ฟุตบอลโลกหญิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก FIFA Women's World Cup)
ฟุตบอลโลกหญิง
ก่อตั้งพ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)
ภูมิภาคนานาชาติ (ฟีฟ่า)
จำนวนทีม32 (รอบสุดท้าย)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันธงชาติสเปน สเปน (สมัยที่ 1)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดธงชาติสหรัฐ สหรัฐ (4 สมัย)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ฟุตบอลโลกหญิง (อังกฤษ: FIFA Women's World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลในระดับโลกสำหรับทีมชาติทีมหญิงเช่นเดียวกับ ฟุตบอลโลก จัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2534 ทีมชนะเลิศการแข่งขันครั้งล่าสุดคือทีมชาติสเปน ที่ชนะในการแข่งขัน ฟุตบอลโลกหญิง 2023

ในการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 9 ครั้ง มีชาติที่ชนะในการแข่งขัน 5 ชาติ คือทีมชาติสหรัฐ ชนะ 4 ครั้ง, ทีมชาติเยอรมนี ชนะ 2 ครั้ง และ ทีมชาตินอร์เวย์, ทีมชาติญี่ปุ่น และทีมชาติสเปน ชนะ 1 ครั้ง

ประวัติ[แก้]

ขยายเป็น 32 ทีม[แก้]

ในช่วงเริ่มต้นการแข่งขันในปี ค.ศ. 1991 มีโควต้าในการแข่ง 12 ทีม ต่อมาได้มีการขยายเป็น 16 ทีมในปี ค.ศ. 1999 จากนั้นขยายเป็น 24 ทีมในปี ค.ศ. 2015 และขยายเป็น 32 ทีมในปี ค.ศ. 2023 โดยโควต้าของแต่ละทวีปในปัจจุบันมีดังนี้

เจ้าภาพ[แก้]

แผนที่เจ้าภาพฟุตบอลโลกหญิงระหว่าง 1991-2023 เขียว: หนึ่ง; เขียวเข้ม: สอง; เขียวอ่อน: มีแผน

การแข่งขัน[แก้]

ปี เจ้าภาพ ชนะเลิศ คะแนน รองชนะเลิศ อันดับสาม คะแนน อันดับสี่
ฟุตบอลโลกหญิง 1991 จีน จีน สหรัฐ สหรัฐ 2–1 นอร์เวย์ นอร์เวย์ สวีเดน สวีเดน 4–0 เยอรมนี เยอรมนี
ฟุตบอลโลกหญิง 1995 สวีเดน สวีเดน นอร์เวย์ นอร์เวย์ 2–0 เยอรมนี เยอรมนี สหรัฐ สหรัฐ 2–0 จีน จีน
ฟุตบอลโลกหญิง 1999 สหรัฐ สหรัฐ สหรัฐ สหรัฐ 0–0
ซัดเดนเดธ
(5–4)
ลูกโทษ
จีน จีน บราซิล บราซิล 0–0
ซัดเดนเดธ
(5–4)
ลูกโทษ
นอร์เวย์ นอร์เวย์
ฟุตบอลโลกหญิง 2003 เยอรมนี เยอรมนี 2–1
ซัดเดนเดธ
สวีเดน สวีเดน สหรัฐ สหรัฐ 3–1 แคนาดา แคนาดา
ฟุตบอลโลกหญิง 2007 จีน จีน 2–0 บราซิล บราซิล 4–1 นอร์เวย์ นอร์เวย์
ฟุตบอลโลกหญิง 2011 เยอรมนี เยอรมนี ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 2–2
(3–1)
ลูกโทษ
สหรัฐ สหรัฐ สวีเดน สวีเดน 2–1 ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ฟุตบอลโลกหญิง 2015 แคนาดา แคนาดา สหรัฐ สหรัฐ 5–2 ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น อังกฤษ อังกฤษ 1–0
ซัดเดนเดธ
เยอรมนี เยอรมนี
ฟุตบอลโลกหญิง 2019 ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2–0 เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สวีเดน 2–1 อังกฤษ อังกฤษ
ฟุตบอลโลกหญิง 2023 ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
สเปน สเปน 1–0 อังกฤษ อังกฤษ สวีเดน สวีเดน 2–0 ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด

ผลการแข่งขันที่ผ่านมา[แก้]

ทีม ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับสาม อันดับสี่ รวม
สหรัฐ สหรัฐ 4 (1991, 1999, 2015, 2019) 1 (2011) 3 (1995, 2003, 2007) - 8
เยอรมนี เยอรมนี 2 (2003, 2007) 1 (1995) - 2 (1991, 2015) 5
นอร์เวย์ นอร์เวย์ 1 (1995) 1 (1991) - 2 (1999, 2007) 4
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 1 (2011) 1 (2015) - - 2
สเปน สเปน 1 (2023) - - - 1
สวีเดน สวีเดน - 1 (2003) 4 (1991, 2011, 2019, 2023) - 5
อังกฤษ อังกฤษ - 1 (2023) 1 (2015) 1 (2019) 3
บราซิล บราซิล - 1 (2007) 1 (1999) - 2
จีน จีน - 1 (1999) - 1 (1995) 2
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ - 1 (2019) - - 1
แคนาดา แคนาดา - - - 1 (2003) 1
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส - - - 1 (2011) 1
ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย - - - 1 (2023) 1

รางวัลฟุตบอลโลกหญิง[แก้]

เมื่อจบการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในแต่ละปี จะมีการจัดรางวัลให้กับทีมและผู้เล่นในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันมี 5 รางวัล

  • รางวัลบอลทองคำ สำหรับผู้เล่นยอดเยี่ยม พิจารณาจากการลงคะแนนของสมาชิกสื่อมวลชน และรางวัลบอลเงินและบอลทองแดง ให้กับผู้เล่นยอดเยี่ยมอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ
  • รางวัลทีมที่เล่นขาวสะอาด สำหรับทีมเล่นที่มีสถิติการเล่นขาวสะอาดที่สุด นับจากระบบการให้คะแนนและเกณฑ์ของคณะกรรมการการเล่นอย่างขาวสะอาดของฟีฟ่า
  • รางวัลทีมที่น่าสนใจ หรือทีมที่เล่นได้สนุกที่สุด สำหรับทีมที่ให้ความบันเทิงกับผู้ชมมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก ตัดสินจากแบบสำรวจจากผู้ชม

การบันทึกและสถิติ[แก้]

สุดยอดผู้ทำแต้มของระยะเวลาทั้งหมด[แก้]

อันดับ ผู้เล่น ประตู
1 บราซิล Marta 17
2 เยอรมนี Birgit Prinz 14
สหรัฐ Abby Wambach
4 สหรัฐ Michelle Akers 12
5 บราซิล Cristiane 11
จีน Sun Wen
เยอรมนี Bettina Wiegmann
8 แคนาดา Christine Sinclair 10
นอร์เวย์ Ann Kristin Aarones
สหรัฐ Carli Lloyd

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]