ข้ามไปเนื้อหา

วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์

พิกัด: 37°32′55.9″N 126°54′29.5″E / 37.548861°N 126.908194°E / 37.548861; 126.908194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก YG Entertainment)

37°32′55.9″N 126°54′29.5″E / 37.548861°N 126.908194°E / 37.548861; 126.908194

วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์
ชื่อท้องถิ่น
YG 엔터테인먼트
ชื่อโรมัน
YG enteoteinmeonteu
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
KRX: 122870
อุตสาหกรรมบันเทิง
ค้าปลีก
รูปแบบหลากหลาย
ก่อตั้ง24 กุมภาพันธ์ 1996; 28 ปีก่อน (1996-02-24)
ผู้ก่อตั้งยัง ฮย็อน-ซ็อก
สำนักงานใหญ่เขตมาโพ, ,
เกาหลีใต้
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักยัง มิน-ซ็อก (ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
รายได้เพิ่มขึ้น 266.65 พันล้านวอน (2021)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 37.32 พันล้านวอน (2021)
เจ้าของ
พนักงาน
678[2] (2010)
แผนกนักแสดงและนักดนตรี
บริษัทในเครือวายจีพลัส
เว็บไซต์ygfamily.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[3][4][5]

บริษัทวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ (เกาหลี: YG 엔터테인먼트; อังกฤษ: YG Entertainment) เป็นบริษัทอุตสาหกรรมบันเทิงจากเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยยัง ฮย็อน-ซ็อก[6] บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นค่ายเพลง ตัวแทนนักแสดง ผลิตเพลง การจัดงานอีเวนต์/คอนเสิร์ต และตัวแทนนักแต่งเพลง บริษัทยังดำเนินกิจการย่อยหลายแห่งภายใต้บริษัทมหาชนที่แยกจากกันคือวายจีพลัส รวมถึงบริษัทจัดจำหน่ายและผลิตสินค้า เสื้อผ้า กอล์ฟ และแบรนด์เครื่องสำอาง[7]

ศิลปินภายใต้สังกัดในปัจจุบันได้แก่ อักมิว, วินเนอร์, แบล็กพิงก์, เทรเชอร์ และเบบีมอนสเตอร์ ตลอดจนนักแสดงชายและหญิงอย่าง คัง ดง-ว็อน, ชเว จี-อู, ชา ซึง-ว็อน, อี ซ็อง-กย็อง, จินคย็อง และยู อิน-นา

ประวัติ

[แก้]

1996–2005: รากฐานของดนตรีฮิปฮอป, ความนิยมในช่วงเริ่มต้น และเคป็อปยุคแรก

[แก้]

ในเดือนมีนาคม 1996 ยัง ฮย็อน-ซ็อก อดีตสมาชิกของวงดนตรีเคป็อปยุคแรก ซอแทจีแอนด์บอยส์ ได้ก่อตั้งวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ร่วมกับน้องชายของเขา ยัง มิน-ซ็อก[6][8] ศิลปินคนแรกของบริษัทคือ วงดนตรีทรีโอแนวฮิปฮอป คีปซิกซ์ แต่การเปิดตัวของพวกเขาประสบความล้มเหลวกับผลตอบรับ ยังจึงหันไปผลักดันที่ศิลปินคู่ จีนูฌอน[9] และในปี 1998 บริษัทได้เปิดตัววันไทม์ (1TYM) ทั้งสองวงเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่ยังให้เครดิตในการนำวายจีและแนวฮิปฮอปไปสู่กลุ่มผู้ฟังกระแสหลักของดนตรีเกาหลี[6]

ในปี 1999 ศิลปินของวายจีออกอัลบั้มร่วมกันภายใต้ชื่อ วายจีแฟมีลี ตามมาด้วยการออกจำหน่ายของศิลปินอย่าง เพร์รี, สวี.ที, บิกมามา, เล็กซี, กัมมี และฮวีซ็อง และยังได้ก่อตั้ง "วายจีอันเดอร์กราวด์" ซึ่งประกอบด้วย 45อาร์พีเอ็ม และสโทนีสกังก์ ในปี 2001 อัลบัมวายจีแฟมีลีชุดที่สองออกจำหน่าย ท่ามกลางผู้คนจำนวนมากยังมี จี-ดรากอน ซึ่งในขณะนั้นอายุ 13 ปี เป็นศิลปินฝึกหัดของบริษัท[10]

บริษัทประสบความสำเร็จทั้งในเกาหลีและญี่ปุ่นด้วยนักร้อง "ไอดอล" คนแรก เซเวน ในปี 2003[11] ซึ่งเป็นศิลปินคนแรกของบริษัทที่พยายามก้าวข้ามไปสู่วงการเพลงสหรัฐ แม้ว่าการเปิดตัวของเขาจะประสบความล้มเหลวก็ตาม[12]

2006–2011: ก้าวเข้าสู่กระแสหลัก

[แก้]
บิกแบง เปิดตัวในปี 2006 และทำยอดขายอัลบั้มให้วายจีเกินครึ่งตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2017 ในเกาหลี[13]

หลังประสบความสำเร็จกับเซเวน วายจีได้ก่อตั้งวงไอดอลครั้งแรกชื่อ บิกแบง ในปี 2006 แม้ว่าผลตอบรับเริ่มแรกจะไม่ดีมากนัก ทว่าปีถัดมา วงก็สามารถก้าวเข้าสู่กระแสหลักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเวลาต่อมาพวกเขากลายเป็นหนึ่งในบอยแบนด์ที่ยิ่งใหญ่และทำเงินมากที่สุดในโลก[14] ตามด้วย ทูเอนีวัน เกิร์ลกรุปวงแรกที่ประสบความสำเร็จของวายจีในปี 2009[15] ก่อนที่จะแยกทางกันในปี 2016 ถือเป็นหนึ่งในเกิร์ลกรุปที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางในเกาหลีใต้[16][17] ทั้งสองวงประสบความสำเร็จทางอาชีพในญี่ปุ่นเช่นเดียวกับเซเวน[18][19][20]

