แจ็ก วิลเชียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แจ็ค วิลเชียร์)
แจ็ก วิลเชียร์
วิลเชียร์กับบอร์นมัทใน ค.ศ. 2021
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม แจ็ก แอนดรูว์ แกร์รี วิเชียร[1]
วันเกิด (1992-01-01) 1 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี)[2]
สถานที่เกิด สตีเวนิจ, อังกฤษ
ส่วนสูง 5 ft 8 in (1.72 m)[3]
ตำแหน่ง กองกลาง
สโมสรเยาวชน
2001 ลูตันทาวน์
2001–2008 อาร์เซนอล
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2008–2018 อาร์เซนอล 125 (7)
2010โบลตันวอนเดอเรอส์ (ยืมตัว) 14 (1)
2016–2017บอร์นมัท (ยืมตัว) 27 (0)
2018–2020 เวสต์แฮมยูไนเต็ด 16 (0)
2021 บอร์นมัท 14 (1)
ทีมชาติ
2006–2007 อังกฤษ อายุไม่เกิน 16 ปี 2 (0)
2007–2009 อังกฤษ อายุไม่เกิน 17 ปี 9 (0)
2009 อังกฤษ อายุไม่เกิน 19 ปี 1 (0)
2009 อังกฤษ อายุไม่เกิน 21 ปี 7 (0)
2010–2016 อังกฤษ 34 (2)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 16:55, 15 กันยายน ค.ศ. 2020 (UTC)
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 14:20, 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 (UTC)

แจ็ก แอนดรูว์ แกร์รี วิลเชียร์ (อังกฤษ: Jack Andrew Garry Wilshere; เกิด 1 มกราคม ค.ศ. 1992) เป็นนักฟุตบอลชาวอังกฤษ เล่นในตำแหน่งกองกลาง สโมสรที่ลงเล่นล่าสุดคือบอร์นมัท

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

วิลเชียร์เกิดที่เมืองสตีเวนิจ ฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ ปัจจุบันอยู่ที่เมือง ฮิตชิน ฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ เขาเติบโตขึ้นที่เมืองฮิตชิน เข้าเรียนโรงเรียนประถมที่ไวต์ฮิล และโรงเรียนเดอะไพรออรี[4] เขาเป็นกัปตันทีมฟุตบอลของเดอะไพรออรี ในชัยชนะเคาน์ตีคัปและดิสทริกคัป ตั้งแต่ชั้นเกรด 7 ถึง เกรด 10 (ราว ม.1-5) และยังเล่นกับฟุตบอลทีมชาติอายุไม่เกิน 15 ปี ตั้งแต่ชั้นเกรด 8 (ม.2) โดยร่วมเล่นกับเจค อาร์เจนต์-มาร์ตินและแจ็ก ลีฟส์ แห่งเลย์ตันโอเรียนต์

ระดับอาชีพ[แก้]

ทีมเยาวชนและทีมสำรอง[แก้]

วิลเชียร์ได้เข้าร่วมกับสถาบันสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2001 ขณะที่อายุได้ 9 ปี หลังจากที่เข้ร่วมเล่นกับสโมสรฟุตบอลลูตันทาวน์เป็นเวลา 2 เดือน[5] และเมื่ออายุ 15 ปี เขาเป็นกัปตันทีมอายุไม่เกิน 16 ปี และยังเล่นบางนัดในทีมอายุไม่เกิน 18 ปี ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2007 วิลเชียร์เป็นส่วนหนึ่งของทีมชนะเลิศแชมเปียนส์ยูทคัป ต่อมาโค้ชของสถาบันสโมสร สตีฟ เบาลด์ ได้ให้เขาเริ่มเล่นกับทีมอายุไม่เกิน 18 ปี ครั้งแรกโดยแข่งกับสโมสรฟุตบอลเชลซี อายุไม่เกิน 18 ปี[6] เขาทำประตูแรกในการแข่งกับสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา อายุไม่เกิน 18 ปี ในชัยชนะ 4–1[7] จากนั้นยิงแฮตทริก ในการแข่งกับสโมสรฟุตบอลวัตฟอร์ตอายุไม่เกิน 18 ปี ได้ทำให้ทีมชนะในแอคาเดมีกรุ๊ปเอ[8] จบฤดูกาลกับทีมอายุไม่เกิน 18 ปี เขาทำประตู 13 ประตู ในการลงแข่งขัน 18 นัด เมื่อเขาอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น[9]

