วอริเออส์ออฟเฟต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วอริเออร์สออฟเฟต)
วอริเออส์ออฟเฟต
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
เครื่องเล่นอาร์เคด, เพลย์สเตชัน, เซก้า แซทเทิร์น, โฟมา ไอ-แอพไพล, แคปคอมพาวเวอร์ซิสเต็มเชนเจอร์
วางจำหน่ายอาร์เคด
  • ญี่ปุ่น: กันยายน ค.ศ. 1992
  • ไม่มีคำตอบ: พฤศจิกายน ค.ศ. 1992

เพลย์สเตชัน

เซกา แซตเทิร์น

โฟมา ไอ-แอพไพล
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบรองรับผู้เล่นได้ถึง 3 คนพร้อมกัน
ระบบอาร์เคดซีพี ซิสเต็มแดช + คิวซาวด์

วอริเออส์ออฟเฟต (อังกฤษ: Warriors of Fate)[a] เป็นวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปแบบฉายด้านข้าง ผลิตโดยแคปคอม โดยเป็นเกมตู้ภาคสองที่สร้างตามมังงะเทนชิโอะคุราอุ ต่อจากไดนาสตีวอส์ ซึ่งเดิมได้รับการเปิดตัวสู่ระบบอาร์เขตในปี ค.ศ. 1992 ส่วนเวอร์ชันประจำบ้านสำหรับเซกา แซตเทิร์น และเพลย์สเตชันได้รับการเปิดตัวในปี ค.ศ. 1996 และเวอร์ชันสำหรับโทรศัพท์มือถือในปี ค.ศ. 2005 ต่อมาทางแคปคอมได้จัดทำในเวอร์ชันอีมูเลเตอร์ในรูปแบบอาร์เขดดั้งเดิมในฐานะส่วนหนึ่งของแคปคอมบีตเอ็มอัปบันเดิล ซึ่งมีวอริเออส์ออฟเฟต ที่ได้รับการวางจำหน่ายแบบดิจิทัลสำหรับเพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโดสวิตช์, เอกซ์บอกซ์วัน และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในปี ค.ศ. 2018[1]

รูปแบบการเล่น[แก้]

รูปแบบการเล่นคนเดียวในเกมตู้ ที่อุยเอี๋ยนแสดงฝีมือ (ซึ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น อาบากา ในเวอร์ชันนานาชาติ) ซึ่งกำลังขี่ม้า และต่อสู้กับซิหลงผู้เป็นบอสที่กวัดแกว่งขวานด้ามยาวมีหอกตรงปลาย (ที่ใช้ชื่อ ไกบาตาร์ ในเวอร์ชันนานาชาติ) และบางส่วนของลูกน้องของเขาในด่านที่ 8 - "ศึกผาแดง 2", ซึ่งเป็นก่อนด่านสุดท้าย

วอริเออส์ออฟเฟตเป็นวิดีโอเกมแนวบีตเอ็มอัปที่มีเก้าด่าน แต่ละด่านประกอบด้วยกลุ่มคนจำนวนมาก รวมถึงผู้ขัดขวางที่เป็นพลหอก, พลธนู, จอมพลัง, มือปาระเบิด และบอสจากวุยก๊กอย่างน้อยหนึ่งคน โดยสามารถเล่นได้สูงสุดสามรายในเวลาเดียวกัน ซึ่งใช้ปุ่มสองปุ่ม ได้แก่ การโจมตีและการกระโดด ตัวละครทุกตัวมีการเคลื่อนไหวมาตรฐานตามแบบฉบับฉายด้านข้างของแคปคอม ศัตรูทั่วไปรวมทั้งทหารวุยก๊ก เช่น โจร, โจรสลัด, นักมวยปล้ำ, อ้ายอ้วน และขโมยจะโผล่ขึ้นมาจากทุกที่ ในตอนท้ายของแต่ละด่านจะมีขุนพลวุยก๊กเป็นบอสประจำด่าน เช่น ลิเตียน, แฮหัวตุ้น, เคาทู, เตียวเลี้ยว, โจหยิน และซิหลง ส่วนขุนพลที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างลิโป้จะปรากฏตัวในฐานะบอสสุดท้าย หลังจากเอาชนะพวกเขาทั้งหมด ก็จะมีโจโฉที่พยายามหลบหนี เกมยังมีสองด่านโบนัสที่ต้องกดปุ่มรัว ๆ