ทูเอนีวัน เปิดตัวในปี 2009 เป็นเกิร์ลกรุปวงแรกภายใต้วายจีและกลายเป็นศิลปินวงแรกที่มีเพลงขึ้นอันดับหนึ่งบนแกออนดิจิทัลชาร์ต ถึง 9 เพลง

ในปี 2010 วายจีทำการย้ายไปยังอาคารใหม่ ขณะที่สำนักงานเก่ากลายเป็นสถานที่ฝึกอบรม[21][22] ในปีเดียวกัน บริษัทประสบความล้มเหลวในการจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ ถูกต้องสงสัยเนื่องจากบริษัทมีกลุ่มดนตรีที่เคลื่อนไหวน้อยและกระแสเงินสดไม่คงที่ แม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2009 ก็ตาม[23] ในปีนั้นเอง ไซได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด[24]

2012–2016: การยอมรับในระดับนานาชาติและการขยายธุรกิจ

[แก้]

ในปี 2012 วายจีเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติเมื่อ "คังนัมสไตล์" ของไซ ได้รับความนิยมทั่วโลกในฐานะไวรอลวิดีโอ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม เพลงขึ้นอันดับที่หนึ่งบนชาร์ตไอทูนส์มิวสิกวิดีโอ ถือเป็นครั้งแรกของศิลปินเกาหลีใต้ที่ทำได้[25] วันที่ 24 พฤศจิกายน "คังนัมสไตล์" กลายเป็นวิดีโอที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยูทูบ และเป็นวิดีโอแรกที่มียอดผู้ชมมากกว่าหนึ่งพันล้านครั้ง[26][27] รวมถึงได้รับเครดิตว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หุ้นของวายจีเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60%[28] ค่ายเพลงยังได้จัดทำรายงานประจำปีฉบับแรกในปี 2012 ด้วยผลกำไรมากกว่า 50%[29] หลังจากเผยแพร่สู่สาธารณะบนคอสแด็ก (KOSDAQ) เมื่อปีก่อน[7]

ในปีเดียวกัน ค่ายเพลงได้เซ็นสัญญากับแร็ปเปอร์และโปรดิวเซอร์ ทาโบล หัวหน้าวงดนตรีฮิปฮอปอย่าง อีพิกไฮ ซึ่งหวนกลับเข้าวงการอีกครั้งหนึ่ง หลังว่างเว้นจากวงการเพลงสองปีในกรณีพิพาทสแตนฟอร์ดของเขา[30] ในเดือนกรกฎาคม 2012 สมาชิกทั้งหมดของอีพิกไฮได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเป็นระยะเวลา 7 ปี และสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2018[31][32]

การมีส่วนร่วมมากขึ้นของยัง ฮย็อน-ซ็อก ในรายการแข่งขันทางโทรทัศน์นำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงกับผู้เข้าแข่งขันหลายคน เริ่มด้วยอี ฮา-อี รองชนะเลิศฤดูกาลแรกของ เคป็อปสตาร์[33] ส่วนผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ จะได้รับการลงนามในฐานะสมาชิกที่มีศักยภาพเป็นวงบอยแบนด์ในอนาคต ผู้ชนะเลิศทั้งสอง กลุ่มนักร้องคู่ อักมิว และรองชนะเลิศ พัง เย-ดัม ได้เซ็นสัญญาภายใต้สังกัด[34][35] นอกจากนั้น วายจียังได้เปิดตัวรายการเรียลลิตี วิน: ฮูอิสเน็กซ์ โดยมีศิลปินฝึกหัดชายทั้งสองทีมแข่งขันกันเพื่อเปิดตัวในฐานะบอยแบนด์วงต่อไปของบริษัท บทสรุปของรายการได้แก่ การก่อตั้งของวินเนอร์ในเวลาต่อมา[36]

วินเนอร์ ประสบความสำเร็จกับการเปิดตัวในปี 2014 และกลายเป็นวงเคป็อปที่คว้าอันดับหนึ่งในรายการเพลงเร็วที่สุด หลังจากเปิดตัวได้เพียง 6 วัน

ในปี 2014 วายจีเข้ายึดบุคลากรและนักแสดงของทีเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งรวมถึง ชา ซึง-ว็อน, อิม เย-จิน และชัง ฮย็อน-ซ็อง[37] นอกจากนั้น การเข้าซื้อกิจการบริษัทโมเดลลิง เค-พลัส ยังทำให้วายจีขยายแผนกการแสดงด้วยการเปิดตัวนักเดินแบบอย่าง อี ซ็อง-กย็อง และนัม จู-ฮย็อก[38] รวมถึงได้เซ็นสัญญากับนักแสดงหญิง ชเว จี-อู ด้วย[39][40][41][42] แอลแคปิตอลเอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอลวีเอ็มเอช ผู้ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศฝรั่งเศสยังได้ประกาศว่าจะลงทุนสูงถึง 80 ล้านเหรียญสหรัฐกับวายจี โดยแอลแคปิตอลเอเชียซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์จะกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับสองของบริษัท ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 11.5% ถัดจาก ยัง ฮย็อน-ซ็อก ที่ถือหุ้น 28%[43] ในปีเดียวกัน วายจีขยายไปสู่อุตสาหกรรมความงามด้วยการก่อตั้งแบรนด์เครื่องสำอางชื่อ มูนช็อต[44][45]

ไอคอน เปิดตัวในปี 2015 ซิงเกิลเมื่อปี 2018 ของพวกเขา "เลิฟซีเนริโอ" ทำลายสถิติหลายรายการในขณะนั้น รวมถึงเพลงที่ขึ้นอันดับหนึ่งรายชั่วโมงนานที่สุด ซึ่งเรียกว่า เพอร์เฟกต์ออลคิลส์ (perfect all-kills) และยังเป็นเพลงแรกที่ได้รับการรับรองระดับทองคำขาวจากเคเอ็มซีเอ

