ข้ามไปเนื้อหา

เหมย์โจว

พิกัด: 24°17′20″N 116°07′19″E / 24.289°N 116.122°E / 24.289; 116.122
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครเหมย์โจว

梅州市

หม่อยจู
สถานที่ต่าง ๆ ในนครเหมย์โจว
สมญา: 
Kezhou (客州) (เมืองแคะ)
คำขวัญ: 
เมืองหลวงของชาวจีนแคะ
แผนที่
ที่ตั้งในมณฑลกวางตุ้ง
ที่ตั้งในมณฑลกวางตุ้ง
นครเหมย์โจวตั้งอยู่ในประเทศจีน
นครเหมย์โจว
นครเหมย์โจว
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัด (ศูนย์ราชการนครเหมย์โจว): 24°17′20″N 116°07′19″E / 24.289°N 116.122°E / 24.289; 116.122
ประเทศจีน
มณฑลกวางตุ้ง
ศูนย์กลางการปกครองเขตเหม่ย์เจียง
พื้นที่
 • นครระดับจังหวัด15,864.51 ตร.กม. (6,125.32 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง3,047.5 ตร.กม. (1,176.6 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,047.5 ตร.กม. (1,176.6 ตร.ไมล์)
ความสูง96 เมตร (315 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน ค.ศ. 2010[1])
 • นครระดับจังหวัด4,328,461 คน
 • ความหนาแน่น270 คน/ตร.กม. (710 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง935,516 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง310 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล935,516 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล310 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์)
 • กลุ่มชาติพันธุ์หลักชาวฮั่น
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์514000
รหัสพื้นที่753
รหัส ISO 3166CN-GD-14
License Plate Prefix粤M
เว็บไซต์www.meizhou.gov.cn
เหมย์โจว
"เหมย์โจว" ตามที่เขียนในภาษาจีน
ภาษาจีน梅州
ฮากกาMòi-chû
ไปรษณีย์Meichow (ปัจจุบัน)
Meihsien (อดีต)
Kaying (อดีต; ก่อน พ.ศ. 2455)
ความหมายตามตัวอักษรPlum/prune Prefecture

เหมย์โจว (จีน: 梅州市, ฮากกา: Mòichû หม่อยจู) เป็นนครระดับจังหวัดในมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกของจีน มีพื้นที่ 15,864.51 ตารางกิโลเมตร (6,125.32 ตารางไมล์) ประกอบด้วยเขตเหม่ย์เจียง เขตเหม่ย์เชี่ยน ชิงหนิง และอีกห้าอำเภอ และจากสำมะโนประชากร พ.ศ. 2553 มีประชากร 4.33 ล้านคนพื้นที่ตัวเมืองที่ประกอบด้วยสองเขตมีประชากร 935,516 คน[2]

ประวัติ

[แก้]

ชื่อ เหมย์โจว มาจากแม่น้ำเหม่ย์ และคำว่า (ดอก) บ๊วยในภาษาจีน (จีน: , เหมย์ méi) เหมย์โจวก่อตั้งในช่วงฮั่นใต้ (พ.ศ. 1460–1514) ให้เป็นเขตปกครองของเมืองเกงจิ๋ว และกลายเป็น เหมย์โจว ในช่วงราชวงศ์ซ่งเหนือ (พ.ศ. 1503–1670) และเป็นเมืองเจียยิงในช่วงราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187–2454) หลังจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองที่ตามมาหลายครั้งก็กลายชื่อเป็นเมืองเหมย์โจวในปี พ.ศ. 2531 ปัจจุบันเหมย์โจวเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง[3]

ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ

[แก้]

เหมย์โจวตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง ติดกับมณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงเหนือและมณฑลเจียงซีทางตะวันตกเฉียงเหนือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนส่วนใหญ่เกิดจากหินแกรนิต, หินแตก, หินแปร, หินทราย, หินแดง และหินปูน[4] เขตการปกครองของนครระดับจังหวัดเหมย์โจว อยู่ในช่วงละติจูดจาก 23 ° 23 'ถึง 24 ° 56' N และในลองจิจูดจาก 115 ° 18 'ถึง 116 ° 56' E ครอบคลุมพื้นที่ 15,836 km2 (6,114 sq mi)

