แอร์พอดโปร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์พอดโปร
แอร์พอดโปรหนึ่งคู่
ผู้พัฒนาApple Inc.
ผู้ผลิตApple Inc.
ตระกูลแอร์พอด
ชนิดหูฟังไร้สาย
วางจำหน่าย
  • 30 ตุลาคม 2019; 4 ปีก่อน (2019-10-30)
ราคาเบื้องต้น
ชิพ
การรับเข้าแอร์พอดโปร (ต่อข้าง)
ไมโครโฟนคู่แบบบีมฟอร์มมิ่ง, ไมโครโฟนที่หันเข้าด้านใน, เซ็นเซอร์คู่แบบออปติคอล, อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว, และเซ็นเซอร์แรงกด
การเชื่อมต่อแอร์พอดโปร (ต่อข้าง)
Bluetooth 5
เคสชาร์จ
พอร์ตLightning
Qi
มิติแอร์พอดโปร (ต่อข้าง)
21.8 x 24 x 30.9 มม.
(0.86 x 0.94 x 1.22 นิ้ว)
เคสชาร์จ:
45.2 x 21.7 x 60.6 มม.
(1.78 x 0.85 x 2.39 นิ้ว)[1]
น้ำหนักแอร์พอดโปร (ต่อข้าง)
5.4 กรัม (0.19 ออนซ์)
เคสชาร์จ
45.6 กรัม (1.61 ออนซ์)
เว็บไซต์www.apple.com/th/airpods-pro/


แอร์พอดโปร (อังกฤษ: AirPods Pro) เป็นหูฟังบลูทูธไร้สายที่สร้างโดยแอปเปิล ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 [2][3] เป็นหูฟังไร้สายระดับกลางของแอปเปิลที่ขายควบคู่ไปกับแอร์พอดระดับล่าง และแอร์พอดแมกซ์ระดับสูงสุด

แอร์พอดโปรใช้ชิพ H1 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่พบในแอร์พอดรุ่นที่สอง แต่เพิ่มคุณสมบัติการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ, โหมดฟังเสียงภายนอก, การตั้งค่าโปรไฟล์ความถี่อัตโนมัติ, การทนน้ำ IPX4, เคสสำหรับชาร์จที่ชาร์จแบบไร้สาย และหูฟังซิลิโคนที่ถอดเปลี่ยนได้[4]

ภาพรวม[แก้]

แอปเปิลเปิดตัวแอร์พอดโปรในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2562 และเริ่มจัดจำหน่ายสองวันให้หลังในวันที่ and 30 ตุลาคม พ.ศ.2562[4] โดยแอร์พอดโปรนั้นมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกับแอร์พอดปกติ อาทิเช่นไมโครโฟนที่กรองเสียงพื้นหลังออกไปได้, อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว, เซ็นเซอร์แบบออปติคอลที่จะตรวจการจัดวางในช่องหูที่ทำให้แอร์พอดโปรสามารถหยุด หรือเล่นเพลงต่อเมื่อนำแอร์พอดโปรออกหรือเข้ากับหูตามลำดับ และเซ็นเซอร์แรงกดที่ตรวจจับแรงกดสำหรับการควบคุมสื่อที่เล่น และการตัดเสียงรบกวน[5] แอร์พอดโปรถูกจัดระดับการทนน้ำที่ IPX4[1]

แอร์พอดโปรใช้ชิพ H1 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่พบในแอร์พอดรุ่นที่สอง ซึ่งรองรับการถาม "หวัดดี Siri" แบบแฮนด์ฟรีได้ โดยแอร์พอดโปรนั้นมีคุณสมบัติการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ ซึ่งอาศัยการทำงานของไมโครโฟนที่จะตรวจจับเสียงภายนอกหูฟัง และลำโพงที่ผลิตสัญญาณต้านเสียงรบกวนที่หักล้างเสียงภายนอกได้ โดยสามารถปิดการตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ หรือเปิด"โหมดฟังเสียงภายนอก" ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับฟังเสียงรอบข้างได้ โดยสามารถเปลี่ยนโหมดต่าง ๆ เหล่านี้ได้บนอุปกรณ์ที่ใช้ iOS, WatchOS, iPadOS หรือMacOS หรือทำได้โดยการบีบเซนเซอร์แรงกดที่อยู่ในบริเวณก้านของแอร์พอดโปรฝได้เช่นกัน[6]

ชิพ H1 นั้นฝังอยู่ในโมดูล system in a package (SiP) แบบเฉพาะที่หุ้มส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่นตัวประมวลผลเสียง และอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว[7]

