ไทยวีเมนส์ลีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไทยวีเมน พรีเมียร์ลีก)
ไทยวีเมนส์ลีก
ก่อตั้งพ.ศ. 2552
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
ดิวิชัน1
จำนวนทีม8
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่ไทยวีเมนส์ลีก 2
ถ้วยระดับนานาชาติฟุตบอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชีย
ทีมชนะเลิศปัจจุบันกรุงเทพมหานคร (1 สมัย)
(ฤดูกาล 2566)
ชนะเลิศมากที่สุดบีจี-บัณฑิตเอเชีย (5 สมัย)
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2567

ไทยวีเมนส์ลีก (Thai Women's League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลหญิงลีกสูงสุดในประเทศไทย มีสโมสรเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม

ประวัติ[แก้]

การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย มีการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดย ชมรมฟุตบอลหญิงแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ[1] ต่อมาสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้ามาจัดการแข่งขันเองในช่วงทศวรรษที่ 2530 ภายหลังจากชมรมฟุตบอลหญิงแห่งประเทศไทยฯ ยุติบทบาท

กระทั่งในปี พ.ศ. 2550 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้เปลี่ยนการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย จากเดิมเป็นการแข่งขันในระบบแพ้คัดออกเป็นระบบลีก[2] โดยมีเงินรางวัลสำหรับทีมชนะเลิศในระดับไทยพรีเมียร์ลีก จำนวน 7 แสนบาท และทีมชนะเลิศในระดับดิวิชัน 1 3.5 แสนบาท โดยจะมีรางวัลพิเศษรางวัลละ 5,000 บาท ประกอบด้วย ผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม, ดาวซัลโว, ผู้รักษาประตู, กองหลัง และ กองกลางยอดเยี่ยม โดยมอบหมายให้ บังอร เบ็ญจาธิกุล เป็นประธานฝ่ายจัดการแข่งขันลีก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันไทยวีเมนส์ลีกอีกครั้ง จากเดิมที่แข่งขันในสนามกลาง กลายเป็นฟุตบอลลีกอาชีพเต็มรูปแบบ คือมีการแข่งขันแบบ เหย้า-เยือน และมีสนามฟุตบอลของแต่ละทีมเป็นของตนเอง[3]

จากนั้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เป็นประธานจัดงานแถลงข่าวเปิดฤดูกาลฟุตบอล ไทยวีเมนส์ลีก ฤดูกาล 2567 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ดิวิชันคือ ดิวิชัน 1 และ ดิวิชัน 2 โดยจะเปิดฤดูกาลในวันที่ 2 มีนาคม 2567 นอกจากนี้ทีมแชมป์ดิวิชัน 1 ยังจะได้สิทธิ์เข้าแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2024 รอบคัดเลือก เป็นครั้งแรก[4]

อัตลักษณ์การแข่งขัน[แก้]

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2565)[แก้]

ไทยวีเมนส์ลีก (8 ทีม)[แก้]

ไทยวีเมนส์ลีก 2 (8 ทีม)[แก้]

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2566)[แก้]

ไทยวีเมนส์ลีก (10 ทีม)[แก้]

ไทยวีเมนส์ลีก 2 (8 ทีม)[แก้]

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2567)[แก้]

ไทยวีเมนส์ลีก (8 ทีม)[แก้]

ไทยวีเมนส์ลีก 2 (8 ทีม)[แก้]

ทำเนียบสโมสรชนะเลิศ[แก้]

ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชัน 1[แก้]

ปี ชนะเลิศ รองชนะเลิศ
2551/52 นครราชสีมา–อาร์แบค บัณฑิตเอเชีย
2553 อาร์แบค บัณฑิตเอเชีย
2554[5] บีจี บัณฑิตเอเชีย อาร์แบค
2556 บีจี บัณฑิตเอเชีย กรุงเทพมหานคร
2560 ชลบุรี บีจี บัณฑิตเอเชีย
2562[6] ชลบุรี และ บีจี บัณฑิตเอเชีย
2563–64 บีจี บัณฑิตเอเชีย ชลบุรี
2565 บัณฑิตเอเชีย เอ็มเอช นครศรี
2566 กรุงเทพมหานคร ชลบุรี
2567

ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชัน 2[แก้]

ปี ชนะเลิศ รองชนะเลิศ
2553[7] ขอนแก่น นครนนท์-ธุรกิจบัณฑิตย์
2554[8] กรุงเทพมหานคร นครนนท์-ธุรกิจบัณฑิตย์
2556[9] มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช
2563–64 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ขอนแก่น ซิตี้
2565 โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี สุรินทร์ หินโคน ยูไนเต็ด
2566 บีเอสแอล ดับเบิ้ลยู เอฟซี เอ็มเอช นครศรี ซิตี้
2567

สโมสรที่เคยเข้าร่วมแข่งขัน[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วันนี้ ครบรอบ 46 ปี ของปฐมบทฟุตหญิงอย่างเป็นทางการในประเทศไทย - สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย".
  2. "13ทีมขาอ่อนร่วมโม้แข้งไทยวีเมนลีกหนแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-07. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
  3. "ศึกไทยวีเมนส์ลีก พร้อมเดินหน้าสู่ฟุตบอลลีกอาชีพเต็มตัว". สนุก.คอม. 8 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ระเบิดศึกบอลลีกหญิงไทยสุดยิ่งใหญ่ ถ่ายสดทุกนัด เริ่ม 2 มี.ค.นี้
  5. "WOMEN'S FOOTBALL: THAI WOMEN'S PREMIER LEAGUE BEGINS THIS WEEKEND". aseanfootball.org. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  6. "4 ทีมเห็นพ้อง งดเตะนัดชิงชนะเลิศ นัดสุดท้ายของซีซั่น รับแชมป์บอลลีกหญิงร่วม". fathailand.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-17. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
  7. "Thai Women's League 2010". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.
  8. "Thai Women's League 2011". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.
  9. "Thai Women's League 2013". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.