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 เขาลงแข่งเปิดตัวในฐานะทีมสำรองอาร์เซนอล เมื่ออายุ 16 ปี โดยแข่งกับเรดดิง วิลเชียร์ทำประตูให้กับการแข่งขันที่อาร์เซนอลได้ประตูเดียว สุดท้ายคือผลเสมอ[10] เขาทำประตูในนัดแข่งกับทีมสำรองของเวสต์แฮมในเดือนมีนาคม โดยยิงบอลโค้งเข้าไปในกรอบประตูบน ซึ่งอาร์แซน แวงแกร์ได้จับตามองดูอยู่[11] เขาทำประตู 2 ประตูและช่วยส่งทำประตู 2 ประตู ในการลงแข่งเพียง 3 ครั้งให้กับทีมสำรองในปลายฤดูกาล 2007-08 เขาลงเล่นในทีมชุดอายุไม่เกิน 16 ปี นำชัยชนะในถ้วยอะตาแลนตาคัป และได้ตำแหน่งผู้เล่นแห่งการแข่งขันครั้งนี้ไปด้วย[12] เขามีบทบาทสำคัญในการแข่งขันของอาร์เซนอล ในชุดเอฟเอฟยูทคัป 2009 โดยทำประตูในรอบรองชนะเลิศ[13] และทำให้เขาเป็นผู้เล่นแห่งนัด ในการแข่งขันครั้งแรกกับลิเวอร์พูล เขาช่วยทำประตู 2 ประตูและยังทำประตูได้อีก[14]

วิลเชียร์กำลังอุ่นเครื่อง ก่อนลงแข่งกับ เวสตบรอมมิชอัลเบียน

ฤดูกาล 2008–09[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 วิลเชียร์ได้รับเลือกให้เล่นให้ทีมชุดใหญ่ ในนัดกระชับมิตรก่อนเปิดฤดูกาล เขาเล่นเปิดตัวในทีมแรกโดยแข่งกับสโมสรฟุตบอลบาร์เนต ลงแทนที่เฮนรี ลันส์บูรี ในครึ่งหลัง ช่วงส่งลูกให้เจย์ ซิมป์สัน ยิง[15] วิลเชียร์ทำ 2 ประตูแรกในนัดที่อาร์เซนอลชนะ บัวร์เกินลันท์ XI ไป 10–2 และอีกครั้งในสองวันต่อมาในนัดกระชับมิตร แข่งกับสตุตการ์ต

ผู้จัดการทีมอาร์เซนอล อาร์แซน แวงแกร์ ให้โอกาสวิลเชียร์ลงแข่งในทีมแรก ในการเป็นผู้เล่นในฤดูกาล 2008–09[16] โดยเขาได้ใส่เสื้อเบอร์ 19 ซึ่งเขาใส่เบอร์นี้มาจนถึง ณ วันนี้[17] เขาลงแข่งครั้งแรกในพรีเมียร์ลีก โดยแข่งกับสโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวิร์ส ที่อีวูดพาร์ก ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ลงแข่งแทนการเปลี่ยนตัวโรบิน ฟาน เพอร์ซี ในนาทีที่ 84[18] ด้วยอายุ 16 ปี กับอีก 256 วัน ทำให้เขาเป็นผู้เล่นอาร์เซนอลที่อายุน้อยที่สุดในการลงแข่งครั้งแรก โดยสถิติก่อนหน้านี้เป็นของ เซสก์ ฟาเบรกัส[19] หลังจากนั้น 10 วัน เมื่อวันที่ 23 กันยายน วิลเชียร์ทำประตูแรกให้กับอาร์เซนอลในชัยชนะ 6–0 เหนือสโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์ยูไนเต็ด ในฟุตบอลลีกคัป[20] เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 วิลเชียร์ลงเปลี่ยนตัวแทนในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในนัดเจอกับสโมสรฟุตบอลดีนาโมเคียฟ (Dynamo Kyiv) กลายเป็นผู้เล่นอายุ 16 ปี คนที่ 5 ที่ได้ลงแข่งในแชมเปียนส์ลีก[21] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 วิลเชียร์เซ็นสัญญาฟุตบอลอาชีพครั้งแรก[22] โดยสัญญาถึงเดือนกรกฎาคม ในปีนั้น[23]

