ไอโอเอส
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ผู้พัฒนา | แอปเปิล |
---|---|
เขียนด้วย | C, C++, อ็อบเจกทีฟ-ซี, จาวา (มีข้อพิพาท) |
ตระกูล | แมคโอเอสเท็น, ยูนิกซ์ |
สถานะ | ยังให้บริการอยู่ |
รูปแบบ รหัสต้นฉบับ | ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ |
วันที่เปิดตัว | 29 มิถุนายน 2007 |
รุ่นเสถียร | แม่แบบ:Latest preview software release/iOS/iOS 17 |
ภาษาสื่อสาร | 40 ภาษา[1][2] |
ตัวจัดการ แพกเกจ | แอปสโตร์ (ไอโอเอส) |
แพลตฟอร์ม ที่รองรับ | ARM (ไอโฟน, ไอพอด, ไอแพด, ไอแพดมินิ, และรุ่น 2 หรือสูงกว่า แอปเปิลทีวี), Apple A4, Apple A5, Apple A5X, Apple A6, Apple A6X |
ชนิดเคอร์เนล | แบบผสม (XNU) |
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยาย | Cocoa Touch (มัลติทัช, GUI) |
สัญญาอนุญาต | จำกัดสิทธิ์ EULA ยกเว้นชิ้นส่วนโอเพนซอร์ส |
เว็บไซต์ | apple |
ไอโอเอส (ชื่อเดิมคือ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน ค.ศ. 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 2.1 ล้าน แอปพลิเคชัน และ 1 ล้านแอพที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 1.3 แสนล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 28% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี ค.ศ. 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012
ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบา ๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่าง ๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ
ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอปพลิเคชันเฟรมเวิร์คต่าง ๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล
ในงาน WWDC 2019 ไอโอเอส 13 ที่จะอัปเดทในไอแพด ได้แยกจากที่จะแตกต่างไปจากไอโอเอสคือไอแพดโอเอส ซึ่งเป็นนัยถึงการแยกระบบปฏิบัติการที่จะแตกต่างไปจากไอโอเอสซึ่งใช้สำหรับในไอแพด
รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุก ๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปล่อยตัว iOS 18 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 ในงาน WWDC 2024
ไอโอเอสแต่ละรุ่น
[แก้]รุ่น | เปิดตัวครั้งแรก | รายละเอียดหลัก [3] |
---|---|---|
1 | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 | เปิดตัวพร้อมกับ iPhone 2G รุ่นแรก โดยใช้ชื่อว่า iPhone OS |
2 | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 3G และ iPod Touch ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรก ทั้งยังรองรับ App store เป็นครั้งแรก |
3 | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 3GS สามารถคัดลอกและวางข้อความ และส่ง MMS ได้ |
4 | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 4 เป็นรุ่นแรกที่ใช้ชื่อว่า iOS อย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า iOS 4 โดยเป็นเวอร์ชันแรกที่ iPhone รุ่นแรกไม่รองรับ ในรุ่นนี้รองรับฟังก์ชันมากมาย อาทิ Multitasking เป็นต้น และในรุ่น 4.2.1 เป็นรุ่นแรกที่เริ่มใช่งานใน ไอแพด ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรก |
5 | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 4S รุ่นนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าตาของฟังก์ชันพื้นฐาน และรองรับระบบต่างๆมากมาย อาทิ ไอคลาวด์ และ สิริ เป็นต้น |
6 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 5 และไอพอดทัช รุ้นที่ 5 เปลี่ยนไปใช้ระบบแผนที่ของ TomTom, สามารถ Facetime ผ่านระบบเซลลูล่าร์, การถ่ายภาพแบบพาโนรามา, คีย์บอร์ดภาษาไทยแบบ 4 แถว, แอปพลิเคชันนาฬิกาสำหรับ iPad |
7 | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | เปลี่ยนส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ใหม่ทั้งหมดให้เป็นแบบเรียบง่าย เพิ่มสถานีวิทยุไอจูนส์ ศูนย์การตั้งค่าด่วน บริการส่งไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ของแอปเปิลผ่านแอร์ดรอป และเสริมความสามารถของซีรี (อังกฤษ: Siri) หรือที่แผลงเป็น สิริ |
8 | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 | เพิ่มไอคลาวด์ไดรฟ์ การแจ้งเตือนแบบอินเตอร์แอกทีฟ การสนับสนุนแป้นพิมพ์จากผู้พัฒนาอื่นนอกเหนือแอปเปิล การแบ่งปันข้อมูลในอุปกรณ์ของแอปเปิลภายในครอบครัว และระบบการค้นหาใหม่ |
9 | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 | ปรับปรุง Siri ให้มีความแม่นย้ำมากขึ้นกว่าเดิม , เปลี่ยนแอปพลิเคชัน จาก Passbook เป็น Wallet , เพิ่มแอปพลิเคชัน News , ปรับปรุงอินเทอร์เฟส Multitasking และอื่นๆ
- สำหรับ iPad โดยเฉพาะ : เพิ่มฟีเจอร์ QuickType keyboard , เพิ่มการรองรับ Slide Over , เพิ่มการรองรับ รูปภาพข้างในรูปภาพ (Picture in Picture) และ เพิ่มการรองรับ Split View
|
10 | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | - เปลี่ยนหน้าตา Lock Screen ใหม่ พร้อมฟังค์ชั่น Raise To Wake โดยใช้ Apple M9 คอยตรวจการเคลื่อนไหวของตัวเครื่อง , เปลี่ยนเสียงเอกเฟคบางส่วน , เปลี่ยนหน้าตา Control Center , เปลี่ยนหน้าตาแอพต่างๆ เช่น Apple Music News Maps
- ปรับปรุงการใช้ 3D Touch , ปรับปรุง QuickType - สามารถลบแอพที่มาพร้อมกับ iOS ได้แล้ว , การแจ้งเตือน สามารถลบออกทั้งหมดได้ในแตะครั้งเดียว - เพิ่มลูกเล่นสำหรับแอพ Messages , Photos - เพิ่มแอพใหม่ Home - เพิ่มฟังค์ชั่นการตรวจสอบเบอร์โทรเป็นสแปม , VoIP ทำได้บนแอพโทรศัพท์ได้แล้ว |
11 | 19 กันยายน พ.ศ. 2560 | ใน ไอโอเอส 11 มีการออกแบบหน้าตาของระบบ โปรแกรม และไอคอนใหม่ โดยมีการปรับปรุงให้ใช้งานง่ายและสะดวกมากขึ้น เช่น Control Center Notification Calculator App Store เป็นต้น
-ปรังปรุง Siri ทั้งไอคอน หน้าจอ เสียง หรือความฉลาดที่มากขึ้น -เพิ่มแอปฯ Files[4] |
12 | 17 กันยายน พ.ศ. 2561 | ปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวเครื่องให้เปิดแอพได้เร็วขึ้น , เพิ่ม Screen Time , รองรับแอพที่ทำด้วย ARKit 2 , รองรับการใช้แผนที่จากแอพฯภายนอก บน Carplay ได้ |
13 | 4 มิถุนายน 2562 | - เพิ่ม Dark mode สำหรับใช้งานตอนกลางคืน