ในปี 2015 วายจีลงทุนกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งใหม่ในจังหวัดคย็องกี ซึ่งกำหนดเวลาแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2018[46] อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในโซล มูลค่า 16 พันล้านวอน (14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ถูกซื้อเช่นเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อขยายสำนักงานใหญ่[47] ในปีนั้น บริษัทยังสร้างค่ายย่อยออกเป็นสองค่าย ค่ายแรกนำโดยทาโบล[48] และค่ายที่สองนำโดยเท็ดดี พัก จากวันไทม์ และคูช จากสโทนีสกังก์[49] นอกจากนี้ สมาชิกทีมผู้ที่แพ้จากรายการเรียลลิตี วิน: ฮูอิสเน็กซ์ ถูกนำมารวมกลุ่มอีกครั้งและเปิดตัวภายใต้ชื่อ ไอคอน พร้อมกับกับสมาชิกใหม่[50]

ในเดือนเมษายน 2016 มินจี สมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของทูเอนีวัน ประกาศว่าเธอออกจากทูเอนีวันแล้ว วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์แถลงว่ากลุ่มจะยังคงดำเนินต่อไปด้วยสมาชิกสามคน[51][52] อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน 2016 วายจีประกาศว่าซีแอลและดาราต่อสัญญาของพวกเธอในฐานะศิลปินเดี่ยว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพัก บ็อม ออกจากต้นสังกัดและทูเอนีวันถูกยุบวง[53][54] วันที่ 21 มกราคม 2017 ทูเอนีวันปรากฏเพียงสามคนและออกเพลง "กูดบาย" อันเป็นเพลงอำลาที่ซีแอลเขียนขึ้นหลังจากเธอทราบข่าวการแยกทางของมินจี[55] สิบหกปีหลังจากการยุบวง เชคส์กีส์ บอยแบนด์เคป็อปยุคแรกได้เซ็นสัญญากับบริษัทในเดือนพฤษภาคม 2016 เพื่อกลับคืนอุตสาหกรรมดนตรีอีกครั้ง[56][57][58] ในเดือนเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยีจากประเทศจีน เทนเซ็นต์ และเว่ย์อิงเทคโนโลยี ประกาศลงทุน 85 ล้านเหรียญสหรัฐกับวายจี โดยเว่ย์อิงถือหุ้น 8.2% ส่วนเทนเซ็นต์ถือหุ้น 4.5%[59] จากนั้นวายจีได้เพิ่ม อี จง-ซ็อก,[60] คัง ดง-ว็อน[61] และคิม ฮี-ช็อง ในรายชื่อนักแสดง[62] วายจีเปิดตัวเกิร์ลกรุปวงที่สองในปี 2016 ในชื่อ แบล็กพิงก์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทูเอนีวัน[63] ตามด้วยแร็ปเปอร์ชื่อ ว็อน ในปีถัดมา[64]

2017–2019: เรื่องอื้อฉาว, การโต้เถียง และการแยกทางของศิลปิน

[แก้]

ปลายปี 2017 วายจีร่วมกับเจทีบีซีเปิดตัวรายการเอาชีวิตรอดในชื่อ มิกซ์ไนน์ ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างศิลปินฝึกหัดจากบริษัทต่าง ๆ[65][66] แม้ทีมที่ชนะจะถูกกำหนดให้เปิดตัวเป็นไอดอล[67] แต่วายจีเปิดเผยว่าการเปิดตัวของกลุ่มผู้ชายที่ชนะถูกยกเลิกไปแล้ว[68][69] จากกรณีดังกล่าวนำไปสู่การขาดทุนถึง 7 พันล้านวอนในไตรมาสแรกและ 4 พันล้านวอนในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2017[13][70] เป็นเหตุให้เจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์แซงหน้าวายจีในฐานะบริษัทเคป็อปที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับสอง[71]

ยัง ฮย็อน-ซ็อก ผู้ก่อตั้งวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ประกาศลาออกจากบริษัทในเดือนมิถุนายน 2019

ในเดือนพฤษภาคม 2018 ไซออกจากบริษัทหลังจากอยู่ร่วมมาแปดปี[72] ในเดือนตุลาคม 2018 ทาโบล สมาชิกวงอีพิกไฮ ประกาศว่ากลุ่มฮิปฮอปของเขาได้ยกเลิกสัญญากับวายจีแล้ว หลังจากอยู่ร่วมมาหกปี[73] เดือนถัดมา วายจีประกาศว่า วายจีเทรเชอร์บ็อกซ์ จะเป็นรายการเอาชีวิตรอดเพื่อกำหนดรายชื่อบอยแบนด์วงต่อไปของบริษัทที่มีกำหนดเปิดตัวในปี 2019[74] ภายหลังยังประกาศว่ารายการนี้จะก่อให้เกิดศิลปินสองกลุ่มคือ เทรเชอร์ และแมกนัม ซึ่งทั้งสองจะมีบทบาทร่วมกันในนาม เทรเชอร์ 13[75]

ในปี 2019 เหตุอื้อฉาวเบิร์นนิงซันเกี่ยวข้องกับซึงรี จากวงบิกแบง ซึ่งเป็นประเด็นอันร้อนระอุและส่งผลให้ซึงรีประกาศออกจากวงการบันเทิงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2019 สืบเนื่องจากคดีความที่มีชื่อของเขา[76] ในขณะเดียวกัน นักแสดงตลก ยู บย็อง-แจ ตัดสินใจออกจากวายจีก่อนสัญญาของเขาจะสิ้นสุดลง ทำให้ชื่อของบริษัทถูกมองในแง่ลบขึ้นไปอีก[77] ต้นเดือนมิถุนายน 2019 บีไอ หัวหน้าวงไอคอน ถูกรายงานว่าเขาพยายามซื้อแอลเอสดีและกัญชาอย่างผิดกฎหมายเมื่อปี 2016 ต่อมาเขาประกาศขอโทษแฟนเพลงและแสดงความรับผิดชอบด้วยการออกจากวงและวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ยัง ฮย็อน-ซ็อก โปรดิวเซอร์ฝ่ายบริหารของวายจี ยังถูกรายงานว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับตำรวจเพื่อปกปิดคดีของบีไอ[78] รวมทั้งถูกกล่าวหาว่าฟอกเงิน เล่นการพนันอย่างผิดกฎหมาย และจัดเตรียมบริการทางเพศให้แก่นักลงทุน[79][80] ด้วยเหตุนี้ ยัง ฮย็อน-ซ็อก จึงลาออกจากตำแหน่งทั้งหมดของเขาในบริษัท เช่นเดียวกับ ยัง มิน-ซ็อก น้องชายของเขาก็สละตำแหน่งผู้บริหารของวายจีเพื่อแสดงความรับผิดชอบในวันที่ 14 มิถุนายน 2019[81][82][83] จากนั้น ฮวัง โบ-กย็อง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารคนใหม่ของวายจีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2019[84] เดือนถัดมา แร็ปเปอร์ชื่อ ว็อน ประกาศว่าเขาแยกทางกับวายจีและได้ก่อตั้งบริษัทเป็นของตนเองแล้ว[85] หลังจากการยุบวงของทูเอนีวันเมื่อปี 2016 ซีแอลประกาศว่าเธอจะไม่ต่อสัญญากับวายจีในเดือนพฤศจิกายน 2019[86] ปลายเดือนธันวาคม 2019 นักร้องและนักแต่งเพลง อี ฮา-อี ประกาศว่าวายจีไม่ใช่ต้นสังกัดของเธออีกต่อไป หลังจากนั้นไม่นานเธอก็ออกอัลบัมใหม่กับเอโอเอ็มจี[87][88]

