แอลวีเอ็มเอช
ประเภท | ซอกิแอตาสเอ็วโรไปอา |
---|---|
การซื้อขาย | ยูโรเน็กซต์ปารีส: MC
CAC 40 Component |
ISIN | FR0000121014 |
อุตสาหกรรม | สินค้าหรูหรา |
ก่อนหน้า | |
ก่อตั้ง | 1987 |
ผู้ก่อตั้ง | Alain Chevalier Henry Racamier |
สำนักงานใหญ่ | ปารีส , ฝรั่งเศส |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | เบร์นาร์ อาร์โนต์ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) Antonio Belloni, กรรมการผู้จัดการ |
ผลิตภัณฑ์ | เสื้อผ้า, เครื่องสำอาง, เครื่องประดับแฟชัน, อัญมณี, น้ำหอม, เหล้า, นาฬิกา, ไวน์ |
บริการ | ห้างสรรพสินค้า |
รายได้ | 53.7 พันล้านยูโร (2019)[1] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 11.5 พันล้านยูโร (2019)[1] |
รายได้สุทธิ | 7.17 พันล้านยูโร (2019)[1] |
สินทรัพย์ | 128.550 พันล้านยูโร (2018)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 33.957 พันล้านยูโร (2018)[1] |
เจ้าของ | ผู้ถือหุ้น |
พนักงาน | 145,247 (2018)[1] |
บริษัทในเครือ | รายชื่อสินค้าในเครือ |
เว็บไซต์ | LVMH.com |
แอลวีเอ็มเอช โมเอต์ เฮนเนสซี่ หลุยส์ วิตตอง (อังกฤษ: LVMH Moët Hennessy – Louis Vuitton SE) หรือที่รู้จักกันในชื่อ แอลวีเอ็มเอช (LVMH) เป็นเครือบริษัทมหาชนข้ามชาติของสหภาพยุโรปในธุรกิจสินค้าหรูหรา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ประวัติของกลุ่มบริษัทเริ่มต้นจากการก่อตั้งแบรนด์หลุยส์ วิตตอง ในปี ค.ศ. 1854 จากนั้นทางโมเอต์แอนด์ชันด็อน ผู้ผลิตแชมเปญจน์ และเฮนเนสซี่ ผู้ผลิตเหล้าคอนญัก ได้รวมกิจการกันเป็นบริษัทโมเอต์เฮนเนสซี่ ก่อนที่จะควบรวมกับหลุยส์ วิตตอง ก่อตั้งเป็นเครือแอลวีเอ็มเอชในปี ค.ศ. 1987[2][3][4] ปัจจุบันมีบริษัทย่อยผลิตแบรนด์สินค้าในเครือกว่า 60 บริษัทโดยแต่ละบริษัทมีอิสระเต็มที่ในการบริหารงาน ผลิตภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดของเครือแอลวีเอ็มเอชคือไวน์ชาตูดีคุม (Château d'Yquem) ที่มีจุดเริ่มต้นย้อนกลับไปถึง ค.ศ. 1593[5]
ปัจจุบัน ดียอร์ คือผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดของเครือแอลวีเอ็มเอช มีหุ้นร้อยละ 40.9 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด[6] แบร์นาร์ อาร์โน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของดิออร์จึงเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอลวีเอ็มเอชด้วย[7] ปัจจุบันเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในฝรั่งเศส และหุ้นของเครือบริษัทยังมีมูลค่าตามราคาตลาดสูงที่สุดในฝรั่งเศสและยูโรโซนอีกด้วย สูงราว 220 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2020[8]
แอลวีเอ็มเอชเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Annual Report 2017" (PDF). LVMH.com. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
- ↑ "LVMH Moët Hennessy Louis Vuitton SA – Company History". Funding Universe. สืบค้นเมื่อ 30 June 2011.
- ↑ Rachel Sanderson in Milan (6 March 2011). "Retail & Consumer – LVMH to take controlling stake in Bulgari". FT.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2011.
- ↑ "LVMH group, Moet Hennessy Louis Vuitton: world leader in luxury, listed on CAC 40 index". LVMH.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2011.
- ↑ The Beginnings of Château d'Yquem Château d'Yquem Retrieved 29 January 2010
- ↑ "Organizational chart as of April 30, 2013". Dior. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 12 April 2016.
- ↑ "25. Bernard Arnault". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010.
- ↑ "Frankfurt Stock Exchange". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
- ↑ "LVMH to sponsor the 2024 Olympic Games in Paris". Vogue Business (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-07-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-08-08.