แอลเอสดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Lysergic acid diethylamide (LSD)
INN: Lysergide
โครงสร้างสองมิติ และสามมิติของ LSD
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/daɪ eθəl ˈæmaɪd/, /æmɪd/, หรือ /eɪmaɪd/[3][4][5]
ชื่ออื่นLSD, LSD-25, Acid, Delysid, others
AHFS/Drugs.comReference
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
Dependence
liability
Low[1]
Addiction
liability
Low-rare[2]
ช่องทางการรับยาทางปาก, ใต้ลิ้น, หลอดเลือดดำ
ประเภทยาHallucinogen (serotonergic psychedelic)
รหัส ATC
  • None
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล71%[6]
การจับกับโปรตีนไม่ทราบ[7]
การเปลี่ยนแปลงยาไต (CYP450)[6]
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา2-Oxo-3-hydroxy-LSD[6]
ระยะเริ่มออกฤทธิ์30–40 นาที[8]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ3.6 ชั่วโมง[6][9]
ระยะเวลาออกฤทธิ์8–12 ชั่วโมง[10]
การขับออกไต[6][9]
ตัวบ่งชี้
  • (6aR,9R)-N,N-diethyl-7-methyl-4,6,6a,7,8,9-hexahydroindolo[4,3-fg]quinoline-9-carboxamide
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.000.031
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC20H25N3O
มวลต่อโมล323.440 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
จุดหลอมเหลว80 ถึง 85 องศาเซลเซียส (176 ถึง 185 องศาฟาเรนไฮต์)
  • CCN(CC)C(=O)[C@H]1CN([C@@H]2Cc3c[nH]c4c3c(ccc4)C2=C1)C
  • InChI=1S/C20H25N3O/c1-4-23(5-2)20(24)14-9-16-15-7-6-8-17-19(15)13(11-21-17)10-18(16)22(3)12-14/h6-9,11,14,18,21H,4-5,10,12H2,1-3H3/t14-,18-/m1/s1 checkY
  • Key:VAYOSLLFUXYJDT-RDTXWAMCSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม
แอลเอสดี

แอลเอสดี (อังกฤษ: Lysergic acid diethylamide - LSD) อาจเรียกว่า แอซิด เป็นสารเสพติดที่สกัดได้จากเชื้อราที่อยู่บนข้าวไรย์ เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรงที่สุด ผู้เสพนิยมเรียกว่า กระดาษเมา กระดาษมหัศจรรย์ หรือ แสตมป์มรณะ

ประวัติ[แก้]

ในตอนแรกอาร์เธอร์ สตอลล์ นักวิจัยของบริษัทแซนดอสได้ทำการแยกสารชนิดหนึ่งออกมาจากเชื้อราบนเมล็ดข้าวไรย์ และได้เรียกสารชนิดนี้ว่า "กรดไลเซอร์จิก" (Lysergic acid) และเพื่อนร่วมงานชื่ออัลเบิร์ต ฮอฟมานน์ได้ทำการสังเคราะห์ลักษณะโมเลกุลของกรดไลเซอร์จิกขึ้นมาโดยไม่ต้องใช้เชื้อราในปี ค.ศ. 1938 และได้เรียกว่า "แอลเอสดี" (LSD) ซึ่งรู้จักกันไปทั่วในวงการยาเสพติด

หลังจากค้นพบแล้ว ยังไม่ทราบว่าแอลเอสดีนั้นมีประโยชน์หรือโทษอย่างไร และเสพแอลเอสดีมาเรื่อย ๆ จนวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1943 ฮอฟมานน์ก็เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและตาลาย แสงแดดเจิดจ้าขึ้นกว่าปกติ มีประกายสีต่าง ๆ หลังจากนั้นเขาก็เริ่มรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอย่างประหลาด อีกสามวันต่อมา เขาได้ทดลองกินแอลเอสดี 0.25 ไมโครแกรมใน 45 นาทีให้หลัง ยาก็เริ่มออกฤทธิ์ ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน

ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับสารแอลเอสดี เพื่อที่ใช้ทำเป็นยาในการรักษาอาการโรคจิตในอนาคต

ในช่วงปี ค.ศ. 1960 สตาลิสลาฟ กรอฟ ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับยาหลอนประสาทและจิตเวชได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับจิตบำบัด โดยการใช้สารแอลเอสดี โดยเป็นการใช้สารแอลเอสดีเข้าถึงสภาวะเหนือธรรมดาของจิตสำนึกและได้ออกหนังสือเกี่ยวกับการทำวิจัยของเขาออกมาชื่อ LSD Psychotherapy แต่ต่อมาได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามใช้ยาหลอนประสาท ทำให้กรอฟต้องล้มเลิกโครงการวิจัยนี้ไป

ในปี ค.ศ. 1960 ทิโมที แลรี นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้ทดลองเสพสารแอลเอสดีและเสนอผลการเสพสารแอลเอสดีไว้ดังนี้

  • ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขทันที
  • มีความคิดสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีและศิลปะ
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน
  • เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้

