แมคโอเอส ไฮ ซีร่า
macOS High Sierra | |
---|---|
ส่วนหนึ่งในตระกูลแมคโอเอส | |
![]() | |
ผู้พัฒนา | |
แอปเปิล | |
เว็บไซต์ | https://www.apple.com/macos/high-sierra-preview/ |
เปิดตัว | |
วันที่เปิดตัว | พ.ศ. 2560[ต้องการอ้างอิง] |
รูปแบบ รหัสต้นฉบับ | Proprietary software/Closed source (บางส่วนเป็น ซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์ส) |
ลิขสิทธิ์ | APSL และ Apple EULA |
ชนิดเคอร์เนล | Hybrid |
สถานะการสนับสนุน | |
อยู่ระหว่างการพัฒนา |
แมคโอเอส ไฮ ซีร่า (อังกฤษ: macOS High Sierra) เป็นระบบเป็นระบบปฏิบัติการแมคโอเอสรุ่นที่ 14 ต่อจากรุ่น แมคโอเอส ซีร่า โดยเวอร์ชันนี้ จะไปเน้นที่เทคโนโลยีใหม่ และปรับปรุงแอพพลิเคชั่นอย่าง รูปภาพ , ซาฟารี เป็นต้น โดยได้เปิดตัวในงาน WWDC 2017 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2560
โดย High Sierra นั้นเป็นชื่อของแคมป์ในอุทยานแห่งชาติ Yosemite ในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งก่อนหน้านี้ ก็ได้ใช้ชื่อ OS X Yosemite และ macOS Sierra ไปแล้ว ถือว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเทียวในรัฐแคลิฟอร์เนียที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก[1]
ความต้องการของระบบ[แก้]
โดยแมคโอเอส ไฮ ซีร่า ได้ตั้งความต้องการของระบบเท่ากันกับรุ่นที่แล้ว (macOS Sierra) โดยต้องมีพื้นที่แรมอย่างน้อย 2 GB และพื้นที่ไม่เกิน 8 GB โดยมีเครื่องที่สามารถอัพเกรดได้ มีดังนี้[2]
- ไอแมค รุ่นปลายปี 2009 ขึ้นไป
- แมคบุ๊ก (รวมถึงรุ่นหน้าจอ Retina) รุ่นปลายปี 2009 ขึ้นไป
- แมคบุ๊กโปร รุ่นกลางปี 2010 ขึ้นไป
- แมคบุ๊กแอร์ รุ่นปลายปี 2010 ขึ้นไป
- แมค มินิ รุ่นกลางปี 2010 ขึ้นไป
- แมค โปร รุ่นกลางปี 2010 ขึ้นไป
ส่วนการเข้ารหัสและถอดรหัสวิดีโอของโค๊ด HEVC (H.265) บนฮาร์ดแวร์นั้น ต้องใช้ซีพียูอินเทลรุ่นที่ 6 หรือสูงกว่า
ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาและปรับปรุง[แก้]
โดยเน้นปรับปรุงในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ อาทิ
- บน Safari จะมีการบล็อกการเล่นวิดีโอ เมื่อวิดีโอ เล่นอัตโนมัติในระหว่างโหลดเพจ และป้องกันการติดตามจากเว็บไซต์ที่จะพยายามติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยใช้ Machine Learning เข้ามาช่วย
- บนแอพ Mail : Split View - เปิดจอหนึ่งอ่านอีเมลอีกจอเขียนอีเมลได้ , ค้นหาอีเมล top hits , ใช้พื้นที่น้อยลงกว่าเดิม 35%
- ปรับปรุงแอพ Photos
- เพิ่มการจัดหมวดหมู่ใหม่ของ Photos ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น
- สามารถค้นหาภาพโดยฟิลเตอร์ตามคีย์เวิร์ด, ประเภท หรือปัจจัยอื่น ๆ ได้
- ในโหมด People ซึ่งเป็นโหมดสำหรับการเก็บหน้าคนไว้ จะใช้ advanced neural network เข้ามาช่วยในการค้นหาหน้าคน และสามารถซิงค์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์ได้
- ระบบแต่งภาพมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีเครื่องมือ Curve, Selective Color ฯลฯ ให้ใช้งาน
- สามารถแก้ไขข้อมูลในแอพแต่งภาพอื่น ๆ ที่รองรับ เช่น Photoshop, Pixelmator แล้วซิงค์กลับมายัง Photos ได้
- ใช้ฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ Apple File System (APFS) เป็นค่าเริ่มต้น
- รองรับเข้ารหัสแบบ HEVC (H.265)
- ปรับปรุง Metal API เป็นเวอร์ชั่น 2 เพื่อเพิ่มความสามารถบนกราฟิค
- ระบบ Window Server (ระบบวาดหน้าต่างบน macOS) ได้นำ Metal มาใช้ ทำให้ระบบต่าง ๆ ใน macOS อย่างเช่น Mission Control (ระบบเลือกหน้าต่างและ Spaces) ทำงานได้รวดเร็วขึ้น
- ใช้กับการประมวลผลแบบ Machine Learning ได้
- ใช้กับกราฟิคแยกได้ (เช่น กราฟิคของ nVidia Geforce GTX 1080 Ti ที่ประกาศมารองรับแล้ว)
- รองรับการพัฒนา VR ได้เช่น Final Cut Pro X , SteamVR และตัวเอนจิน Unity , Unreal Engine[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "เปิดตัว macOS High Sierra". MacThai. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนยน 2560. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "macOS High Sierra บนเว็บ". Apple. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2560.
- ↑ "วิดีโอเปิดตัวของ macOS High Sierra บนงาน WWDC 2017". สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560.