ข้ามไปเนื้อหา

เว็บโอเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บโอเอส
ผู้พัฒนาแอลจี อีเลคทรอนิคส์ Edit this on Wikidata,
Open webOS community contributors,
ก่อนหน้าฮิวเลตต์-แพคการ์ด และ ปาล์ม,
เขียนด้วยC++
ตระกูลWebOS (based on Linux kernel)
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
Open source
รุ่นเสถียร3.0.5 (tablet)
1.4.5 (Pre, Pre Plus (US), Pixi, and Pixi Plus) 2.1 (Pre Plus (UK) and Pre 2) 2.1.2 (Veer) 2.2.4 (Pre 3) (phone) / 12 มกราคม 2012; 12 ปีก่อน (2012-01-12)
ภาษาสื่อสารEnglish (US), Spanish, French, Italian and German
ภาษาโปรแกรมHTML5, C, C++
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
ARM
ชนิดเคอร์เนลMonolithic (Linux kernel)
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายGraphical (Luna)
สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู, สัญญาอนุญาตอะแพชี Edit this on Wikidata
เว็บไซต์www.webosose.org

เว็บโอเอส (อังกฤษ: WebOS หรือที่รู้จักกันในชื่อ LG webOS, Open webOS หรือ HP webOS) มีระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตทีวี[1]และอดีตเคยเป็นระบบปฏิบัติการในมือถือ[2]การพัฒนาช่วงแรกจะอยู่ในคอมพิวเตอร์พกพา ปาล์ม จากนั้นทาง HP ได้สร้างแพลตฟอร์ม open source และได้กลาย Open webOS หลังจากที่ขายระบบปฏิบัติการนี้ให้กับทาง LG ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น webOS

ประวัติ

[แก้]
โลโก้ webOS แต่ละรุ่น
Palm webOS logo
HP webOS logo
Open webOS logo

Palm WebOS เปิดตัวในเดือนมกราคม 2009 อุปกรณ์ WebOS ตัวแรกคือ Palm Pre วางจำหน่ายโดย Sprint ในเดือนมิถุนายนปี 2009 แล้วตามด้วย Palm Pixi จากนั้นรุ่นอัพเกรด Palm Pre Plus และ Palm Pixi Plus ก็ได้วางจำหน่ายบนเครือข่าย เวอไรซอนไวร์เลสส์ (Verizon) และ เอทีแอนด์ทีโมบิลิตี (AT & T)

ในเดือนเมษายนปี 2010 บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด หรือ เอชพี (HP) ได้ซื้อกิจการมาด้วยจำนวนเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทางเอชพีตั้งใจที่จะพัฒนาแพลตฟอร์ม WebOS สำหรับการใช้งานในหลายผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้ง สมาร์ทโฟน,คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต และเครื่องพิมพ์[3]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011, HP ประกาศว่าจะใช้ WebOS เป็นแพลตฟอร์มสากลสำหรับอุปกรณ์ทั้งหมด[4] อย่างไรก็ตามนอกจากนี้เอชพียังได้ตัดสินใจที่ [5]จะไม่มีการอัปเดต WebOS 2.0 ให้กับ Palm Pre, Palm Pixi รวมทั้งรุ่น Plus ของทั้งคู่ และทางเอชพียังประกาศว่าอุปกรณ์ WebOS รุ่นใหม่ซึ่งรวมทั้งสมาร์ทโฟน HP Veer และ HP Pre 3 จะทำงานบนระบบปฏิบัติการ WebOS 2.2 และ เอชพีทัชแพด แท็บเล็ตที่ปล่อยออกมาในเดือนกรกฎาคม 2011 จะทำงานบน WebOS 3.0

ในเดือนสิงหาคม 2011 HP ประกาศว่ากำลังให้ความสนใจที่จะขาย [6][7][8]แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าเอชพีจะพิจารณาออกใบอนุญาตของซอฟต์แวร์ WebOS ให้กับผู้ผลิตอื่น ๆ

ในเดือนธันวาคม 2011 หลังจากวางจำหน่ายทัชแพดและขาย WebOS ให้กับทางหุ้นส่วนไป เอชพีก็ประกาศว่าจะปล่อยซอร์สโค้ด WebOS ภายใต้ใบอนุญาต open-source ในอนาคตอันใกล้นี้[9]

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2013 เอชพีประกาศว่าจะออกใบอนุญาต WebOS ให้กับ LG Electronics สำหรับการเปิดใช้งานบนเว็บของ สมาร์ตทีวี ซึ่ง LG Electronics ได้นำ WebOS จาก เอชพี มาแทนที่แพลตฟอร์ม NetCast ที่ใช้มาก่อนหน้านี้[10][11]อย่างไรก็ตามเอชพีจะยังเป็นผู้ถือสิทธิบัตร WebOS เช่นเดียวกับบริการบนคลาวด์อย่าง App Catalog [12]แม้ WebOS จะดูเป็นรูปเป็นร่างสำหรับระบบปฏิบัติการในสมาร์ตทีวี แต่ LG ก็ไม่ได้นำระบบ WebOS มาใช้กับสมาร์ทโฟน ยังคงวัตถุประสงค์เดิมของระบบปฏิบัติการอยู่

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 แอลจีได้มีการขยายฐานช่องทางเว็บโอเอสทางสมาร์ตทีวี ให้ยี่ห้ออื่นร่วมใช้งานได้[13]