ในระยะแรกได้มีการใช้สารนี้ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เสพในสมัยนั้นอายุมากกว่าในปัจจุบัน โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 21 ปี ต่อมาได้มีการเสพกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากหาซื้อง่ายเพราะมีขายกันทั่วไป และยังหลบเบี่ยงเจ้าหน้าที่ได้ง่าย กลุ่มผู้เสพที่สำคัญคือ นักดนตรี พวกฮิปปี้และบุปผาชน (flower children) ได้มีงานรื่นเริงฉลองการเสพแอลเอสดีอย่างเอิกเกริกและยิ่งใหญ่ เช่น งานฉลองฤดูร้อนแห่งความรัก (summer love) ที่เมืองซานฟรานซิสโก

ในเวลาต่อมาสารแอลเอสดีได้แพร่ระบาดเข้าไปในกลุ่มวัยรุ่น และในทุกกลุ่มชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นกลางและร่ำรวย เด็กวัยรุ่นในกลุ่มเสพประท้วงรัฐบาลในการทำสงครามกับเวียดนาม ขอเพิ่มสิทธิมนุษยชนและอิสระในการพูดและแสดงความคิดเห็น ในระยะหลัง ๆ ผู้เสพแอลเอสดีได้ใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น กัญชา แอมเฟตามีนหรือเฮโรอีน ทำให้การเสพสารนี้กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่สำคัญ ร่วมกับปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม จึงได้มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้มีการตั้งองค์กรเรียกสถาบันการศึกษาเรื่องยาเสพติดแห่งชาติ

ลักษณะทั่วไป[แก้]

แอลเอสดีเป็นสารกึ่งสังเคราะห์ที่ไม่พบในธรรมชาติ สกัดได้จากกรดไลเซอจิกที่มีในเชื้อราที่อยู่บนเมล็ดข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มักจะเสพด้วยการรับประทาน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ดกลมแบน แคปซูล แผ่นเจล ของเหลวบรรจุแก้ว มีความรุนแรงในการออกฤทธิ์ต่อสมองสูง คือใช้ในปริมาณแค่ 25 ไมโครกรัม (25/1 ล้านส่วนของกรัม) ส่วนใหญ่ที่พบจะนำเอาแอลเอสดีไปหยอดบนแผ่นกระดาษสี่เหลี่ยมที่มีคุณสมบัติในการดูดซับ เรียกว่า Blotter paper ที่มีลวดลายและสีสันต่าง ๆ แล้วแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก ๆ คล้ายแสตมป์ นิยมเรียกกันในหมู่ผู้เสพว่า กระดาษเมา หรือ แสตมป์เมา ยาเสพติดชนิดนี้ได้รับความนิยมในหมู่ผู้เสพเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่าสะดวกต่อการพกพา หรือหลบซ่อนเจ้าหน้าที่

อาการและการออกฤทธิ์[แก้]

แอลเอสดีในธรรมชาตินั้นมีในพืชมากกว่า 40 ชนิด เช่น หนังคางคก เมื่อแยกสารนี้ออกมาแล้วพบสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับสารแอลเอสดี แต่ฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มและสบายใจนั้นมีน้อยกว่าเช่น ในเห็ดเม็กซิกันซึ่งเรียกกันว่า Psilocybe mexicana ชาวพื้นเมืองต่างถือกันว่าเป็นเห็ดเทพเจ้าที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้กินกันเมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนา โดยเชื่อกันว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เทพเจ้าเข้าสิง เพราะเกิดความมึนเมาและมีอารมณ์ประหลาดเกิดขึ้น เนื่องจากในเห็ดนี้มีสารไซโลไซบิน (psilocybin) ที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกันกับแอลเอสดีแต่น้อยกว่า

อาการ[แก้]

แอลเอสดีเป็นยาเสพติดประเภทหลอนประสาทที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจรุนแรงที่สุด มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น

  1. มีอารมณ์ร่าเริง สนุกสนาน
  2. อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้
  3. อาจเกิดความกลัวอย่างรุนแรง เช่นกลัววิกลจริต กลัวตาย
  4. เห็นภาพคมชัดผิดปกติ เช่น มีสีสันมากกว่าธรรมดา หรือเป็นประกายสวยงาม
  5. ได้ยินเสียงแต่เห็นเป็นภาพแทน เช่น ได้ยินเสียงดนตรีแต่เห็นเป็นโน้ตดนตรีแทน
  6. ภาพหลอนที่เห็นมักมีรูปทรงเรขาคณิต
  7. หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ และความดันโลหิตสูง
  8. หวนนึกถึงอดีตที่เลวร้าย
  9. รู้สึกสับสน กระวนกระวาย สูญเสียการควบคุม