เหมย์โจวมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa เคิพเพิน) โดยมีฤดูหนาวที่ค่อนข้างสั้นมีเมฆมากและไม่หนาวมาก และมีฤดูร้อนที่ยาวและร้อนชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในเดือนมกราคมคือ 12.6 องศาเซลเซียส (54.7 องศาฟาเรนไฮต์) และในเดือนกรกฎาคมคือ 28.9 องศาเซลเซียส (84.0 องศาฟาเรนไฮต์) ฤดูมรสุมอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ไต้ฝุ่นมักจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เหมย์โจวมากนักเนื่องจากภูมิประเทศที่มีภูเขากำบัง แต่ทั้งนี้ภูมิประเทศแบบภูเขาอาจประสพปัญหาจากน้ำท่วมได้ง่าย

การปกครอง

[แก้]

ศาลาว่าการเทศบาลนคร, ศาลกลาง, สำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำนคร และสำนักความปลอดภัยสาธารณะ (สำนักงานตำรวจ) ตั้งอยู่ในแขวงเจียงหนาน ของเขตเหมย์เจียง บนฝั่งขวาของแม่น้ำเหม่ย์

แผนที่
ชื่อ ภาษาจีนตัวย่อ พินอิน ประชากรปี ค.ศ. 2010 (คน) พื้นที่ (ตร.กม.) ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)
เขตเหม่ย์เจียง 梅江区 Méijiāng Qū 380771 570.62 667
เขตเหม่ย์เซี่ยน 梅县区 Méixiàn Qū 554745 2,476.87 224
อำเภอต้าปู้ 大埔县 Dàbù Xiàn 374666 2,461.82 152
อำเภอเฟิงชุ่น 丰顺县 Fēngshùn Xiàn 478974 2,706.34 177
อำเภออู่หฺวา 五华县 Wǔhuá Xiàn 1050528 3,237.83 324
อำเภอผิงหยวน 平远县 Píngyuǎn Xiàn 230045 1,373.98 167
อำเภอเจียวหลิง 蕉岭县 Jiāolǐng Xiàn 205849 961.64 214
นครระดับอำเภอซิงหนิง 兴宁市 Xīngníng Shì 962883 2,075.39 464

เศรษฐกิจ

[แก้]

เหมย์โจวอุดมไปด้วยแหล่งแร่อุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว แร่อุตสาหกรรม 48 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก หินปูน ดินหายาก ดินเกาลิน เหมย์โจวเป็นแหล่งแร่แมงกานีสสำรองในอันดับหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง เหมย์โจวมีแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำพุร้อน และน้ำแร่ที่ผ่านการรับรองมากมาย มีแหล่งท่องเที่ยว เช่น แหล่งประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ที่อยู่อาศัยของบุคคลที่มีชื่อเสียงของจีนในอดีต ทิวทัศน์ธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมจีนแคะ (ฮากกา)[5]

เนื่องจากที่ตั้งที่เป็นภูเขา เหมย์โจวจึงมีพื้นที่ธรรมชาติที่สวยงามและคุณภาพอากาศที่ดี นักท่องเที่ยวหลายคนมาที่สวนชายานหนานเฟย์เพื่อปีนเขา

การขนส่ง

[แก้]

เหมย์โจวเป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมสามมณฑล คือ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และเจียงซี และจุดเชื่อมระหว่างชายฝั่งและพื้นที่บกด้วยทางหลวงหมายเลข 205 และ 206

สถานีรถไฟเหมย์โจวตะวันตก (Meizhou West Railway Station) เปิดบริการใน พ.ศ. 2562 ใช้สำหรับเส้นทางรถไฟโดยสารเหมย์โจว–เฉาซ่าน (แต้ซัว) และให้บริการเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงไปยังกว่างโจว จูไห่ เซินเจิ้น ซัวเถา เฉาโจว อี้ชาง และเซียะเหมิน [6] เส้นทางรถไฟกว่างโจว–เหมย์โจว–ซัวเถา และเส้นทางรถไฟเหมย์โจว–ขั่นซื่อ (坎市镇)

สถานีรถไฟเหมย์โจว (เก่า) ในเมืองยังคงให้การบริการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ (ธรรมดา) กับกวางโจว เซี่ยเหมิน ซัวเถา เซินเจิ้น ต่าปู้ อู่ชาง และคุนหมิง

ท่าอากาศยานเหม่ย์เซียน ในเมืองเหมย์โจวให้บริการเส้นทางการบินในภูมิภาคในเส้นทางกวางโจวและฮ่องกง

ทางน้ำผ่านแม่น้ำเหม่ย์และแม่น้ำฮั่นไปถึงเฉาโจว (แต้จิ๋ว) และซ่านโถว (ซัวเถา)[7]