2020–ปัจจุบัน: การเติบโตและหลังจากนั้น

[แก้]
แบล็กพิงก์ เปิดตัวในปี 2016 อัลบัมเต็มชุดแรก ดิอัลบั้ม กลายเป็นอัลบัมแรกของเกิร์ลกรุปเคป็อปที่ขายได้ถึงล้านชุด รวมถึงทำลายสถิติของเอสอีเอสในรอบ 21 ปี ขึ้นเป็นอัลบัมของเกิร์ลกรุปเคป็อปที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[89][90]

ในปี 2020 วายจีประกาศแผนการเปิดตัว เทรเชอร์ ซึ่งเลื่อนออกมานับตั้งแต่ปี 2019 อัลบัมเต็มชุดแรกของแบล็กพิงก์และการกลับมาของบิกแบง ท้ายที่สุดถูกเลื่อนออกไปจนถึงปี 2022 พวกเขาคาดว่าจะปรากฏอยู่ที่เทศกาลโคเชลลาในปี 2020 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[91] ในช่วงครึ่งปีแรก การเติบโตทางการเงินของวายจีเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งเน้นที่แฟนเพลงต่างประเทศเป็นหลัก[92] ความเชื่อมั่นของสาธารณชนภายในประเทศยังไม่ดีนัก แต่รายได้ 70% ของวายจีมาจากแฟน ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมแรกของไอคอนนับตั้งแต่บีไอออกจากวงและกิจกรรมของจี-ดรากอน ที่ประเทศจีนในขณะนั้น[93] ในช่วงครึ่งปีหลัง วายจีแสดงแนวโน้มทางการเงินในเชิงบวกเนื่องจากอัลบัมเปิดตัวของเทรเชอร์, อัลบัมเต็มของแบล็กพิงก์, มีโน จากวินเนอร์, กิจกรรมเดี่ยวของยุน และกิจกรรมเดี่ยวของอี ซู-ฮย็อน จากอักมิว แม้มูลค่าจะไม่เป็นไปที่คาดไว้ แต่คาดว่ามูลค่านี้เป็นผลมาจากโควิด-19 ที่ทำให้บางคอนเสิร์ตต้องถูกยกเลิก[94] การก่อสร้างอาคารวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์แห่งใหม่ได้รับการประกาศแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2020 ซึ่งอาคารได้รับเลือกให้เป็นอาคารบริษัทบันเทิงที่หรูหราและแพงที่สุดในเกาหลีใต้[95][96]

ในเดือนมกราคม 2021 มีรายงานว่าบิกฮิตเอนเตอร์เทนเมนต์และบีอีเอ็นเอกซ์ได้ลงทุนกว่า 70 พันล้านวอน (63 ล้านเหรียญสหรัฐ) กับวายจีพลัส บริษัทในเครือของวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ คิดเป็นร้อยละ 17.9% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัท การลงทุนดังกล่าวก่อให้เกิดการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างบิกฮิตเอนเตอร์เทนเมนต์, บีอีเอ็นเอกซ์, วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ และวายจีพลัส ซึ่งจะทำงานร่วมกันในด้านธุรกิจต่าง ๆ อย่างเช่น แพลตฟอร์ม การจัดจำหน่าย เนื้อหา และสินค้า วายจีพลัสเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักสำหรับผลิตภัณฑ์ของไฮบ์คอร์ปอเรชันและบีอีเอ็นเอกซ์ (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ วีเวสคอมปานี) ซึ่งให้บริการด้านเนื้อหาและแพลตฟอร์มสำหรับศิลปินของวายจี[97][98] เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 ตลาดหลักทรัพย์เกาหลีประกาศว่าวายจีถูกลดสถานะจากบริษัทบลูชิปเป็นธุรกิจขนาดกลางทั่วไป บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 1.8 พันล้านวอนและผลตอบแทนผู้ถือหุ้น -0.5% ธุรกิจหลักอย่างการผลิตและการจัดการเพลงของบริษัทประสบปัญหาขาดทุนจากการดำเนินงานในช่วงสองปีที่ผ่านมา[99]