ฤดูกาล 2009–10[แก้]

ในช่วงระหว่างเตรียมตัวสำหรับฤดูกาล 2009–10 วิลเชียร์ทำประตู 2 ครั้งและได้รับรางวัลผู้เล่นแห่งนัดให้กับอาร์เซนอล ในนัดกระชับมิตรในเอมิเรตส์คัป เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2009 เขาลงเล่นกับอาร์เซนอล ในชัยชนะเหนือสโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิชอัลเบียน ในลีกคัป 2–0 โดยในนาทีที่ 37 เกิดข้อพิพาทระหว่างเขากับเจโรม โทมัส โดยโทมัสผัสหน้าของวิลเชียร์ และได้รับใบแดงไป[24]

ยืมตัวไปโบลตันวันเดอเริร์ส[แก้]

ในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ได้แข่งในพรีเมียร์ลีก ร่วมกับสโมสรฟุตบอลโบลตันวันเดอเริร์ส ในการยืมตัวไปจนจบฤดูกาล 2009–10[25] เขาลงแข่งในลีกครั้งแรกโดยเป็นทีมเยือน แข่งกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ และทำประตูแรกให้กับโบลตัน เป็นประตูแรกในพรีเมียร์ลีกของเขา และวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2010 ชนะสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–1[26] เขาสร้างความประทับใจให้กับทีมโบลตัน และทางโบลตันพยายามที่จะเซ็นสัญญายืมตัวเขาอีกฤดูกาล แต่ก็ไม่สำเร็จ[27]

ฤดูกาล 2010–11[แก้]

วิลเชียร์ในนัดเจอกับเบอร์มิงแฮมซิตี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2010

ในฤดูกาล 2010–11 ถือเป็นฤดูกาลแจ้งเกิดของวิลเชียร์ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2010 วิลเชียร์เริ่มเล่นในนัดพรีเมียร์ลีกครั้งแรกกับอาร์เซนอล โดยพบกับลิเวอร์พูล ที่สนามแอนฟิลด์[28] ในสุดสัปดาห์ถัดมาแข่งกับสโมสรฟุตบอลแบล็กพูล โดยเขาเป็นคนช่วยจ่ายลูกยิงประตู เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ลงการแข่งขันในแชมเปียนส์ลีกครั้งแรก ได้ช่วยจ่ายลูกยิงและมีผลงานการเล่นที่น่าประทับใจ[29] วิลเชียร์ได้เป็นผู้เล่นอาร์เซนอลแห่งเดือนกันยายน ค.ศ. 2010[30] เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ได้ใบแดงครั้งแรกในเกมพรีเมียร์ลีก ในนัดเจอกับสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตี จากการปะทะกับนีกอลา ซีกิช[31]

