ข้ามไปเนื้อหา

สุริยัน (ระบบปฏิบัติการ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยัน
สัญลักษณ์ของระบบปฏิบัติการสุริยัน
หน้าจอของระบบปฏิบัติการสุริยัน
หน้าจอของระบบปฏิบัติการสุริยัน
ผู้พัฒนาฝ่ายโอเพนซอร์ส สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ตระกูลลินุกซ์
สถานะยุติการพัฒนา
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
โอเพนซอร์ส
รุ่นเสถียร54.10rc10 / 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ภาษาสื่อสารภาษาไทย
เว็บไซต์เว็บทางการของระบบปฏิบัติการสุริยัน

สุริยัน (Suriyan) คือชื่อของระบบปฏิบัติการในลักษณะของลินุกซ์ที่ปัจจุบันพัฒนาต่อมาจากอูบุนตูโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทย พัฒนาโดยฝ่ายโอเพนซอร์ส สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า โดยจะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในรูปแบบคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพา รุ่นเสถียรล่าสุดคือ 54.10[1]

เหตุมีชื่อว่า สุริยัน นั้นเป็นเพราะมีโครงการคู่กันที่เชื่อว่า จันทรา ซึ่งเป็นโครงการรวมโปรแกรมโอเพนซอร์สของไมโครซอฟท์วินโดวส์ โดยมีการพัฒนาต่อเนื่องกว่า สุริยัน ในปัจจุบันเมื่อได้รับการยอมรับมาขึ้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไทยโอเอส

ตั้งแต่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (วันที่แจ้งข่าว) โครงการนี้ได้ยุติการพัฒนา ด้วยเหตุผลว่าสำนักงานฯ ไม่จำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ควรส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการแทน[2]

ประวัติ

[แก้]

โครงการสุริยัน ลินุกซ์ เป็นความต้องการของซิป้า ที่จะทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยลดการใช้งานซอฟต์แวร์พาณิชย์ที่ผิดกฎหมายและเป็นการลดการค่าใช้จ่ายของประเทศ สร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทย เปิดตัวโครงการครั้งแรกในงาน ICT Export 2007 จัดในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ในบูตของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซีป้า ในขณะมีเพียงแผ่นจันทราเท่านั้นที่ได้รับการแจกจ่าย ส่วนแผ่นของสุริยัน ผู้สนใจต้องทำการลงชื่อแล้วการแจกจ่ายจะดำเนินการต่อไปหลังจากแผ่นต้นแบบเสร็จแล้ว หลังจากนั้นมีทบทวนกันใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับโครงการในสายพัฒนาเพราะว่าไม่ต้องการให้ซ้ำซ้อนกับลินุกซ์ทะเลของเนคเทค

รุ่นของสุริยัน

[แก้]
  • Suriyan 52.04
  • Suriyan 52.10
  • Suriyan 53.04
  • Suriyan 53.10
  • Suriyan 54.04
  • Suriyan 54.10
  • Suriyan 55.04

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Suriyan Repository". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
  2. ทิ้งท้ายโครงการ Suriyan และ Chantra

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]