ในปี 2022 วายจีประกาศว่าเทรเชอร์จะกลับมาพร้อมกับอัลบัมใหม่ของพวกเขา[100] โดยมีกำหนดวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2022[101] หลังจากจินอูและซึงฮุนเสร็จสิ้นการเกณฑ์ทหารในเดือนมกราคม 2022 วินเนอร์กลับมารวมกันอีกครั้งและประกาศว่าพวกเขาจะมาพร้อมกับอัลบัมใหม่[102] จากนั้นวายจีได้ประกาศว่ายุนจะออกอัลบัมเดี่ยวในเดือนมีนาคม 2022[103] เทรเชอร์และวินเนอร์จัดคอนเสิร์ตแยกกันในเดือนเมษายน 2022[104][105] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 วายจีประกาศว่าบิกแบงจะกลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานกว่าห้าปีและยังประกาศว่า ทีโอพี ยุติสัญญากับบริษัทแล้ว[106] เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 ยัง มิน-ซ็อก น้องชายของยัง ฮย็อน-ซ็อก ผู้ก่อตั้งวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้บริหารร่วมในรอบสามปี ร่วมกับฮวัง โบ-กย็อง ผู้บริหารคนปัจจุบัน[107] เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2022 มีการประกาศว่าแทยังและแดซ็องออกจากบริษัทหลังจากอยู่ร่วมมาสิบหกปี โดยแทยังย้ายไปเดอะแบล็กเลเบิล ค่ายย่อยของบริษัท ส่วนแดซ็องกำลังมองหาต้นสังกัดใหม่อยู่ และยังกล่าวว่าทั้งคู่ยังคงเป็นสมาชิกบิกแบง จากนั้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2022 วายจีประกาศว่าสมาชิกทั้งหมดของไอคอนไม่ต่อสัญญากับบริษัทหลังจากอยู่ร่วมมาเจ็ดปี ภายในวันเดียวกัน วายจียังเปิดตัวเกิร์ลกรุปวงใหม่ในรอบเจ็ดปีชื่อ เบบีมอนสเตอร์[108]

ศิลปิน

[แก้]

ศิลปินเพลงทั้งหมดภายใต้สังกัดวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ถูกรวมอยู่ในวายจีแฟมีลี (YG Family) ขณะที่นักแสดงถูกรวมอยู่ในวายจีสเตจ (YG Stage)[109][110]

ศิลปินในสังกัด

[แก้]

ศิลปินอิสระ

[แก้]

นักแสดง

[แก้]

อดีตศิลปินและนักแสดง

[แก้]

อดีตศิลปิน

[แก้]

อดีตนักแสดงชาย/หญิง

[แก้]

