ทิม คุก
ทิม คุก | |
---|---|
![]() คุกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 | |
เกิด | ทิโมธี โดนัลด์ คุก พฤศจิกายน 1, 1960 โรเบิร์ตสเดล รัฐแอละแบมา |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยออเบิร์น (ว.บ.) มหาวิทยาลัยดุ๊ก (บธ.ม.) |
อาชีพ | ผู้บริหารธุรกิจ |
ตำแหน่ง | ผู้บริหารซีอีโอ Apple Inc. 2011-ปัจจุบัน |
ลายมือชื่อ | |
![]() |
ทิโมธี โดนัลด์ คุก (อังกฤษ: Timothy Donald Cook) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ทิม คุก (อังกฤษ: Tim Cook) เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบันของบริษัทแอปเปิล[1] เข้าร่วมงานกับแอปเปิลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541[2] ในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส มีความรับผิดชอบหลักในการจัดการปฏิบัติการวันต่อวันที่บริษัท เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารรับช่วงต่อจาก สตีฟ จ็อบส์ ที่ประกาศลาออกไป เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และ ทิม คุกเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริษัทแอปเปิ้ล สานต่อจาก สตีฟ จ็อบส์ ที่ลาออกไป และ สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หลังได้ทำงานเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริษัทแอปเปิ้ลได้แค่ 3 เดือน
ชีวิตวัยเด็ก
[แก้]คุกเติบโตขึ้นในโรเบิร์ตสเดล รัฐแอละแบมา บิดาเป็นคนงานในอู่เรือ มารดาเป็นผู้รับจ้างทำงานบ้าน คุกสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต วิศวกรรมอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยออเบิร์น ใน พ.ศ. 2525[3] และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจากโรงเรียนธุรกิจฟูควา (Fuqua) ของมหาวิทยาลัยดุ๊ก ใน พ.ศ. 2534[4]
การทำงาน
[แก้]ทิมคุก เคยทำงานกับคอมแพคเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนจะถูกว่าจ้างโดยสตีฟ จ็อบส์ให้เข้าร่วมแอปเปิล ตอนแรก เขารับหน้าที่เป็นรองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการทั่วโลก[2] ก่อนหน้านั้น เขาเคยเป็นประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการ (chief operating officer - COO) ของแผนกตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ของ Intelligent Electronics และเคยทำงาน 12 ปี ในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็ม เป็นผู้อำนวยการ North American Fulfillment[2]
คุกได้รับชื่อเสียงจากการดึงแอปเปิลออกจากอุตสาหกรรมการผลิต โดยปิดโรงงานและโกดังทั่วโลก ซึ่งช่วยให้บริษัทลดระดับสินค้าคงคลังและปรับปรุงคุณภาพสายการผลิต ซึ่งส่งผลให้อัตราผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก[5] เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 คุกได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น COO[6]
คุกเคยเป็น CEO ชั่วคราว สองเดือนใน พ.ศ. 2547 เมื่อจ็อบส์กำลังพักฟื้นจากการผ่าตัดมะเร็งตับอ่อน ใน พ.ศ. 2552 คุกเป็น CEO ของแอปเปิลอีกครั้งเป็นเวลาหลายเดือน ขณะที่จ็อบส์ปลูกถ่ายตับ
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการบริษัทแอปเปิลอนุมัติการลาหยุดทางการแพทย์ ซึ่งจ็อบส์ร้องขอเป็นครั้งที่สาม ระหว่างนั้น คุกรับผิดชอบปฏิบัติการวันต่อวันส่วนใหญ่ ขณะที่จ็อบส์ตัดสินใจที่สำคัญ ๆ[7] หลังการลาออกของจ็อบส์ คุกเป็น CEO ของแอปเปิล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554[8] [9]
คุกยังเป็นคณะกรรมการบริษัทไนกี้ด้วย[10]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]คุกเป็นคนที่ชอบออกกำลังกายและยังชอบปีนเขาอีกด้วย และบางทีก็ไปโรงยิม เขาจะเริ่มส่งอีเมล์อย่างสม่ำเสมอ ในตอนตี 4 ครึ่ง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจะประชุมเจ้าหน้าที่ทางโทรศัพท์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสัปดาห์ที่กำลังจะถึง ในขณะกล่าวกล่าวสุนทรพจน์เมื่อปี 2553 ที่ มหาวิทยาลัยออเบิร์น คุกเน้นถึงความสำคัญของสัญชาตญาณในการชี้นำทางเลือกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา และตามด้วยการระบุว่าการเตรียมความพร้อมและการทำงานอย่างหนัก คุกยังได้บริจาคเงินจำนวนมากเพื่อการกุศลรวม $ 100,000,000 ในปี 2554
ทิม คุก ประกาศตนว่าเป็นเกย์[11][12][13] ผ่านบทความในนิตยสารบลูมเบิร์กบิซิเนส ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยคุกกล่าวในบทความว่าแม้เขาจะเปิดเผยตัวเองกับเพื่อนร่วมงานที่บริษัท และเพื่อนร่วมงานเหล่านั้นก็มิได้ปฏิบัติอย่างแตกต่างไปจากคนอื่นๆ แต่เขาก็ไม่เคยเปิดเผยรสนิยมทางเพศนี้ต่อสาธารณะจนมาถึงวันที่เขาเขียนบทความ[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Steve Jobs Resigns as CEO of Apple". Apple. August 24, 2011. สืบค้นเมื่อ August 25, 2011.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Timothy D. Cook Profile". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2011-08-27.
- ↑ Wright, Sharla (October 25, 2005). "Engineering Alumnus Named COO of Apple". Auburn University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-16. สืบค้นเมื่อ July 26, 2007.
- ↑ Love, Julia (January 14, 2009). "Fuqua grad takes reins at Apple". The Chronicle (Duke University). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ February 11, 2011.
- ↑ Lashinsky, Adam (November 10, 2008). "The genius behind Steve". CNN. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ Helft, Miguel (January 23, 2011). "The Understudy Takes the Stage at Apple". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 11, 2011.
- ↑ "Apple boss Steve Jobs takes 'medical leave'". BBC. January 17, 2011. สืบค้นเมื่อ February 11, 2011.
- ↑ "Steve Jobs resigns from Apple, Cook becomes CEO". Reuters. August 24, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-02. สืบค้นเมื่อ August 24, 2011.
- ↑ https://appleforward.com/how-did-tim-cook-become-ceo/ AppleForward
- ↑ Board of Directors เก็บถาวร 2015-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Nike.
- ↑ 11.0 11.1 "Tim Cook Speaks Up". Bloomberg. October 30, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2019. สืบค้นเมื่อ February 28, 2019.
- ↑ Correa, Armando (October 24, 2019). "Tim Cook: The Power of Diversity". People en Español (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
- ↑ Apple CEO tells Colbert why he came out as gay (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2019, สืบค้นเมื่อ August 15, 2019
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ทิม คุก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สตีฟ จอบส์ | ![]() |
![]() ประธานบริหารแอปเปิล (24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในตำแหน่ง |