ข้ามไปเนื้อหา

เดวิสคัพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดวิสคัพ
การแข่งหรือฤดูกาลปัจจุบัน:
เหตุการณ์กีฬาปัจจุบัน เดวิสคัพ 2025
กีฬาเทนนิส
ก่อตั้ง1900; 125 ปีที่แล้ว (1900)
ผู้ก่อตั้งดไวท์ เอฟ. เดวิส
จำนวนทีม155 (ค.ศ. 2023)
ประเทศประเทศสมาชิกสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ
ทวีปทั่วโลก
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน อิตาลี
(ครั้งที่ 3)
ทีมชนะเลิศสูงสุด สหรัฐ
(32 ครั้ง)
เว็บไซต์daviscup.com
พิธีเปิดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเดวิสคัพปี 2018

การแข่งขันกีฬาเทนนิสเดวิสคัพ (อังกฤษ: Davis Cup) เป็นการแข่งขันเทนนิสประเภททีมระดับนานาชาติชั้นนำ ดำเนินการโดยสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ITF) และมีการแข่งขันเป็นประจำทุกปีระหว่างทีมจากกว่า 150 ประเทศที่เป็นคู่แข่งขัน ทำให้เป็นการแข่งขันกีฬาประเภททีมประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1] ผู้จัดงานอธิบายว่า "World Cup of Tennis" และผู้ชนะจะเรียกว่า แชมป์โลก[2] การแข่งขันเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1900 เป็นการแข่งขันระหว่าง บริเตนใหญ่ และ สหรัฐ ภายใน ปี ค.ศ. 2023 มี 155 ชาติเข้าร่วมการแข่งขัน[3]

ประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน ได้แก่ สหรัฐ (ชนะ 32 ครั้งและจบอันดับรองชนะเลิศ 29 ครั้ง) และ ออสเตรเลีย (ชนะ 28 ครั้ง รวมอีก 6 ครั้ง ที่รวมทีมกับนิวซีแลนด์ในฐานะออสตราเลเซีย และจบอันดับรองชนะเลิศ 21 ครั้ง) ทีมชนะเลิศปัจจุบันคือ อิตาลี ครองชนะเลิศสมัยที่สามในปี ค.ศ. 2024

รายการแข่งขันประเภทหญิงที่เทียบเท่าเดวิสคัพคือ บิลลี จีน คิง คัพ ซึ่งเดิมชื่อ เฟดเดอเรชันคัพ (พ.ศ. 2506–2538) และเฟดคัพ (พ.ศ. 2538–2563) ออสเตรเลีย, แคนาดา, รัสเซีย, สาธารณรัฐเช็ก และสหรัฐเป็นประเทศเดียวที่คว้าแชมป์เดวิสคัพและเฟดคัพในปีเดียวกัน

เดวิสคัพอนุญาตให้เฉพาะมือสมัครเล่นและผู้เล่นมืออาชีพที่ลงทะเบียนในนามทีมชาติ (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968) ลงแข่งขันได้จนถึงปี ค.ศ. 1973 ห้าปีหลังจากการเริ่มต้นของยุคโอเพน[4]

ข้อมูลเมื่อ กันยายน ค.ศ. 2022 รัสเซียและเบลารุสถูกระงับเนื่องจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย[5]

สถิติผลการแข่งขัน

[แก้]
ประเทศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ
 สหรัฐ[a] 1900, 1902, 1913, 1920, 1921, 1922, 1923, 1924, 1925, 1926, 1937, 1938, 1946, 1947, 1948, 1949, 1954, 1958, 1963, 1968, 1969, 1970, 1971, 1972, 1978, 1979, 1981, 1982, 1990, 1992, 1995, 2007 (32) 1903, 1905, 1906, 1908, 1909, 1911, 1914, 1927, 1928, 1929, 1930, 1932, 1934, 1935, 1939, 1950, 1951, 1952, 1953, 1955, 1956, 1957, 1959, 1964, 1973, 1984, 1991, 1997, 2004 (29)
 ออสตราเลเชีย
 ออสเตรเลีย[a]
1907, 1908, 1909, 1911, 1914, 1919, 1939, 1950, 1951, 1952, 1953, 1955, 1956, 1957, 1959, 1960, 1961, 1962, 1964, 1965, 1966, 1967, 1973, 1977, 1983, 1986, 1999, 2003 (28) 1912, 1920, 1922, 1923, 1924, 1936, 1938, 1946, 1947, 1948, 1949, 1954, 1958, 1963, 1968, 1990, 1993, 2000, 2001, 2022, 2023 (21)
 ฝรั่งเศส[a] 1927, 1928, 1929, 1930, 1931, 1932, 1991, 1996, 2001, 2017 (10) 1925, 1926, 1933, 1982, 1999, 2002, 2010, 2014, 2018 (9)
 British Isles
 บริเตนใหญ่[a]
1903, 1904, 1905, 1906, 1912, 1933, 1934, 1935, 1936, 2015 (10) 1900, 1902, 1907, 1913, 1919, 1931, 1937, 1978 (8)
 สวีเดน 1975, 1984, 1985, 1987, 1994, 1997, 1998 (7) 1983, 1986, 1988, 1989, 1996 (5)
 สเปน[a] 2000, 2004, 2008, 2009, 2011, 2019 (6) 1965, 1967, 2003, 2012 (4)
 อิตาลี[a] 1976, 2023, 2024 (3) 1960, 1961, 1977, 1979, 1980, 1998 (6)
 รัสเซีย[a]
RTF[b]
2002, 2006, 2020-21 (3) 1994, 1995, 2007 (3)
 เยอรมนีตะวันตก[a]
 เยอรมนี[a]
1988, 1989, 1993 (3) 1970, 1985 (2)
 เชโกสโลวาเกีย[a]
 เช็กเกีย[a]
1980, 2012, 2013 (3) 1975, 2009 (2)
 โครเอเชีย 2005, 2018 (2) 2016, 2020-21 (2)
 อาร์เจนตินา 2016 (1) 1981, 2006, 2008, 2011 (4)
 เซอร์เบีย 2010 (1) 2013 (1)
 สวิตเซอร์แลนด์ 2014 (1) 1992 (1)
 แคนาดา[a] 2022 (1) 2019 (1)
 แอฟริกาใต้ 1974 (1)
 โรมาเนีย 1969, 1971, 1972 (3)
 อินเดีย 1966, 1974, 1987 (3)
 เบลเยียม 1904, 2015, 2017 (3)
 ญี่ปุ่น 1921 (1)
 เม็กซิโก 1962 (1)
 ชิลี 1976 (1)
 สโลวาเกีย 2005 (1)
 เนเธอร์แลนด์ 2024 (1)
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 คว้าแชมป์ทั้งเดวิสคัพและจูเนียร์เดวิสคัพ
  2. ทีมจากรัสเซียไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อ ธง หรือเพลงชาติของรัสเซียในปี 2021 โดยชนะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในฐานะทีมของสหพันธ์เทนนิสรัสเซีย (RTF) และใช้ธงของ RTF

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Davis Cup History". ITF. สืบค้นเมื่อ 4 February 2024.
  2. "Andy Murray wins Davis Cup for Great Britain". BBC Sport. 23 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
  3. "Davis Cup Format". www.daviscup.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2016. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016. In 2023, 155 nations entered Davis Cup by Rakuten
  4. "40 Years Ago: Look Out, Cleveland". www.tennis.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 5 December 2019.
  5. "Davis Cup – Rankings". www.daviscup.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 22 March 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]