คุณสมบัติ

[แก้]
ภาพหน้าจอของ Palm WebOS (2010)
คุณลักษณะ LG webOS Open webOS HP webOS/Palm webOS
มัลติทาสกิ้งอินเตอร์เฟซ Line Cards Cards Cards
ท่าทางการควบคุม ผ่านเมจิกรีโมต ผ่านหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์ด ผ่านหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์ด
การทำงานร่วมกัน ไม่สนับสนุน ไม่สนับสนุน สนับสนุน
ร้านค้าออนไลน์ LG Store Homebrew App Catalog
การอัปเดตผ่านทางอากาศ (OTA) Yes Yes Yes
ชาร์จไร้สาย ไม่ปรากฏ ไม่ปรากฏ ใช่
ตั้งค่า / การเชื่อมต่อ ใช่ ไม่ปรากฏ ไม่ปรากฏ
การค้นหาอุปกรณ์ที่ใกล้เคียง ผ่านการ เชื่อมต่อด้วย SDK ไม่ อุปกรณ์ระยะหลังรองรับ Bonjour/ZeroConf ซึ่งเป็นเจ้าของคำว่า "Touch to Share"
Open Source ไม่ ใช่ บางโค้ดปล่อยมาภายใต้ Open webOS[14]
อุปกรณ์ / รุ่น LG Smart TVs / LG webOS มากับหลายอุปกรณ์ / Open webOS 1.0

เอชพีทัชแพด / webOS Community Edition

Pre, Pre plus, Pixi, Pixi plus / HP webOS 1.4.5[15]

Pre2, Pre3 / HP webOS 2.x.x

เอชพีทัชแพด/HP webOS 3.0.x

อินเตอร์เฟซมัลติทาสกิ้ง

[แก้]

นำร่องโดยการควบบคุมการทำงานแบบมัลติทัชบนหน้าจอสัมผัส ใช้อินเตอร์เฟซที่เรียกว่า "การ์ด" ในการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง เลือกใช้งานแอปพลิเคชันโดยการเลื่อนนิ้วบนหน้าจอจากซ้ายไปขวา และปิดการทำงานแอปโดยการเลื่อนการ์ดขึ้น ใน WebOS 2.0 การ์ดแอปพลิเคชันจะซ้อนกันเรียกว่า Stacks

การทำงานร่วม

[แก้]

ปาล์มสามารถเชื่อมข้อมูลจากหลายแหล่งเรียกว่า "การทำงานร่วม" ผู้ใช้สามารถลงชื่อเข้าใช้ได้หลายบัญชีอีเมลจากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน และเชื่อมข้อมูลทั้งหมดไว้รวมกันที่เดียว[16]

การอัปเดตผ่านทางอากาศ (OTA)

[แก้]

เว็บโอเอสสามารถอัปเดตได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะอัปเดตระบบปฏิบัติการผ่านการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการ

การแจ้งเตือน

[แก้]

การแจ้งเตือนจะตั้งอยู่ในส่วนล่างของหน้าจอบนโทรศัพท์และอยู่ในแถบสถานะด้านบนของแท็บเล็ต

ซิงโครไนเซชั่น (Synchronization)

[แก้]

โดยค่าเริ่มต้นการซิงโครไนเซชั่นข้อมูลจะใช้ระบบคลาวด์มากกว่าการใช้เดสก์ท็อปซิงค์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nandagopal Rajan (3 March 2014). "LG's WebOS could actually make people use smart features in televisions". indianexpress.com. สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
  2. "Open webOS :: Open webOS Architecture". Openwebosproject.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  3. Bajarin, Ben (30 June 2011). "HP Is Committed to Its 'WebOS' Platform (and It Should Be)". TechLand. Time. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
  4. "HP snubs Windows, plans to integrate WebOS into PCs". Digital Trends. 9 February 2011. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  5. "Thanks (really!) for the feedback". Hewlett Packard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2014-12-12.
  6. "Developing and Distributing with HP: Developer Program Details". developer.palm.com. Hewlett-Packard Development Company. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-01. สืบค้นเมื่อ 2014-12-12.
  7. "HP Confirms Discussions with Autonomy Corporation plc Regarding Possible Business Combination; Makes Other Announcements". BusinessWire. 18 August 2011. สืบค้นเมื่อ 18 August 2011.
  8. "HP kills WebOS, spins off PC business to focus on software". AppleInsider. 11 August 2011. สืบค้นเมื่อ 18 August 2011.
  9. "HP to Contribute WebOS to Open Source". Press Release: December 9, 2011. Hewlett-Packard. 9 December 2011. สืบค้นเมื่อ 10 December 2011.
  10. "Gram working with LG on an Open webOS TV". webOS Nation. 24 October 2012.
  11. "LG Electronics Acquires webOS from HP to Enhance Smart TV". Press Release: February 25, 2013. Hewlett-Packard. 25 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-24. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  12. "HP offloads Palm WebOS assets to Korea's LG". BBC. สืบค้นเมื่อ 26 February 2013.
  13. LG เปิดระบบ webOS ให้ทีวีแบรนด์อื่นใช้ด้วยได้
  14. "Open Source Packages". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ 6 April 2014.
  15. "Palm International". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-24. สืบค้นเมื่อ 15 July 2010.
  16. "Palm Unveils All-new WebOS" (Press release). Palm, Inc. 8 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-01. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.