ข้ามไปเนื้อหา

ไนทส์ออฟเวเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าจอแสดงชื่อเกมไนทส์ออฟเวเลอร์ (ค.ศ. 1999)
ผู้จัดจำหน่ายอินเตอร์เนชันแนลเกมส์ซิสเต็ม
เครื่องเล่นอาร์เคด, แอปมือถือ
วางจำหน่ายค.ศ. 1999
แนวบีตเอ็มอัป

ไนทส์ออฟเวเลอร์ (อังกฤษ: Knights of Valour) หรือชื่อจีน ซานกว๋อจ้านจี้ (จีนตัวย่อ: 三国战纪; จีนตัวเต็ม: 三國戰紀; พินอิน: Sān Guó Zhàn Jì) เป็นซีรีส์วิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปแบบฉายด้านข้างที่เผยแพร่โดยอินเตอร์เนชันแนลเกมส์ซิสเต็ม (IGS) โครงเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากสามก๊ก ซึ่งเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยล่อกวนตง และมีห้าทหารเสือ, จูกัดเหลียง, เตียวเสียน รวมถึงคนอื่น ๆ เป็นตัวละครที่เล่นได้ ส่วนรูปแบบการเล่นเกี่ยวข้องกับการใช้พลังวิเศษซึ่งไม่ได้มีอยู่ในเกมอื่น ๆ ที่อิงจากนวนิยาย

ซีรีส์นี้ประกอบด้วยเกมสิบเอ็ดเกม รวมถึงห้าเกมหลัก ได้แก่ ไนทส์ออฟเวเลอร์ (ค.ศ. 1999), ไนทส์ออฟเวเลอร์ 2 (ค.ศ. 2000), ไนทส์ออฟเวเลอร์: เดอะเซเวนสปีริตส์ (ค.ศ. 2003), ไนทส์ออฟเวเลอร์ 3 (ค.ศ. 2011) และไนทส์ออฟเวเลอร์ที่ทำใหม่ (ค.ศ. 2015) เกมต้นฉบับได้รับการพัฒนาสำหรับร้านค้าและวางจำหน่ายในภาษาจีนดั้งเดิม, จีนตัวย่อ, ญี่ปุ่น, เกาหลี และอังกฤษ เกมทั้งหมดยกเว้นสองเกมในซีรีส์นี้เดินเครื่องในฮาร์ดแวร์อาร์เคดโพลีเกมมาสเตอร์ของอินเตอร์เนชันแนลเกมส์ซิสเต็ม โดยที่ยกเว้นคือไนทส์ออฟเวเลอร์: เดอะเซเวนสปีริตส์ ซึ่งเปิดตัวในระบบอะตอมิสเวฟของแซมีคอร์ปอเรชัน และไนทส์ออฟเวเลอร์ที่ทำซ้ำแบบ 3 มิติ ซึ่งเผยแพร่ทางออนไลน์สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 4 และมือถือ

เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2014 ที่งานโตเกียวเกมโชว์ อินเตอร์เนชันแนลเกมส์ซิสเต็มได้ประกาศเปิดตัวเกมไนทส์ออฟเวเลอร์แบบ 3 มิติสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 4 ซึ่งมีการจัดแสดงตัวอย่างและให้เสียงตัวละครในเกมภาษาญี่ปุ่น เกมเล่นฟรีมีกำหนดวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2015 ในเอเชียและญี่ปุ่น[1] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 ที่งานไทเปเกมโชว์ ได้มีการประกาศว่าเกมดังกล่าวถูกเลื่อนออกไปในช่วงฤดูร้อน เกมจะสร้างรายได้จากการขายความสามารถในการเล่นต่อหลังจากที่พ่ายแพ้ และจะรองรับมากถึงสำหรับผู้เล่นออนไลน์[2]

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2015 เวอร์ชันเบตาได้รับการเผยแพร่ให้ทดลองใช้สำหรับสมาชิกเพลย์สเตชัน พลัส บนเพลย์สเตชัน 4 และดำเนินงานจนถึงวันที่ 19 มีนาคม[3]

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 มีการประกาศโดยเกมส์อินเฟรมว่าพวกเขาจะเผยแพร่เกมในยุโรปและออสเตรเลียโดยเริ่มตั้งแต่เดือนดังกล่าว[4]

ชื่อเรื่องที่ได้รับการเผยแพร่

[แก้]
ชื่อเรื่องภาษาจีน ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ระบบ ค.ศ.
ซานกว๋อจ้านจี้ ไนทส์ออฟเวเลอร์ ไอจีเอส พีจีเอ็ม 1999
ซานกว๋อจ้านจี้ เจิ้งจง พลัส ไนทส์ออฟเวเลอร์ พลัส ไอจีเอส พีจีเอ็ม 1999
ซานกว๋อจ้านจี้ - เฟิงหยุนไจ้ฉี่ ไนทส์ออฟเวเลอร์ ซูเปอร์ฮีโรส์ ไอจีเอส พีจีเอ็ม 1999
ซานกว๋อจ้านจี้ 2 ไนทส์ออฟเวเลอร์ 2 ไอจีเอส พีจีเอ็ม 2000
ซานกว๋อจ้านจี้ 2 - ฉุนสยงเจินป้า ไนทส์ออฟเวเลอร์ 2 - ไนน์ดรากอนส์ ไอจีเอส พีจีเอ็ม 2001
ซานกว๋อจ้านจี้ - ชีซิงจ่วนเชิง ไนทส์ออฟเวเลอร์ - เดอะเซเวนสปีริตส์ แซมมีอะตอมมิสเวฟ 2003
ล่วนชื่อเซียวสง ไนทส์ออฟเวเลอร์ ซูเปอร์ฮีโรส์พลัส ไอจีเอส พีจีเอ็ม 2004
ซานกว๋อจ้านจี้ 2 - เหิงเส่าเชียนจุน ไนทส์ออฟเวเลอร์ 2 - นิวเลเจนด์ ไอจีเอส พีจีเอ็ม 2 2008
ซานกว๋อจ้านจี้ 3 ไนทส์ออฟเวเลอร์ 3 ไอจีเอส พีจีเอ็ม 2 2011
ซานกว๋อจ้านจี้ 3 เอชดี ไนทส์ออฟเวเลอร์ 3 เอชดี ไอจีเอส พีจีเอ็ม 3 2012
ไนทส์ออฟเวเลอร์ เพลย์สเตชัน 4 2017

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]