อายุการใช้งานแบตเตอรี่นั้นจะเท่ากับแอร์พอดรุ่นที่สองที่ 5 ชั่วโมง แต่การเปิดใช้การตัดเสียงรบกวนแบบแอ็คทีฟ หรือโหมดฟังเสียงภายนอกนั้นจะลดเวลาการใช้งานเหลือเพียง 4.5 ชั่วโมงเนื่องจากการประมวลผลที่มากขึ้น[8] กล่องชาร์จนั้นได้รับการโฆษณาที่ 24 ชั่วโมงสำหรับการฟัังทั้งสิ้น เช่นเดิมเหมือนกล่องชาร์จของแอร์พอดธรรมดา และยังมีคุณสมับติการในการชาร์จแบบไร้สายมาตรฐาน Qi[8] เช่นเดียวกับแอร์พอดปกติ แอร์พอดโปรได้รับการวิจารณ์ถึงอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่สั้นเช่นกัน[9]

แอร์พอดโปรภายในเคสชาร์จ

แอร์พอดโปรมาพร้อมกับจุกหูฟังซิลิโคน 3 ขนาด และมีซอร์ฟแวร์บน iOS และ iPadOS ที่สามารถทดสอบความพอดีของจุกหูฟังแอร์พอดโปร เพื่อหาขนาดของจุกหูฟังที่แนบสนิดพอดีและเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดเสียงรบกวน และคุณภาพของเสียงให้ดีกว่า และคุณสมบัติที่มีชื่อว่า "EQ แบบปรับได้เอง" ซึ่งจะปรับรูปร่างความถี่ได้โดยอัตโนมัติ และอ้างว่าจะสามารถปรับแต่งเสียงเพลงให้เหมาะสมกับรูปทรงภายในช่องหูเพื่อให้เสียงที่ได้ยินนั้นเต็มอิ่มมากขึ้น[4] โดยตั้นแต่ช่วงต้นปี 2563 แอปเปิลเริ่มจำหน่ายจุกหูฟังสำหรับเปลี่ยนในหน้าเว็บไซต์ของแอปเปิล[10]

ด้วย iOS 14 และ iPadOS 14, เเอปเปิลได้เพิ่มโหมด "เสียงตามตำแหน่ง" ที่ออกแบบมาเพื่อจำลอง 5.1 surround sound[11] เสียงตามตำแหน่งนั้นต้องการไอโฟนหรือไอแพดที่ใช้ชิพ Apple A10 หรือใหม่กว่า[12] tvOS 15 จะนำโหมดเสียงตามตำแหน่งมายัง Apple TV 4K[13]

ภาพประกอบของ SiP H1
SiP จากด้านบน แสดงเห็นถึงส่วนที่หุ้มส่วนประมวลผลเสียง
SiP จากด้านล่าง, แสดงให้เห็นถึงส่วนที่หุ้มชิพ H1 enclosure , เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว 2 ตัว, ขั้วต่อเสาอากาศบลูทูธ และพื้นที่สำหรับการติดสายอ่อนตัวไปยังส่วนประกอบอื่น ๆ ของหูฟัง

ความเข้ากันได้[แก้]

การรองรับสำหรับแอร์พอดโปรนั้นเพิ่มเข้ามาใน iOS 13.2, watchOS 6.1, tvOS 13.2, และ macOS Catalina 10.15.1.[8][6] แอร์พอดยังสามารถรองรับอุปกรณ์ใด ๆ ที่มี Bluetooth, ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์ Windows และ Android, ซึ่งคุณสมบัติบางประการจะไม่พร้อมให้ใช้งาน อาทิเช่นการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออย่างอัตโนมัติ ซึ่งจะรองรับบนอุปกรณ์ของแอปเปิลที่ใช้บริการ iCloud เท่านั้นเป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "AirPods Pro - ข้อมูลทางเทคนิค". Apple. สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.
  2. Axon, Samuel (28 October 2019). "Apple announces AirPods Pro". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  3. Welch, Chris (28 October 2019). "Apple announces AirPods Pro with noise cancellation, coming October 30th". The Verge. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 "AirPods Pro". Apple. สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.
  5. Cipriani, Jason. "The 9 new AirPods Pro tricks you need to master now". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-03.
  6. 6.0 6.1 Mihalcik, Carrie. "AirPods Pro are $249, might actually fit in your ears and available Oct. 30". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  7. Dube, Belinda (2020-03-11). "Advanced System in Package Technology in the Apple AirPods Pro" (PDF). System Plus Consulting (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
  8. 8.0 8.1 8.2 Lee, Dami (2019-10-28). "Apple releases iOS 13.2 with support for AirPods Pro and iPhone 11 Deep Fusion". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  9. Eadicicco, Lisa. "Samsung is launching a new pair of wireless earbuds, and it sounds like they will have one big advantage over Apple's AirPods". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2020-02-11.
  10. Statt, Nick (2020-04-15). "Apple now sells AirPods Pro tip replacements on its website". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
  11. "Which Apple Devices and Video Services Support 'Spatial Audio' on AirPods Pro?". Lifehacker Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
  12. "Listen with spatial audio for AirPods Pro". Apple Support (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-21.
  13. Espósito, Filipe (2021-06-16). "Comment: tvOS 15 is a small update, but it brings two important new features to Apple TV". 9to5Mac (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.