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ทำประตูแรกในแชมเปียนส์ลีก โดยชิปข้าม อันดรีย์ ปีอาตอฟ (Andriy Pyatov) ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ในรอบแบ่งกลุ่มที่เจอกับสโมสรฟุตบอลชาคห์ตาร์โดเนตสค์ ชนะไป 5-1[32] เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ได้เซ็นสัญญาระยะยาวฉบับใหม่[33] เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 วิลเชียร์ทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ในนัดอาร์เซนอลพบสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา ชนะไป 4–2 วิลเชียร์ได้รับคำชมในผลงานที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา โดยทีมชนะไป 2-1 ในนัดนี้เขาส่งผ่าน 93.5% โดย 91% เกิดขึ้นใน 1 ใน 3 ส่วนของสนาม ในแดนคู่แข่ง[34][35][36] ผู้จัดการทีมอาร์เซนอลอาร์แซน แวงแกร์ พูดถึงผลงานครั้งนี้ของเขาว่า "โดดเด่น"[37] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 วิลเชียร์ได้รับรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งแห่งปีจากสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ และยังอยู่ในรายชื่อทีมแห่งปีของฤดูกาล 2011 ของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ ร่วมกับเพื่อนร่วมทีมอื่นของอาร์เซนอล ซาเมียร์ นาสรีและบาการี ซาญา[38]

ฤดูกาล 2016–17[แก้]

ในช่วงต้นฤดูกาล 2016–17 ก่อนการปิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนตัวผู้เล่นในรอบแรก วิลเชียร์ได้ย้ายไปยังบอร์นมัท สโมสรในระดับเล็กกว่าในพรีเมียร์ลีกเช่นเดียวกัน ในแบบยืมตัว เนื่องจากฤดูกาลก่อนหน้านั้น วิลเชียร์ได้รับบาดเจ็บแทบจะไม่ได้ลงเล่นเกือบทั้งฤดูกาล แม้ว่าจะติดทีมชาติไปเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ก็ตาม แต่เรื่องนี้ก็ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาก[39] กอรปกับอาร์เซนอลได้ซื้อตัวเล่นกองกลางเข้ามาเพิ่ม เช่น โมฮัมหมัด เอลเนนี หรือกรานิต จากา ทำให้ต้องเสียตำแหน่งตัวจริงไป โดยมีสโมสรต่าง ๆ ตัวการตัววิลเชียร์มากถึง 21 สโมสร[40]

รูปแบบการเล่น[แก้]

วิลเชียร์เป็นนักฟุตบอล ที่เลื่องชื่อในด้านการส่งผ่านบอล การเลี้ยงลูก วิสัยทัศน์ การเคลื่อนไหวและการเล่นรวมกัน[41][42][43] โอเวน คอยล์ ผู้จัดการทีมโบลตันวันเดอเรอร์ส ในช่วงการยืมตัวอยู่ในโบลตัน ชื่นชมความสามารถเขาว่า "หยุดฝ่ายตรงข้ามที่ครองลูกและสามารถเอามาได้" ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้สูง เขายังได้ถูกเปรียบเทียบกับอดีตนักฟุตบอลอังกฤษ พอล แกสคอยน์ ในด้านคุณลักษณะการเล่นกองกลาง อย่างไรก็ตาม หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเยาวชนของอาร์เซนอล เลียม เบรดี กล่าวว่า วิลเชียร์มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ในช่วงต้นของอาชีพ[44]

วิลเชียร์เล่นในหลาย ๆ ตำแหน่ง อย่างเช่น กองกลางตัวรุก ปีก และควบคุมช่องว่างระหว่างกองหลังและกองกลาง เขาเกือบเล่นในทุกตำแหน่งที่ว่านี้ในฤดูกาล 2010-11 แวงแกร์ยังกล่าวว่า "เขาเป็นผู้เล่นที่ทั้งรุกและรับ มากกว่าการเป็นกองกลางเฉย ๆ"

การแข่งขันระหว่างประเทศ[แก้]

วิลเชียร์และบ็อบบี ซาโมรา ในนัดเปิดตัวกับฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ในนัดแข่งกับฟุตบอลทีมชาติฮังการี เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2010

ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ ได้เลือกวิลเชียร์เพื่อเล่นให้กับทีมชาติ ในช่วงอายุของเขา โดยวิลเชียร์ในขณะที่อายุ 14 ปี ในลงเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ อายุไม่เกิน 16 ปี ในการแข่งวิกตอรีชีลด์ ในปี ค.ศ. 2006 เมื่ออายุ 15 ปี เขาลงเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ อายุไม่เกิน 17 ปี จากนั้นมีชื่อในทีมฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรป อายุไม่เกิน 17 ปี ในปี 2009 ลงเล่นใน 2 นัดแรก เป็นตัวหลักในการกดดันในเกมที่ 2 ที่แข่งกับเยอรมนี ก่อนที่จะออกไปหลังจากบาดเจ็บ ทำให้เขาอดลงเล่นในนัดสุดท้าย[45][46] หลังจากการแข่งขันนี้ ทำให้เขาอยู่ในรายชื่อ 10 ดาวรุ่งแห่งการแข่งขันนี้[47]

เขายังได้รับคำชมจากผู้จัดการทีมชาติอังกฤษฟาบีโอ กาเปลโล ที่แสดงให้เห็นว่า เขามีโอกาสที่จะลงเป็นกองกลางในทีมผู้เล่นฟุตบอลโลก 2010 แต่ก็พลาดไป เขายังเป็นตัวสำรองในทีมชาติอังกฤษอายุไม่เกิน 21 ปี โดยลงแข่งครั้งแรกในนัดเจอกับเนเธอร์แลนด์[48]

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เขาถูกเรียกตัวในทีมชุดใหญ่เป็นครั้งแรก ในนัดกระชับมิตร เจอกับฟุตบอลทีมชาติฮังการี เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม[49] เขาลงแข่งครั้งแรกในฐานะตัวแทนทีมชาติอังกฤษเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2010 ในนาทีที่ 83 โดยลงแทนสตีเวน เจอร์ราด ในนัดเจอกับฮังการี[50] และทำให้เขาเป็นผู้เล่นทีมชาติอังกฤษที่อายุน้อยที่สุด อันดับ 10[51]

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เขาลงเป็นตัวจริงลงสนามครั้งแรกให้กับทีมชาติอังกฤษ ในนัดกระชับมิตรเจอกับฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก เขาสร้างความประทับใจถึงแม้ว่าจะเล่นในตำแหน่งไม่คุ้นเคย กับกองหลัง และได้คำชมจากฟาบีโอ กาเปลโล[52]

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก ระหว่าง สโลเวเนีย กับ อังกฤษ วิลเชียร์สามารถทำประตูแรกให้กับทีมชาติได้ และยิงได้ถึง 2 ลูก ด้วยลูกยิงไกลในนาทีที่ 57 และ 74 ผลโดยรวมอังกฤษเป็นฝ่ายเอาชนะไป 3-2 ประตู ซึ่งนัดนี้ทำให้วิลเชียร์ได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบสุดท้ายที่ฝรั่งเศส รอย ฮอดจ์สัน ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษได้เลือกตัววิลเชียร์ติดทีมชาติไปด้วย ทั้งที่ในฤดูกาลที่ผ่านมา วิลเชียร์เจ็บแทบทั้งฤดูกาลและได้ลงเล่นให้อาร์เซนอลเพียงแค่ 3 นัด (คิดเป็นเวลา 141 นาที) เท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ฮอดจ์สันถูกวิจารณ์อย่างมาก และเมื่ออังกฤษตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย ฮอดจ์สันก็ได้ลาออกไปเพื่อแสดงความรับผิดชอบ [53] [54]

สถิติ[แก้]

สโมสร[แก้]