ยาเสพติดชนิดนี้ มีการเสพติดทางจิตใจเท่านั้น ไม่มีการเสพติดทางร่างกาย และไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย และอาการของผู้เสพจะไม่แสดงออกตามร่างกายภายนอก อนึ่งอาการดังกล่าวอาจปรากฏให้เห็นซ้ำอีกได้แม้ไม่ได้เสพสารแล้ว โดยจะปรากฏเป็นพัก ๆ และอาจทำให้เกิดขึ้นได้เอง เช่น โดยการนึกคิดหรือถูกกระตุ้นโดยเข้าไปอยู่ในที่มืดและอาจมีอาการอยู่นานเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า "ปรากฏการณ์ซ้ำ" (flashback)

อันตราย[แก้]

  1. อาจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
  2. อาจได้รับบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น เนื่องจากผู้เสพสูญเสียการควบคุมจิตใจ

อาการพิษ[แก้]

  1. อาจจะเป็นโรคจิต โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจอยู่ก่อน
  2. อาการ flashback ที่มีเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ใจอย่างหนัก

โทษ[แก้]

  1. ผู้เสพอาจเห็นภาพลวงตา
  2. หูแว่ว
  3. อาจมีอาการทางจิตประสาทอย่างรุนแรง
  4. เกิดอาการกลัวภาพหลอน (Bad Trip)
  5. ผู้เสพจะมีความดันโลหิตสูงผิดปกติ
  6. อุณหภูมิในร่างกายสูงเหมือนคนเป็นไข้
  7. หายใจไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า
  8. เกิดอาการจิตตก ทำร้ายตนเอง
  9. คิดถึงอดีตที่เลวร้าย

โทษทางกฎหมาย[แก้]

กฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติด สิ่งที่ถือว่าเป็นยาเสพติดนั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากไม่มีกฎหมายระบุไว้ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ยาเสพติด แม้ว่าสิ่งที่เสพมีฤทธิ์ที่ทำให้ติดได้ก็ตาม ยกเว้น บุหรี่ สุรา โดย แอลเอสดี เป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 มีโทษดังนี้

  1. จำคุกตลอดชีวิต (มาตรา 65 วรรค 1)
  2. เพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (มาตรา 65 วรรค 2)
  3. มีสารบริสุทธิ์ 0.75 มิลลิกรัมขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย (มาตรา 15)
  • การมีในครอบครองเพื่อจำหน่าย
  1. คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต ปรับ 50,000-500,000 บาท (มาตรา 66 วรรค 1)
  2. คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต (มาตรา 66 วรรค 2)
  • ครอบครอง
  1. คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (มาตรา 67)
  2. คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (มาตรา 15)
  • ผู้เสพ
  1. จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี ปรับ 5,000-10,000 บาท (มาตรา 91)
  • ให้ผู้อื่นเสพ
  1. ถ้าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต (มาตรา 93 วรรค 5)
  • ส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
  1. จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000-50,000 บาท (มาตรา 93)
  • ใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย
  1. จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (มาตรา 93)
  2. กระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท
  3. ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท

พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534[แก้]

วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยเฉพาะการมุ่งเอาผิดต่อผู้ค้ายาเสพติด ระดับนายทุน และตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด และริบทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการค้ายาเสพติด เพื่อขจัดแหล่งเงินทุนในการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด

ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดและศาลสั่งริบ ให้ตกเป็นของ "กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด" เพื่อนำทรัพย์สินที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป

อ้างอิง[แก้]

  1. Halpern JH, Suzuki J, Huertas PE, Passie T (June 7, 2014). "Hallucinogen Abuse and Dependence". ใน Price LH, Stolerman IP (บ.ก.). Encyclopedia of Psychopharmacology A Springer Live Reference. Heidelberg, Germany: Springer-Verlag Berlin Heidelberg. pp. 1–5. doi:10.1007/978-3-642-27772-6_43-2. ISBN 978-3-642-27772-6. Hallucinogen abuse and dependence are known complications resulting from ... LSD and psilocybin. Users do not experience withdrawal symptoms, but the general criteria for substance abuse and dependence otherwise apply. Dependence is estimated in approximately 2 % of recent-onset users
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NHM-MDMA
  3. "Definition of "amide"". Collins English Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 2, 2015. สืบค้นเมื่อ มกราคม 31, 2015.
  4. "American Heritage Dictionary Entry: amide". Ahdictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 2, 2015. สืบค้นเมื่อ มกราคม 31, 2015.
  5. "amide – definition of amide in English from the Oxford Dictionary". Oxforddictionaries.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 2, 2015. สืบค้นเมื่อ มกราคม 31, 2015.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Dol2015
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Pas2008
  8. Neinstein LS (2008). Adolescent Health Care: A Practical Guide (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 931. ISBN 9780781792561.
  9. 9.0 9.1 Mucke HA (July 2016). "From Psychiatry to Flower Power and Back Again: The Amazing Story of Lysergic Acid Diethylamide". Assay and Drug Development Technologies. 14 (5): 276–281. doi:10.1089/adt.2016.747. PMID 27392130.
  10. Kranzler HR, Ciraulo DA (2 April 2007). Clinical Manual of Addiction Psychopharmacology (ภาษาอังกฤษ). American Psychiatric Pub. p. 216. ISBN 9781585626632.