา จารึก และประวัติศาสตร์ งานศิลปะที่ปรากฏในเทวาลัยยังแสดงวิถีชีวิตฆราวาสในสมัยศตวรรษที่ 12, ภาพของนักดนตรีและนางระบำ ไปจนถึงภาพที่เล่าประกอบเรื่องราวในคัมภีร์ฮินดู เช่น รามายณะ มหาภารตะ และปุราณะ[1][4][5] เทวาลัยลัทธิไวษณวะแห่งนี้ยังแสดงลักษณะประติมานวิทยาของลัทธิไศวะ และ ลัทธิศักติ ไปจนถึงภาพของชินะในศาสนาไชนะ และพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธ เทวาลัยแห่งนี้จึงถือได้ว่าเป็นหลักฐานชิ้นเอกของแง่มุมทางศิลปะ วัฒนธรรม และเทววิทยาของอินเดียใต้ในศตวรรษที่ 12 และการปกครองของจักรวรรดิโหยสฬะ[5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Permanent Delegation of India to UNESCO (2014), Sacred Ensembles of the Hoysala, UNESCO
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Subramanian
  3. Gerard Foekema 1996, pp. 47–49.
  4. Kirsti Evans 1997, pp. 9–10.
  5. 5.0 5.1 Narasimhacharya 1987, pp. 2–9.
  6. Winifred Holmes (1938). C.P. Snow (บ.ก.). Discovery: Mysore's Medieval Sculpture. Cambridge University Press. p. 85.

บรรณานุกรม[แก้]