อดีตนักแสดงตลก

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 transferred from YGX, which its actors division was defunct due to focusing only on the dance group.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 as well as part of YGKPlus
  3. While no official disbandment was announced, Jinusean's artist profile was removed in 2020, signifying the group is no longer active under the label.
  4. While no official disbandment was announced, 1TYM's artist profile was removed in 2014, signifying the group is no longer active under the label.
  5. While no official disbandment was announced, Bigbang's artist profile was removed in 2024, signifying the group is no longer active under the label.
  6. While no official disbandment was announced, GD & TOP's artist profile was removed in 2022, signifying the group is no longer active under the label.
  7. While no official disbandment was announced, GD X Taeyang's artist profile was removed in 2023, signifying the group is no longer active under the label.
  8. Artists: Hyukoh, Punchnello, OffonOff, Incredivle, The Black Skirts, Idiotape
    Producers: Code Kunst & Millic
  9. While no official disbandment was announced, Hi Suhyun's artist profile was removed in 2019, signifying the group is no longer active under the label.
  10. While no official disbandment was announced, MOBB's artist profile was removed in 2019, signifying the group is no longer active under the label.
  11. Despite all 4 members no longer being under YG, they still promote as Blackpink under the label.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "YG Entertainment Inc. (A122870)". July 17, 2024. สืบค้นเมื่อ July 17, 2024.
  2. Shim, Sun-ah; Lee, Eun-jung. "(Yonhap Interview) After 'successful' 20 years, YG Entertainment to keep pursuing refined music: CEO". Yonhap News. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  3. [와이지엔터테인먼트] 연결재무제표 기준 영업(잠정)실적(공정공시) [[YG Entertainment] Sales (provisional) performance based on consolidated financial statements (fair disclosure)] (ภาษาเกาหลี). November 11, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
  4. "YG Entertainment Major Stockholders". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2021. สืบค้นเมื่อ May 24, 2021.
  5. Shim, Sun-ah; Lee, Eun-jung. "(Yonhap Interview) After 'successful' 20 years, YG Entertainment to keep pursuing refined music: CEO". Yonhap News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 "YG is different". The Korea Times. April 17, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  7. 7.0 7.1 Song, Su-hyun (August 15, 2016). "[KOSDAQ Star] Strong Japanese partner to defend YG from THAAD risk". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
  8. Kim, JiYeon (May 19, 2012). "KPOP NEWS - The History of Yang Hyun Suk and YG: From ′Boy′ to ′CEO′ (Pt. 1)". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  9. "JinuSean (지누션)". KBS World Radio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-05-30.
  10. "G-Dragon - 내 나이 열셋 (My Age is 13) Full MV". YouTube. April 25, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2014. สืบค้นเมื่อ March 11, 2015.
  11. Lee, Nancy (March 21, 2013). "KPOP NEWS - [K-Pop Battle] Se7en vs. Rain". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  12. "K-Pop Idols And The Formidable American Debut - KultScene". KultScene (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). October 21, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  13. 13.0 13.1 Park, Ga-young (May 30, 2018). "YG Entertainment, fly or fail?". The Investor (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2018. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
  14. "Big Bang's Global Influence: How to Build a Boy Band That Lasts". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
  15. (ในภาษาเกาหลี) Kim, Hyeong-wu. 2NE1 아이돈케어 ‘힙합전사에서 귀여운 여인 깜짝 변신’ (2NE1's "I Don't Care" "Swift Change from Hip-Hop Warriors to Sweet Girls") เก็บถาวร กันยายน 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. IS Plus/Newsen. July 1, 2009. Retrieved September 4, 2009.
  16. Herman, Tamar (July 12, 2017). "10 Best K-Pop Girl Groups of the Past Decade: Critic's Picks". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2019. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
  17. Liu, Marian (February 17, 2017). "K-pop's growing pains: Why Asia's biggest bands are splitting up". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2019. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017.
  18. "53rd Japan Record Award winners". Tokyograph. November 20, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 12, 2012.
  19. "AKB48 wins 53rd Japan Record Award". Tokyograph. December 30, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 12, 2012.
  20. Shamdasani, Pavan (November 9, 2009). "How to Crack Japan: The Big Bang Theory". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2012. สืบค้นเมื่อ January 13, 2010.
  21. "YG엔터, 사옥 확장 위해 160억원에 부동산 매입". 네이트뉴스 (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-23.
  22. "YG Entertainment Moving to Own Company Building". HanCinema (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  23. "Korean entertainment firms fail to go public". koreatimes. January 5, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  24. "Psy reveals the reason why he joined YG Entertainment". dkpopnews.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2012. สืบค้นเมื่อ October 26, 2012.
  25. "The world's first global Korean pop star". 4Music.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2012. สืบค้นเมื่อ November 8, 2012.
  26. "'Gangnam Style' Most Watched YouTube Video Ever". ABC News. November 29, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2012. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  27. "Psy Reflects On Fifth Anniversary of 'Gangnam Style': 'I Still Don't Know Why It Was So Special'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
  28. Cha, Seonjin. "Psy's 'Gangnam Style' Hits 1 Billion Views on YouTube". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2012. สืบค้นเมื่อ December 23, 2012.
  29. "Has Psy's 'Gangnam Style' Helped Double Daddy's Stock?". Yahoo Finance. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  30. Kim, JiYeon (November 15, 2011). "KPOP NEWS - Why Did YG Entertainment Sign Tablo and Psy?". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2016. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
  31. Sunwoo, Carla (2012-07-27). "Epik High to make comeback". Korea Joongang Daily. สืบค้นเมื่อ 2016-07-07.
  32. Lee Min-young (October 3, 2018). "Hip-hop trio Epik High leaves YG Entertainment". koreatimes.co.kr (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 1, 2019.
  33. "KPOP NEWS - [Interview] What Lee Hi Wants from YG and Yang Hyun Suk". Mwave. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  34. "Why did Akdong Musician choose YG Entertainment?". Allkpop. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  35. "YG Entertainment Signs On the 12-Year Old Bang Yedam from 'K-Pop Star Season 2'website=Ningin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  36. "Meet WINNER: K-Pop's Exciting New Boy Band". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  37. enews24 전수미 기자 (January 20, 2014). "차승원, YG패밀리 됐다…싸이·빅뱅과 한솥밥" [Cha Seung Won becomes YG family... labelmates with Psy and Big Bang]. enews24 (ภาษาเกาหลี). enews24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2014. สืบค้นเมื่อ February 18, 2014.
  38. "YG Entertainment forms a strategic partnership with model management company K PLUS | allkpop.com". www.allkpop.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  39. "Choi Ji Woo Signs with YG Entertainment". enewsWorld. February 26, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2014. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
  40. "Actress Choi Ji-woo joins YG Entertainment". The Korea Herald. February 27, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
  41. "Actress Choi Ji-woo Joins YG Entertainment". 10Asia. February 26, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2014.