สโมสร ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัป ลีกคัป ยูโรป รวม
นัด ประตู ช่วยจ่ายยิงประตู นัด ประตู ช่วยจ่ายยิงประตู นัด ประตู ช่วยจ่ายยิงประตู นัด ประตู ช่วยจ่ายยิงประตู นัด ประตู ช่วยจ่ายยิงประตู
อาร์เซนอล 2008–09 1 0 0 2 0 0 3 1 1 2 0 0 8 1 1
2009–10 1 0 0 1 0 0 2 0 0 3 0 0 7 0 0
โบลตันวอนเดอเรอส์ (ยืมตัว) 2009–10 14 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 14 1 1
อาร์เซนอล 2010–11 27 1 2 2 0 0 4 0 3 7 1 3 40 2 8
อาร์เซนอล 2011-12 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
อาร์เซนอล 2012-13 25 0 0 4 1 0 1 0 0 3 1 0 33 2 0
รวม (อาร์เซนอล) 29 1 2 5 0 0 9 1 4 12 1 3 55 3 9
รวมตลอดทั้งอาชีพ 43 2 3 5 0 0 9 1 4 12 1 3 69 4 129
(สถิตินับถึงการแข่งขันในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2013)[55]

ทีมชาติ[แก้]

ทีมชาติ สโมสร ปี นัด ประตู ช่วยจ่ายยิงประตู
England Arsenal 2010 0 (1) 0 0
2011 3 (0) 0 0
Total 3 (1) 0 0

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2011 แฟนสาวของเขาลอเรน นีล ให้กำเนิดบุตรชาย โดยตั้งชื่อว่า อาร์ชี แจ็ก วิลเชียร์ โดยเกิดเมื่อเวลา 15.06 น. (เวลาสหราชอาณาจักร) น้ำหนักตัว 7 ปอนด์ 11 ออนซ์

เกียรติประวัติ[แก้]

อาร์เซนอล[แก้]

ชนะเลิศ:

รองชนะเลิศ:

ทีมชาติ[แก้]

ชนะเลิศ:

