ตะกร้อไทยแลนด์ลีก
![]() |
|
ประเทศ | ![]() |
---|---|
สมาพันธ์ | สมาพันธ์ตะกร้อเอเชีย |
ก่อตั้ง | 2545 |
จำนวนทีม | 10 สโมสร |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | นครปฐม (2559) |
ชนะเลิศมากที่สุด | นครปฐม (10) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | ที-สปอร์ต, ช่อง 3 เอสดี |
เว็บไซต์ | www.sepaktakrawworld.com |
![]() |
ตะกร้อ ไทยแลนด์ ลีก เป็นการแข่งขันตะกร้อลีกอาชีพซึ่งจัดโดยสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ การกีฬาแห่งประเทศไทย โดยเป็นลีกระดับสูงสุดของระบบลีกตะกร้อไทย มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ทีม (ฤดูกาล 2554)
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ได้แต่งตั้ง พลตรีจารึก อารีราชการัณย์ นายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะกรรมการบริหารการแข่งขันตะกร้อไทยแลนด์ลีก พร้อมทั้งคณะผู้บริหารผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน
การแข่งขันใช้ชื่อ "ตะกร้อไทยแลนด์ลีก" โดยการแข่งขันปีแรก กำหนดรับทีมจังหวัดต่าง ๆ สมัครเข้าแข่งขันภายในวันที่ 31 ต.ค.2543 หลังจากนั้นคณะกรรมการฯ จะพิจารณาทีมที่มีความเหมาะสมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ทีม เนื่องมีปัญหาหลายอย่างจึงทำให้ การแข่งขัน “ตะกร้อ ไทยแลนด์ ลีก” เริ่มในปลายปี พ.ศ. 2544 โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ได้กำหนดการอบรมสัมมนา ผู้ฝึกสอน ผู้จัดการทีม ผู้ตัดสิน และผู้จัดการแข่งขัน ขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงแรมชาลีน่าปริ้นเซส กรุงเทพมหานคร จึงทำให้เกิดการแข่งขันเซปักตะกร้อเพื่อการอาชีพขึ้น โดยมีผู้ตัดสินเข้าร่วมการอบรมสัมมนาประมาณ 50 คน มีทีมที่พร้อมและผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการให้เข้าร่วมการแข่งขัน ในครั้งแรก จำนวน 10 ทีม ดังนี้ นครปฐม กาญจนบุรี แพร่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ขอนแก่น นครราชสีมา
การแข่งขันมีขึ้นในครั้งแรกระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2545 จัดการแข่งขันแบบเหย้าเยือน ผลการแข่งขันเมื่อหมดฤดูกาลแข่งขันแล้วทีมที่ชนะเลิศ ได้แก่นครปฐม ได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท
พ.ศ. 2547 การแข่งขันตะกร้อไทยแลนด์ลีกครั้งที่ 3 ได้มีการทีมสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันเป็น 12 สโมสร ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี แพร่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา มหาสารคาม นนทบุรี และ สุพรรณบุรี ทีมชนะเลิศ ได้แก่ นครปฐม
ทั้งนี้ กกท. ได้ให้ความช่วยเหลือในการประสานเจรจาอัตราค่าใช้จ่ายการถ่ายทอดสดการแข่งขันนัดละ 2.5 แสนบาท นอกจากนี้ยังจะช่วยเหลือในการเจรจากับการบินไทย ขอลดหย่อนค่าเครื่องบินโดยสารในการเดินทางแข่งขันแบบเหย้า-เยือนของทีมจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้ง การตรวจสอบความฟิตและการใช้สารต้องห้ามของนักกีฬาในระหว่างการแข่งขันด้วย[1]
รูปแบบการแข่งขัน และ ผู้สนับสนุน[แก้]
รูปการแข่งขันเดิม[แก้]
ระบบการแข่งขันตะกร้อ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 แต่ละสโมสรสามารถส่งชื่อผู้เล่นตลอดฤดูกาลแข่งขันได้ไม่เกิน 18 คน ในการทำการแข่งขันแต่ละครั้ง จะส่งทีมลงทำการแข่งขันได้ 2 ทีม คือทีม ก. กับ ทีม ข. แต่ละทีมจะส่งรายชื่อลงทำการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 คน ตัวจริง 3 คน ตัวสำรอง 2 คน เปลี่ยนตัวได้ 1 คน ในการทำการแข่งขันแต่ละครั้ง หากสามารถชนะได้ทั้ง 2 ทีม จะได้ 2 คะแนน ชนะทีมเดียวจะได้ 1 คะแนน แพ้ทั้ง 2 ทีม จะได้ 0 คะแนน การจัดลำดับบนตารางคะแนน ดังนี้
ทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุดเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเป็นทีมชนะเลิศ ส่วนทีมที่ได้คะแนนรองลงมาจะถูกจัดอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้จนถึงทีมสุดท้าย ในกรณีที่มีทีมมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับ ดังนี้
