โปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์
โปเกมอน รูบี โปเกมอน แซฟไฟร์ | |
---|---|
![]() | |
ผู้พัฒนา | เกมฟรีก |
ผู้จัดจำหน่าย | บริษัท โปเกมอน จำกัด นินเท็นโด |
กำกับ | จุนอิจิ มาสึดะ ซาโตชิ ทาจิริ |
อำนวยการผลิต | ฮิโรยูกิ จินไน ทาเกฮิโระ อิซูชิ ฮิโรอากิ ทสึรุ |
ศิลปิน | เค็น ซุงิโมริ |
เขียนบท | โทชิโนบุ มัตสึมิยะ อากิฮิโตะ โตมิซาวา |
แต่งเพลง | โก อิจิโนเซะ โมริคาชุ อาโอกิ จุนอิจิ มาสึดะ |
ชุด | โปเกมอน |
เครื่องเล่น | เกมบอยอัดวานซ์ |
วางจำหน่าย | |
แนว | วิดีโอเกมสวมบทบาท |
รูปแบบ | เล่นคนเดียว, เล่นหลายคน |
โปเกมอนภาครูบีและภาคแซฟไฟร์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ルビー&サファイア โรมาจิ: Poketto Monsutā Rubī & Safaia; อังกฤษ: Pokémon Ruby Version and Sapphire Version) เป็นเกมลำดับที่สามในวิดีโอเกมชุดโปเกมอน พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก จำหน่ายโดยบริษัท โปเกมอน จำกัดและนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์ เกมออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในปลายปี ค.ศ. 2002 และต่างประเทศใน ค.ศ. 2003 โปเกมอนภาคเอเมอรัลด์ เป็นเกมภาคพิเศษ ออกจำหน่ายใน 2 ปีหลังของแต่ละภูมิภาค เกมโปเกมอนสามเกมนี้ (โปเกมอนภาครูบี แซฟไฟร์ และเอเมอรัลด์) เป็นเกมโปเกมอนรุ่นที่สาม หรือเรียกว่า "อัดวานซ์เจนเนอเรชัน" (advanced generation) โปเกมอนภาคทำใหม่ ชื่อภาคโอเมการูบีและแอลฟาแซฟไฟร์ ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส ทั่วโลกในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 หลังจำหน่ายภาครูบีและแซฟไฟร์ 2 ปีพอดี ยกเว้นในยุโรป ที่ออกจำหน่ายวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014[2]
การเล่นของเกมส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเกมภาคก่อนหน้า เนื้อเรื่องเกิดขึ้นที่ภูมิภาคโฮเอน ยึดตามเกาะคีวชูของประเทศญี่ปุ่น ผู้เล่นจะได้ควบคุมตัวละครหลักจากมุมมองเหนือศีรษะ และการบังคับส่วนใหญ่เหมือนกับเกมภาคก่อนหน้า จุดประสงค์ของเกมคือจับโปเกมอนทุกคนและเอาชนะจตุรเทพทั้งสี่ (Elite Four) (กลุ่มของโปเกมอนเทรนเนอร์) และเช่นเดียวกัน เนื้อเรื่องย่อยของเกมจะเกี่ยวข้องกับตัวละครหลักเอาชนะองค์กรอาชญากรรมที่พยายามครอบครองภูมิภาค คุณสมบัติใหม่ เช่น การต่อสู้แบบสองต่อสอง (double battle) และความสามารถพิเศษของโปเกมอน และโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ 135 ชนิดเพิ่มเข้ามา เนื่องจากเครื่องเล่นเกมบอยแอดวานซ์มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องเล่นเก่า ผู้เล่นสามารถเชื่อมต่อพร้อมกัน 4 คนแทนที่เคยจำกัดไว้ที่ 2 คน นอกจากนี้ เกมยังสามารถเชื่อมต่อกับอีรีดเดอร์หรือเกมโปเกมอนในแอดวานซ์เจนเนอเรชันเกมอื่น ๆ ได้
ภาครูบีและแซฟไฟร์ได้รับการตอบรับส่วนใหญ่ในด้านดี แม้ว่านักวิจารณ์จะถูกแบ่งกันประเมินเกมกันคนละส่วน โดยเฉพาะการเล่นและกราฟิก ข้อตำหนิส่วนใหญ่คือการเล่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากภาคก่อนหน้ามากนัก ความนิยมของเกมโปเกมอนเริ่มลดลงในขณะนั้น และยอดขายของเกมทำได้น้อยกว่าเจนเนอเรชันเก่า อย่างไรก็ตาม เกมยังคงประสบความสำเร็จ ตามข้อมูลของไอจีเอ็น เกมทำยอดขายได้ 16 ล้านหน่วย ถือเป็นเกมที่ขายดีที่สุดบนเครื่องเล่นเกมบอยแอดวานซ์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Pokemon Ruby Version for Game Boy". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 22, 2009.
- ↑ "Pokémon Omega Ruby and Pokémon Alpha Sapphire". May 7, 2014. สืบค้นเมื่อ May 7, 2014.