ส่วนตัว[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "แจ็ก วิลเชียร์". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2016.
  2. Hugman, Barry J., บ.ก. (2010). The PFA Footballers' Who's Who 2010–11. Edinburgh: Mainstream Publishing. p. 440. ISBN 978-1-84596-601-0.
  3. "Jack Wilshere: Overview". Premier League. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  4. Wyett, Charlie (2008-11-13). "Hero Jack still has time for his pals". The Sun. London. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  5. "The next Gazza? Why 16-year-old Jack is the talk of football". The Independent. London. 2008-11-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.
  6. "Academy League: Arsenal 3–1 Chelsea". Arsenal F.C. 2007-08-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  7. "Academy: Arsenal 4–1 Aston Villa". Arsenal F.C. 2007-09-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  8. "Academy: Watford 1–7 Arsenal — Report". Arsenal F.C. 2007-09-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  9. "Reserves and Youth Statistics— Report". Arsenal F.C. 2008-05-01. สืบค้นเมื่อ 2011-02-25.
  10. "Match Report". Arsenal F.C. 2008-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  11. "Reserves: Arsenal 2–0 West Ham — Report". Arsenal F.C. 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 2011-02-25.
  12. "Arsenal Under 16's Beat Juventus To Win Atalanta Cup". Young Guns. 2008-05-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  13. "Youth Cup: Arsenal 4–1 Man City — Report | Fixtures & Reports | Fixtures". Arsenal F.C. 2009-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  14. Lawrence, Amy (2009-05-23). "FA Youth Cup final, first leg: Jack Wilshere orchestrates young Gunners' thrashing of Liverpool". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  15. "Match Report". Arsenal F.C. 2008-07-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-30. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  16. "Wilshere named in Arsenal's first-team squad". Arsenal F.C. 2008-08-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  17. "19. Jack Wilshere". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 2010-11-01.
  18. Lyon, Sam (13 September 2008). "Blackburn 0–4 Arsenal". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 17 August 2009.
  19. Castles, Duncan (2008-09-14). "Walcott sets up another rout". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2008-09-14.
  20. "Arsenal 6–0 Sheffield United Match Report". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23.
  21. "Minute-by-minute". UEFA. สืบค้นเมื่อ 12 December 2008.
  22. "Arsenal's Wilshere signs pro deal". BBC Sport. 5 January 2009. สืบค้นเมื่อ 9 January 2009.
  23. "Wilshere extends Arsenal contract". BBC Sport. 2009-07-02. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  24. "Arsenal star Jack Wilshere in red card storm". Daily Mirror. 2009-09-22. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  25. "Jack Wilshere joins Bolton Wanders on loan". Arsenal F.C. 29 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
  26. Cox, Gerry (2010-03-07). "West Ham United 1 Bolton Wanderers 2: match report". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  27. "Coyle admits Wilshere defeat". Sky Sports. 5 August 2010. สืบค้นเมื่อ 1 November 2010.
  28. "Liverpool 1-1 Arsenal". Whoscored.com.
  29. Clarke, Richard (16 August 2010). "Liverpool 1-1 Arsenal". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010.
  30. Arsenal.com (11 October 2010). "Wilshere - It was a great month for me". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 11 October 2010.
  31. Sheringham, Sam (16 October 2010). "Arsenal 2 - 1 Birmingham". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  32. "His first goal in Champions League, Arsenal 5-1 Shaktar Donetsk". Whoscored.com.
  33. "Midfielder Jack Wilshere signs new Arsenal contract". BBC Sport. 1 November 2010.
  34. "Arsenal 2-1 Barcelona". Whoscored.com.
  35. "Jack Wilshere's dazzling display against Barcelona offers Arsenal and England genuine hope for the future". Telegraph. 17 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  36. "Jack Wilshere's radar on par with Barcelona greats". Telegraph. 17 February 2011.
  37. "Jack Wilshere's stunning display". Canadian Press. 17 February 2011.
  38. "Gareth Bale & Samir Nasri lead PFA nominations". BBC Sport. 8 April 2011. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
  39. Wiriyanuntakul (June 22, 2016). "ฝันร้าย ของ แฟนสิงโต และแจ๊ค วิลเชียร์". สืบค้นเมื่อ September 1, 2016.[ลิงก์เสีย]
  40. Kay, Jay (August 31, 2016). "Done Deal ! แจ็ค วิลเชียร์ ผละอ้อมอก เวนเกอร์ โยกซบ บอร์นมัธ แบบยืมตัว". 90min. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-04. สืบค้นเมื่อ September 1, 2016.
  41. Emirates experience leaves me jealous, BBC Sport. Retrieved 19 September 2010.
  42. Comment: Forget Joe Cole - In Jack Wilshere, Arsenal Have England's Finest Young Talent เก็บถาวร 2011-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Yahoo! Sports. Retrieved 19 September 2010.
  43. The team showed desire, energy and quality เก็บถาวร 2010-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Arsenal F.C.. Retrieved 19 September 2010.
  44. Ornstein, David (1 October 2010). "Jack Wilshere ready to shine for Arsenal and England". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.
  45. "Pezzaiuli: We could have won by more". UEFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-09. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
  46. "Euro U17 Championships: Germany 4–0 England". Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  47. "Ten future stars from 2009 finals". UEFA. สืบค้นเมื่อ 14 May 2010.
  48. "New-look Under-21s draw comfort in Holland". The Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-24. สืบค้นเมื่อ 2009-09-11.
  49. "Capello calls up Wilshere, Gibbs and Zamora for England". BBC Sport. 2010-08-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
  50. "Gerrard brace saves England blushes". ESPNsoccernet. 2010-08-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  51. "Gibbs and Wilshere make senior England debuts". Arsenal F.C. 2010-08-11. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  52. "Fabio Capello hails Jack Wilshere after England win over Denmark". Metro. 2010-08-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2011-02-09.
  53. ""เวนเกอร์"ยัน"วิลเชียร์"พร้อมลุยยูโร2016". เดลินิวส์. 16 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-22. สืบค้นเมื่อ 6 July 2016.
  54. "ปู่รอย ประกาศลาออกกุนซืออังกฤษเซ่นร่วงยูโร". ทีเอ็นเอ็น24. 28 June 2016. สืบค้นเมื่อ 6 July 2016.
  55. "Jack Wilshere Bio, Stats, News". ESPNsoccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-25. สืบค้นเมื่อ 30 October 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]