ทิวทัศน์ของแม่น้ำเหม่ย์ในเหมย์โจวยามค่ำคืน

วัฒนธรรม

[แก้]

เหมย์โจวถือเป็นศูนย์กลางของภาษาแคะ (ฮากกา) มาตรฐาน ร่วมกับ Mei County และ Dabu County ที่อยู่ใกล้เคียง

จีนแคะ (ฮากกา) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งของชาวจีนฮั่นมีพื้นเพมาจากบริเวณแม่น้ำหวง ซึ่งต่อมาอพยพลงใต้เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายในสงครามเมื่อหลายศตวรรษก่อน แต่เนื่องจากการต่อต้านจากชาวพื้นถิ่นกวางตุ้งต่อผู้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาใหม่ ทำให้ชาวจีนแคะจำนวนมากถูกบังคับให้ใช้ชีวิตในเขตภูเขาของมณฑลกวางตุ้ง การอพยพย้ายถิ่นนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีการส่งต่อชาวจีนแคะอพยพไปยังประเทศอื่น ๆ ยังคงมีผู้คนจำนวนมากอพยพมาที่เหมย์โจวในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว

ชาวจีนแคะโพ้นทะเลบางส่วนอพยพกลับหรือส่งเงินช่วยเหลือไปยังเหมย์โจว อาคารหลายหลังได้รับการตั้งชื่อตามคนที่มีชื่อเสียงในเหมย์โจวและชาวจีนแคะโพ้นทะเล

การศึกษา

[แก้]

การศึกษาในเหมย์โจวนั้นมีความสำคัญสูงมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมืองนี้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเจียยิง (嘉应大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นที่ดึงดูดนักศึกษาจากจังหวัดอื่น ๆ มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงด้านการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมแคะ

อาหาร

[แก้]

ผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของเหมย์โจว คือ ส้มโอ ซึ่งออกผลจำนวนมากในช่วงหลังเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน

ส้มโอ
ไก่อบเกลือ

ไก่อบเกลือเป็นอาหารที่รู้จักกันดีในชาวแคะ ซึ่งยังพบได้ในเมืองอื่น ๆ อาหารท้องถิ่นอีกอย่างคือ เย็นตาโฟ (Yong Tau Fu) ว่ากันว่าเมื่อชาวแคะมาทางใต้ครั้งแรกไม่มีแป้งสาลีสำหรับเกี๊ยว ซึ่งแทนด้วยเต้าหู้ การเติมเนื้อสัตว์นั้นให้รสชาติที่พิเศษและกลายเป็นจุดเด่นของอาหารแคะ เนื้อวัวและขิงดองเป็นที่นิยมในท้องถิ่นเช่นกัน

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • Huang Zunxian (2391–2448) นักการทูตและนักปฏิรูป
  • ชุ่นเส็ง แซ่คู (เกิดประมาณคริสต์ทศวรรษ 1840) ชาวไทยเชื้อสายจีนต้นตระกูลชินวัตร และทวดของทักษิณ ชินวัตร[ต้องการอ้างอิง] (นักธุรกิจ นักการเมือง และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย) และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นักธุรกิจไทย นักการเมือง และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย)
  • เย่ เจียนหยิง (2440–2529) ผู้นำทางทหารและนักการเมืองการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งฝ่ายทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชน เป็นผู้นำสูงสุดทางทหารในการรัฐประหาร พ.ศ. 2519 ที่ล้มระบบแก๊งสี่คนและยุติการปฏิวัติวัฒนธรรม
  • หลิน เฟงเมียน (2443–2534) จิตรกร
  • Lee Wai Tong (2448–2522) นักฟุตบอลจีน
  • Liu Fuzhi (2460–2556) นักการเมืองจีน
  • Jana Chen (2532) นักร้อง

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.citypopulation.de/php/china-guangdong-admin.php
  2. http://www.citypopulation.de/php/china-guangdong-admin.php
  3. https://web.archive.org/web/20061212110609/http://www.chinaculture.org/gb/en_travel/2003-09/24/content_35994.htm
  4. https://web.archive.org/web/20070627170757/http://www.meizhou.gov.cn/modules/article/view.article.php?18%2Fc1
  5. https://web.archive.org/web/20061014114829/http://www.gddoftec.gov.cn/sq/en/tz_mz.html
  6. http://cnrail.geogv.org/enus/departure-list/89610054
  7. https://web.archive.org/web/20060822120202/http://www.getgd.net/gd_city/meizou/mzintr.e.html