- พิจารณาจากผลต่างของเซตได้ และเซตเสีย (Set Difference)
- พิจารณาจากผลต่างของคะแนนได้ และคะแนนเสีย (Score Difference)
- พิจารณาเฉพาะเซตได้ (Set For)
- แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษ
- ในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้วและได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป
ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขันเพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาลให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้
- พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด
- พิจารณาจากผลต่างของเซตได้ และเซตเสีย (Set Difference)
- พิจารณาจากผลต่างของคะแนนได้ และคะแนนเสีย (Score Difference)
ผู้สนับสนุน[แก้]
เงินรางวัล[แก้]
กกท. เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล ของฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก
- ทีมชนะเลิศ : 1,500,000 บาท
- ทีมรองชนะเลิศ : 700,000 บาท
- ทีมอันดับที่ 3 : 400,000 บาท
- ทีมอันดับที่ 4 : 250,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีเงินบำรุงทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน ทีมละ 1ล้านบาท , เงินรางวัลสำหรับนักฟุตบอลยอดเยี่ยม,ดาวซัลโว,โค้ชยอดเยี่ยม และ เงินรางวัลอื่นๆ
ทีมชนะเลิศตะกร้อไทยแลนด์ลีก[แก้]
ครั้งที่ | ฤดูกาล | ทีมชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับ 3 |
---|---|---|---|---|
16 | 2560 | ม.กรุงเทพธนบุรี | นครปฐม | กาฬสินธุ์ |
15 | 2559 | นครปฐม | นมหนองโพราชบุรี | มหาสารคาม |
14 | 2558 | นครปฐม | ม.กรุงเทพธนบุรี | ชลบุรี |
13 | 2557 | ราชบุรี | กรุงเทพธนบุรี | ชลบุรี-พัทยา |
12 | 2556 | ราชบุรี | ||
11 | 2555 | กรุงเทพธนบุรี | ||
10 | 2554 | ![]() |
ศรีสะเกษ | กรุงเทพธนบุรี |
9 | 2553 | ![]() |
กรุงเทพธนบุรี | เลย |
8 | 2552 | ![]() |
นครราชสีมา | กรุงเทพธนบุรี |
7 | 2551 | ![]() |
||
6 | 2550 | ![]() |
||
5 | 2549 | ![]() |
||
4 | 2548 | ![]() |
||
3 | 2547 | ![]() |
||
2 | 2546 | ![]() |
||
1 | 2544/45 | ![]() |
สโมสรในตะกร้อ ไทยแลนด์ ลีก 2555[แก้]
สโมสร | สถานที่สนามเหย้า | ฤดูกาลในพรีเมียร์ลีก | อันดับที่ดีที่สุด (ฤดูกาล) | อันดับที่แย่ที่สุด (ฤดูกาล) |
---|---|---|---|---|
กรุงเทพธน | โรงยิมส์ ม.กรุงเทพธนบุรี , ทวีวัฒนา | |||
กาฬสินธุ์ | หอประชุมอำเภอห้วยเม็ก, ห้วยเม็ก กาฬสินธุ์ | 2554-2555 | อันดับ 6 (2554) | อันดับ 6 (2554) |
ชลบุรี-พัทยา | โรงยิมส์โรงเรียนเมืองพัทยา 7, เมืองพัทยา (บางละมุง) | |||
ชัยภูมิ | โรงยิมส์สิริวรรณวลี สนามกีฬากลาง ชัยภูมิ | 2555 | - | - |
นครปฐม | โรงยิมส์โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม, นครปฐม | 2545-2555 | ชนะเลิศ | |
นครราชสีมา | โรงยิมเอนกประสงค์ค่ายสุรนารี, นครราชสีมา | |||
แพร่ | โรงยิมส์ สนามกีฬา อบจ.แพร่, แพร่ | ชนะเลิศ | ||
ราชบุรี | โรงยิมส์ สนามกีฬากลาง, ราชบุรี | 2555 | - | - |
ระยอง | โรงยิมส์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) , บ้านค่าย | 2554-2555 | อันดับ 4 (2554) | อันดับ 4 (2554) |
ศรีสะเกษ | อาคารวีสมหมาย, ศรีสะเกษ |
สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขันมากที่สุด[แก้]
สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน-แยกตามรายชื่อสโมสร[แก้]
สโมสร | จำนวนครั้ง | ปีที่ชนะเลิศ |
---|---|---|
นครปฐม | 8 | |
แพร่ | 2 |
สโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน-แยกตามภาค[แก้]
ภาค | จำนวน | สโมสร |
---|---|---|
กรุงเทพและปริมณฑล |
|
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
|
ภาคตะวันออก |
|
|
ภาคเหนือ |
|
|
ภาคใต้ |
|
|
ภาคกลาง | ||
ภาคตะวันตก |
|
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
อ้างอิง[แก้]
|
|