  42. "Hallyu icon joins YG Family". Korea JoongAng Daily. February 27, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 18, 2016.
  43. Mok, Fei Fei (September 13, 2014). "L Capital Asia, YG Entertainment exploring potential tie-ups". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  44. "YG Entertainment to unveil cosmetics brand 'moonshot' with a launching party | allkpop.com". www.allkpop.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  45. "Check Out Korea's Hottest New Beauty Brand". Refinery29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  46. Steven Koh (January 17, 2015). "YG Entertainment To Invest Nearly $100 Million Into K-Pop Culture Venue". Kpopstarz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2015. สืบค้นเมื่อ January 18, 2015.
  47. "YG Entertainment Invests 16 Billion Won Into Expanding Headquarters". news.nate.com. July 7, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ September 25, 2015.
  48. "Epik High to Start Their Own Label Backed By YG Entertainment and Headed by Tablo". Naver. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ September 25, 2015.
  49. "[단독]테디·쿠시, YG독립 레이블 만든다..양현석 직접 기획". entertain.naver.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
  50. "YG Entertainment confirms iKON is indeed making their debut in September! | allkpop.com". www.allkpop.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  51. "Member Gong Minzy to leave 2NE1". kpopherald.koreaherald.com.
  52. Herman, Tamar (April 5, 2016). "K-Pop Group 2NE1 Becomes Trio Following Departure of Minzy". Billboard.
  53. Herman, Tamar (November 27, 2016). "2NE1 Officially Disbands, YG Entertainment Renews Contracts With CL and Dara". Billboard.
  54. "YG "2NE1, 7년만 공식 해체…박봄 재계약 NO"(공식입장 전문)". entertain.naver.com.
  55. Herman, Tamar (January 5, 2017). "2NE1 To Release Final Single Before They Disband". Billboard.
  56. Network, The Korea Herald/Asia News (May 12, 2016). "Sechs Kies inks contract with YG Entertainment". entertainment.inquirer.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2016. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
  57. "젝스키스, YG서 빅뱅과 같은 대우조건 받는다". 인사이트 (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2016. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
  58. "KPOP NEWS - Sechs Kies Officially Joins YG Entertainment | Mwave". mwave.interest.me. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2016. สืบค้นเมื่อ May 16, 2016.
  59. Frater, Patrick (May 31, 2016). "China's Tencent and Weiying Take $85 Million Stake in Korea's YG Entertainment". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 1, 2016.
  60. Herald, The Korea (May 10, 2016). "Actor Lee Jong-suk signs with YG". www.koreaherald.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2016. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016.
  61. Son, Ji-hyoung (January 18, 2016). "YG clinches contract with Kang Dong-won". K-pop Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2016. สืบค้นเมื่อ May 10, 2016.
  62. Cho, Na-young; Lee, Jae-ha (May 23, 2016). "'꼭지-원빈조카' 김희정, YG와 전속계약 '새출발'". OSEN (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2016. สืบค้นเมื่อ May 23, 2016.
  63. "YG 새 걸그룹, '블랙 핑크' 이름의 뜻은?[YG 새 걸그룹 최종발표③]". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2017. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016.
  64. "YG's solo artist One debuts with 'One Day'". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
  65. "Watch: YG drops star-studded Mix Nine trailer". SBS PopAsia (ภาษาอังกฤษ). October 24, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
  66. "Yet another idol competition show unveiled in South Korea". AsiaOne. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2017. สืบค้นเมื่อ October 28, 2017.
  67. 뉴스, JTBC (November 15, 2017). "'믹스나인' 대국민 투표 프로모션 영상 공개! 소년X소녀 '9'해줘" (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 25, 2017.
  68. "우진영 측 "'믹스나인' 데뷔 무산 맞다, 연습생으로 복귀"". Newsen (ภาษาเกาหลี). May 2, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
  69. "[공식입장 전문] YG측 "'믹스나인' 데뷔 무산, 6곳 기획사와 협의 끝 결정..죄송"". OSEN (ภาษาเกาหลี). Naver. May 3, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
  70. Park, Jeong-yeob (February 23, 2018). "Uncertainties lie ahead" (PDF). Mirae Asset Daewoo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
  71. Herman, Tamar. "TWICE Leads JYP Entertainment To Become No. 2 K-Pop Agency". Forbes (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2018. สืบค้นเมื่อ July 12, 2018.
  72. "[공식입장 전문] YG, 싸이와 8년만에 전속계약 종료.."아름다운 이별"". entertain.naver.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2020. สืบค้นเมื่อ May 1, 2019.
  73. "Epik High on Going Independent and the State of the South Korean Music Industry". www.forbes.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12.
  74. OSEN (2018-09-20). "[공식입장] YG "新보이그룹 준비? 신인 나오는 것은 당연한 일"". mosen.mt.co.kr (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
  75. "양현석 "트레저7인+매그넘6인='트레저13'으로 13인조 데뷔"". spotvnews.co.kr (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-02-12.
  76. "Sex, money and drugs: The controversy that ended Seungri's career explained". Korean Herald. March 14, 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  77. Lee Min-young (May 21, 2019). "Comedian Yoo Byung-jae to leave scandal-ridden YG". Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  78. Ock Hyun-ju (June 13, 2019). "Witness accuses YG of collusion with police". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  79. Tamar Herman (August 29, 2019). "K-Pop Mogul Yang Hyun-suk Questioned by Seoul Police on Gambling, Sexual Service Allegations". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  80. Jon Blistein (June 25, 2019). "Yang Hyun-suk, Head of K-Pop Giant YG Entertainment, Resigns Amid Scandals". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  81. Kim Sohee; Kang Shinye (June 14, 2019). "K-Pop Agency YG's Founder Quits as Artists Accused of Drug Use". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  82. Kim Arin (June 14, 2019). "Yang quits as YG chief amid growing suspicions of drug offense cover-up". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  83. Tamar Herman (June 14, 2019). "YG Entertainment Founder Yang Hyun-Suk Leaves K-Pop Company Amid Turmoil". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  84. "YG Entertainment Appoints New CEO and Addresses Scandals". E! Online (ภาษาอังกฤษ). June 21, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2019. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
  85. "[인터뷰②] '굿바이썸머' 정제원 "YG와 계약 만료..1인 기획사 계획"". isplus.live.joins.com (ภาษาเกาหลี). July 17, 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  86. Jin Hyang-hee (November 8, 2019). "씨엘, 결국 YG 떠난다…"전속계약 종료 합의..각별한 마음으로 응원"[공식입장]". news.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  87. "YG 측 "이하이와 전속계약 종료, 서로 앞날 응원하기로"(공식)". Newsen (ภาษาเกาหลี). December 31, 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  88. "이하이, AOMG와 전속계약 체결…전격 영입 발표 [공식]". sport.donga.com (ภาษาเกาหลี). July 22, 2020. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  89. Yoon, So-yeon (October 26, 2020). "Blackpink becomes first-ever million-selling K-pop girl group". Korea Joongang Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2020. สืบค้นเมื่อ October 30, 2020.
  90. "BLACKPINK breaks record again". The Independent (ภาษาอังกฤษ). October 26, 2020. สืบค้นเมื่อ October 30, 2020.