- ปรับปรุง Portrait Lightning ให้ดียิ่งขึ้น - สามารถหมุนและปรับการสะท้อนของวีดีโอ - แอพกล้องสามารถแต่งรูปภาพโดยใช้แสงและสี โดยเครื่องมือมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น - แยก iPad ออกจาก iOS โดยตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ในชื่อ iPadOS - เพิ่มการใช้งานการลงชื่อเข้าสู่ระบบ โดยใช้อีเมลและรหัสผ่านของแอปเปิลเอง (Sign in with Apple) - ปรับปรุง Siri ให้มีเสียงพูดที่ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น - สามารถนำ Memoji ส่งเป็นสติกเกอร์ในแอพ iMessage |
14 | 23 มิถุนายน 2563 | - เพิ่มวิดเจ็ตที่สามารถแสดงข้อมูลจากแอปพลิเคชันต่างๆ บนหน้าจอโฮมได้
- เพิ่มหน้า App Library ที่จะแบ่งกลุ่มของแอพลิเคชั่นในเครื่องตามฟังก์ชันโดยอัตโนมัติ |
15 | 20 กันยายน 2564 | - เพิ่มระบบ "SharePlay" สำหรับ FaceTime โดยเป็นการแชร์ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์, หน้าจอ และเพลง
- เพิ่มระบบ "แชร์กับคุณ" ที่จะเป็นการส่งต่อข้อความไป-มาระหว่างแอปต่าง ๆ ได้ - ปรบปรุง Meemmoji ให้ดียิ่งขึ้น มีการเพิ่มเสื้อผ้าเข้ามาและเครื่องประดับอีกมากมาย - เพิ่มระบบโฟกัส ซึ่งมีการทำงานคล้ายระบบ "ห้ามรบกวน" โดยผู้ใช้จะเลือกช่วงเวลาที่โฟกัสกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ระบบนี้จะช่วยกรองการแจ้งเตือนต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่รบกวนผู้ใช้ตามช่วงเวลาที่เลือกไว้ - การปรับปรุงระบบอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นไป |
16 | 12 กันยายน 2565 | - เพิ่มระบบการตกแต่งหน้าจอ Lock Screen
- ปรับหน้าจอล็อกและสามารถปรับลุคและอารมณ์และเชื่อมต่อกับ Focus ได้ - แสดงบางแอปที่หน้าล็อก Lock Screen - แอปสภาพอากาศ - Visual Look Up เพิ่มความสามารถใหม่ไดคัทรูปได้ - แอปแปลภาษาสามารถรองรับภาษาไทย - Live Text รองรับไฟล์วีดีโอ - จัดระบบแสดงผล Notification ใหม่ - เพิ่มแอป Fitness - แอปสุขภาพเพิ่มฟีเจอร์การทานยา - เพิ่มการแชร์กลุ่มแท็บของ Safari - แอปข้อความ เพิ่มความสามารถแก้ไขข้อความและยกเลิกการส่งได้ - แอปเมลปรับปรุงใหม่ - ดูรหัส Wi-fi ที่เชื่อมต่อ - การปรับปรุงระบบเพิ่มเติม ให้ดียิ่งไป |
17 | 18 กันยายน 2566 | - เพิ่มฟีเจอร์ Name Drop และ StandBy Mode
- แอปข้อความปรับปรุงหน้าตาแอปและเพิ่มในการสร้าง Sticker - สร้าง Live Sticker - การปรับปรุงระบบเพิ่มเติม ให้ดียิ่งไป |
18 | กันยายน 2567 | ปรับปรุงแต่ไอคอนสีแอปให้อิสระ |
ฟังค์ชั่นต่างๆที่รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ
[แก้]ดูเพิ่มเติมได้ที่ : รายการฟังค์ชั่นที่รองรับอุปกรณ์บน iOS
ช่วงเวลาต่าง ๆ บนในแต่ละรุ่นกับ iOS
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Apple – iPad Pro – Specs". Apple. สืบค้นเมื่อ October 24, 2015.
- ↑ "Apple – iPad mini – View the technical specifications for iPad mini". Apple. สืบค้นเมื่อ October 29, 2012.
- ↑ "AppleForward". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.
- ↑ iOS 11 เปิดให้อัปเดตอย่างเป็นทางการแล้ว มีอะไรใหม่?
- ↑ Apple Inc., Newsroom Archive - Apple, Retrieved June 7, 2018.
- ↑ Mactracker (mactracker.ca), Apple Inc. model database, version as of 26 July 2007.