นอกจากนี้ยังมีอาวุธหลากหลายชนิดในเกมที่สามารถหยิบขึ้นมาได้ เช่นเดียวกับเกมแบบฉายด้านข้างส่วนใหญ่ อาหารถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มพลังชีวิต และสามารถพบได้ในภาชนะต่าง ๆ ที่สามารถทำลายในเกม คุณลักษณะเด่นประการหนึ่งของเกมคือความสามารถในการเรียกม้าศึกซึ่งเพิ่มการโจมตีของตัวละครมากได้ขึ้น โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับอาวุธแบบไม้ยาว (ยกเว้นคันธนูยาวสำหรับฮองตง) แต่ละตัวละครยกเว้นจูล่งมีท่าทุ่มมวยปล้ำแบบพิเศษของพวกเขาเอง เหมือนในไฟนอลไฟต์ และเดอะพันนิชเชอร์ ซึ่งแตกต่างจากไดนาสตีวอร์สที่เป็นภาคแรก ที่ไม่สามารถเล่นเป็นเล่าปี่ได้ ตัวละครที่สามารถเล่นได้คือเตียวหุย, กวนอู, จูล่ง, ฮองตง ซึ่งเป็นสี่ในห้าทหารเสือที่มีชื่อเสียง และอุยเอี๋ยน (ในเวอร์ชันสหรัฐ พวกเขามีชื่อว่าพอร์เตอร์, คัสซาร์, ซับไท, เคดัน และอาบากาตามลำดับ)[ต้องการอ้างอิง]

เนื้อเรื่อง[แก้]

ในเวอร์ชันญี่ปุ่น เทนชิโอะคุราอุ II ตามสถานการณ์ของเล่าปี่ในจิงโจวจากเรื่องสามก๊ก ซึ่งเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จากประเทศจีน มีฉากในยุคสามก๊กช่วงที่โจโฉกำลังบุกเข้าสู่ดินแดนของเขา ในวอริเออส์ออฟเฟต จ๊กก๊กที่นำโดยเล่าปี่ เช่นเดียวกับในนวนิยาย ทุกอย่างของก๊กนี้จะเป็นฝ่าย "ดี" และ "ชอบธรรม" ในขณะที่วุยก๊กที่นำโดยโจโฉผู้มีความขี้ระแวงและฉลาดแกมโกง ได้รับการพรรณาว่า "ชั่วร้าย" และ "ไม่ดี" นักรบของเล่าปี่เริ่มต้นด้วยการสู้รบกับกองกำลังของโจโฉในยุทธการที่ทุ่งพกบ๋อง ต่อมาเป็นศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว จากนั้นก็เข้าร่วมกับซุนกวนเพื่อต่อสู้ที่ศึกผาแดง หากห้าทหารเสือสังหารโจโฉ ง่อก๊กและจ๊กก๊กจะรวมพลังและรวบรวมวุยก๊กมาเป็นหนึ่งเดียว จ๊กก๊กกลับสู่การปกครองและฟื้นฟูความสงบสุข แต่หากโจโฉหนีไปได้และประวัติศาสตร์ยังคงดำเนินต่อไป ก็จะถูกแทนที่ด้วยแผ่นดินที่มีแต่ความสับสนวุ่นวายและการสิ้นสุดของจ๊กก๊ก

อย่างไรก็ตาม ในเวอร์ชันอังกฤษฉบับดัดแปลง รูปแบบของสามก๊กก็ได้หายไปและชื่อส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนเป็นชื่อของชาวมองโกล โดยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในดินแดนแห่งจินตนาการที่เจ้าศักดินาผู้ชั่วร้ายอัคคีลา-ออร์ข่าน (หรือโจโฉในเวอร์ชันต้นฉบ้บ) แห่งชาง-โล พยายามที่จะพิชิตประเทศที่อยู่ข้างเคียง โดยทำให้พินาศและสิ้นหวัง ส่วนกวน-ตี้ (หรือเล่าปี่ในเวอร์ชันต้นฉบับ) ด้วยความช่วยเหลือของห้านักรบผู้ยิ่งใหญ่ ได้ยืนขึ้นเพื่อต่อต้านเงามืดที่รุกราน และต่อสู้เพื่อปกป้องประชาชนและดินแดนของพวกเขา[ต้องการอ้างอิง]

หมายเหตุ[แก้]

  1. หรือรู้จักกันในชื่อญี่ปุ่นคือ เทนชิโอะคุราอุ 2: เซคิเฮกิโนะทาทาคาอิ (ญี่ปุ่น: 天地を喰らう2 赤壁の戦い; "การเผาไหม้แห่งสวรรค์และโลก II: ศึกผาแดง")

อ้างอิง[แก้]

  1. Romano, Sal (13 September 2018). "Capcom Beat 'Em Up Bundle announced for PS4, Xbox One, Switch, and PC". Gematsu. สืบค้นเมื่อ 18 September 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]