  91. Yim Hyun-su (January 9, 2020). "After terrible year, YG hopes to turn things around in 2020". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  92. Hazell Lee (December 18, 2020). "YG Entertainment: Securing Fandom". businesskorea.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  93. Hazell Lee (May 14, 2020). "YG Entertainment: Global Demand Stands out even amid Hardship". businesskorea.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  94. Sung Jung-won; Hanny Lee (August 12, 2020). "YG Entertainment: 2020 Marks Start of Recovery". businesskorea.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  95. "YG엔터, 신사옥 이전 시작…"팬들 위한 독립 공간 마련" [공식]" (ภาษาเกาหลี). September 23, 2020. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  96. "YG, 합정 사옥 2000억원…하이브, 월세 17억원 '통임차' (연중라이브)[종합]". xportnews.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  97. Choi Jiwon (January 31, 2021). "Big Hit partnership with Naver, YG Plus a win-win for entertainment industry". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  98. "빅히트 측 "YG에 700억 규모 투자 단행, 음반음원 유통 사업 협업"(공식)" (ภาษาเกาหลี). January 27, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  99. Choi Pil-woo (May 6, 2021). "SM·YG '우량→중견기업' 강등, JYP 홀로 '굳건'". The Bell (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2021. สืบค้นเมื่อ May 15, 2021.
  100. "트레저, YG 새해 첫 컴백 확정..'커밍순' 포스터 공개". mosen.mt.co.kr (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  101. "From TREASURE to Apink, a wave of K-pop stars to drop new songs next month". Korea Times. January 21, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  102. "위너 완전체 예고에 팬들 환호". gukjenews.com. January 18, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  103. "위너 강승윤, 솔로 타이틀곡은 'BORN TO LOVE YOU'". joynews24.com (ภาษาเกาหลี). March 4, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  104. "위너, 2년 만에 완전체 콘서트…온라인 동시 진행". yna.co.kr. February 18, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  105. Hwang You-mee (February 7, 2022). "[Today's K-pop] Treasure to host 1st concert in April". Korean Herald. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  106. "YG "빅뱅, 올봄 신곡 발표 예정…탑 전속계약 종료" [공식]". February 7, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  107. "YG Entertainment founder's younger brother reinstated as co-CEO". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). 1 July 2022.
  108. Suacillo, Angela Patricia (December 30, 2022). "YG Entertainment to debut new girl group in 2023". NME (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2023. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022.
  109. "YG Family artists list". YG Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-02. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
  110. "YG Family actors list". YG Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-12. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
  111. "2NE1′s CL Reveals How She and Teddy Came Up With ′The Baddest Female′". MWAVE. June 9, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2014. สืบค้นเมื่อ October 26, 2014.
  112. "Before the Album". Complex. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-25. สืบค้นเมื่อ October 26, 2014.
  113. "SECHSKIES's first new song was jointly written by TABLO and FUTURE BOUNCE who wrote BLACKPINK's "WHISTLE"". Complex. August 31, 2016. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  114. "iKON's New Title Song "B-DAY" is Composed and Written by B.I and BOBBY". YG Life. May 19, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  115. "WINNER to Release New Songs Until the End of This Year and Its Second Title Track is "FOOL"". YG Life. March 29, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  116. "Lydia Paek, songwriter for BigBang and 2NE1, is also a singer with a big voice". Strait Times. July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  117. "The Making of G-Dragon's "Coup D'Etat"". Complex. September 10, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-25. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  118. "Update: YG Rapper ONE Announces Release Date Of First MV Teaser In New Teaser Image". Soompi. June 25, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-29. สืบค้นเมื่อ July 7, 2017.
  119. "iKON confirmed "WHAT'S WRONG?" as one of the double title tracks for their new album… Written by B.I and BOBBY". YG Life. December 18, 2015. สืบค้นเมื่อ July 7, 2017.
  120. "전소미, JYP 떠나 YG '더블랙레이블' 손잡나…"확인 중"". Naver (ภาษาเกาหลี). September 23, 2018. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
  121. "Talented Producer Peejay to Join YG Entertainment's 'The Black Label'". July 27, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  122. "Here Comes The Black Label". thekhoployalist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  123. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  124. "YG "최근 마스타우 떠났다, 향후 음악활동 응원" 공식입장" (ภาษาเกาหลี). xsportsnews. January 8, 2016. สืบค้นเมื่อ January 8, 2016.
  125. "Yang Hyun Suk opens up about how his relationship with wife Lee Eun Joo began". allkpop.
  126. "Dok2, Masta Wu, Sojin, and Digital Masta to release collaboration track, "Finale"". November 27, 2014.
  127. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2017. สืบค้นเมื่อ November 3, 2017.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  128. 128.0 128.1 128.2 128.3 128.4 "FORMER MEMBERS (WAS IN YG)". June 21, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  129. "[공식] YG 측 "승리와 전속계약 종료..아티스트 관리 못한 점 인정·반성" [전문]". 다음 연예. March 13, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2019. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  130. "YG "빅뱅, 올봄 신곡 발표 예정…탑 전속계약 종료" [공식]". Mydaily. February 7, 2022. สืบค้นเมื่อ February 7, 2022.
  131. Yang, Haley (December 26, 2022). "Big Bang's Taeyang to change management to YG affiliate The Black Label". Korea JoongAng Daily. สืบค้นเมื่อ December 26, 2022.
  132. "Following Taeyang, Daesung also leaves YG". Edaily. December 26, 2022. สืบค้นเมื่อ December 26, 2022.
  133. "G-Dragon departure from YG Entertainment sends stock prices tumbling". Lifestyle Asia Hong Kong (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-06-09. สืบค้นเมื่อ 2023-10-01.
  134. "K-pop girl band 2NE1 breaks up". November 25, 2016. สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
  135. "'2NE1'에 대한 공식 입장". YG Entertainment. April 5, 2016. สืบค้นเมื่อ April 5, 2016.
  136. Doo, Rumy (April 5, 2016). "Member Minzy to leave 2NE1". Kpop Herald. สืบค้นเมื่อ April 5, 2016.
  137. Son Ji-nah (May 14, 2021). "산다라박, YG엔터테인먼트와 전속계약 만료(전문)[공식]". Maekyung Sports (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2021. สืบค้นเมื่อ May 14, 2021.
  138. "YG 측 "이하이와 전속계약 종료, 서로 앞날 응원하기로"(공식)" (ภาษาเกาหลี). December 31, 2019.
  139. "YG "위너 남태현 탈퇴 확정, 4인조 재편"(공식입장 전문)". สืบค้นเมื่อ December 5, 2016.
  140. 박정선 기자 (July 17, 2019). "[인터뷰②] '굿바이썸머' 정제원 "YG와 계약 만료..1인 기획사 계획"" (ภาษาเกาหลี). Naver. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  141. 홍승한. "[단독]'K팝스타4' 우승자 케이티김, YG와 결별…현재 데뷔 준비 중". n.news.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  142. Song, Min-joo (December 30, 2022). "Dong-wan and iKon are leaving YG Entertainment…the YG craze?" (ภาษาเกาหลี). Naver. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022.
  143. Yim, Hyun-su (June 12, 2019). "B.I quits iKON over attempted drug purchase" (ภาษาอังกฤษ). The Korea Herald.
  144. 144.0 144.1 144.2 144.3 144.4 144.5 Song, Min-joo (December 30, 2022). "강동원, 아이콘도 YG엔터 떠난다...'탈 YG' 열풍? [공식]" [Kang Dong-won and iKON are also leaving YG Entertainment... 'Leave YG' craze? [Formula]] (ภาษาเกาหลี). TV Report. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022 – โดยทาง Naver.
  145. "강성훈, YG 전속계약 해지+젝스키스 활동 종료 "진심으로 사과"(전문)". entertain.naver.com.
  146. 146.0 146.1 Yoon, Sang-geun (November 8, 2022). "트레저 방예담·마시호 전격 탈퇴 "10인 체제 재편"[전문]". Starnews (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ November 8, 2022.
  147. 147.0 147.1 147.2 147.3 "블랙핑크, 팀 활동만 YG서…지수·제니·리사·로제 개별 계약 않기로(종합)". Newsis (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2023. สืบค้นเมื่อ December 29, 2023.
  148. "회사를 나왔습니다. + 앞으로의 계획 / I just got out of the company. + Future Plans". YouTube. November 8, 2020. สืบค้นเมื่อ October 3, 2023.
  149. Kim, Soo-young (January 3, 2022). "승리·양현석이 찜했던 안다, YG 떠났다…"새로운 출발"". Hankyung (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ February 7, 2022.
  150. "권현빈, 고스트 스튜디오와 전속계약 "배우 제2의 전성기 준비"". OSEN (ภาษาเกาหลี). March 4, 2024.
  151. "[공식입장] 스테파니 리, YNK엔터와 전속계약..임수정과 한솥밥". OSEN (ภาษาเกาหลี). April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 26, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]