แม่เจ้าศรีโสภา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
แม่เจ้าศรีโสภา | |
---|---|
แม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา | |
ราชเทวีในเจ้านครน่าน | |
พิราลัย | พ.ศ. 2467 |
พระสวามี | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา |
พระบุตร | เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน) เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน เจ้าบุรีรัตน์ (ขัติยศ ณ น่าน) เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) |
ราชวงศ์ | ติ๋นมหาวงศ์ |
ราชสกุล | ณ น่าน |
พระบิดา | พระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน) |
พระมารดา | เจ้านางภูคา ณ น่าน |
แม่เจ้าศรีโสภา เป็นพระธิดาในพระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน) ประสูติแต่เจ้านางภูคา และเป็นพระนัดดา (หลานปู่)ใน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 และเป็นอัครชายาในเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระประวัติ
[แก้]แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา เป็นพระธิดาในพระยาวังขวา (คำเครื่อง ณ น่าน) พระยาวังขวานครเมืองน่าน (เจ้าคำเครื่อง ผู้เป็นพระโอรสในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 กับแม่เจ้ายอดหล้าอัครราชเทวี (ชายาองค์ที่ 1) ประสูติแต่เจ้านางอุษา (บางแห่งระบุว่าเป็น เจ้านางภูคา ณ น่าน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2409 ได้วิวาหมงคลเสกสมรสกับเจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน (ภายหลังได้เป็น เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64) ผู้เป็นพระโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 กับแม่เจ้าขอดแก้วราชเทวี (ชายาองค์ที่ 2) แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา ประสูติกาลพระโอรสพระธิดากับเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ รวมทั้งสิ้น 8 องค์ และได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัยไป 4 องค์ ที่เหลือมีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
- เจ้าน้อยยานนท์ ณ น่าน
- เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน
- เจ้าน้อยขัตติยศ ณ น่าน
- เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) (ฝ่ายใน) (วิสามัญสมาชิกาจตุตถจุลจอมเกล้า) แด่แม่เจ้าศรีโสภาชายาในเจ้าอุปราช (น้อยมหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน[1]
ถึงแก่อนิจกรรม
แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2467 (นับปีใหม่วันที่ 1 เมษายน) ในบันทึกความทรงจำของนายสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็กในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ กล่าวถึงงานศพแม่เจ้าศรีโสภาว่า
...“ศพของแม่เจ้าศรีโสภา ปลงศพตั้งปราสาท 3 ยอด สวยงามมาก บำเพ็ญกุศล 3 วัน 3 คืน ณ ท้องข่วง มี “การตี๋มวย (ชกมวย)” “ผุยมะนาว (โปรยทาน)” พระศพแม่เจ้าศรีโสภา ตั้งบำเพ็ญพระกุศล 3 วัน 3 คืน แล้วนั้น จึงพระราชทานเพลิง ในระหว่างตั้งปลงพระศพแม่เจ้าศรีโสภา ในการออกบำเพ็ญพระกุศล 3 วัน 3 คืนนั้น นอกจากมีการตีมวย (ชกมวย) และผุยมะนาวแล้ว ยังมีการจุดพลุญี่ปุ่นและอุ่มงัน (สมโภช) ด้วยระนาดปาดก้อง (ฆ้อง) (ปี่พาทย์) วงใหญ่ การบรรเลงเป็นเพลงล้านนาไทยโบราณ เท่าที่ผมจำได้มีเพลงม้าย่อง เพลงม้าตึ๊บคอก (กระทืบ) เพลงปราสาทไหว เพลงกราวนอก เพลงแม่ม่ายก้อม (สั้น) เพลงน้ำตกตาด (เหว) เป็นต้น” (ในการปลงศพ การชกมวย ผุยมะนาวในงานศพจะทำได้เฉพาะงานพระศพของเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น คนสามัญห้ามทำเด็ดขาด เป็นอาณาสิทธิของเจ้าผู้ครองนคร เว้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ให้ทำได้โดยอนุโลม”)
พระราชทานเพลิงศพ
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดหีบเพลิงส่งไปพระราชทานเพลิงพระศพ แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา (จ.จ.) (ชายาองค์ที่ 1) ในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ณ สุสานหลวงดอนไชย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยได้พระราชทานเงิน 1,000 สตางค์ ผ้าขาว 2 พับ กับเครื่องกัณฑ์เทศน์เปนพิเศษเครื่องหนึ่ง[2]
ราชโอรส/ธิดา
[แก้]แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ทรงมีราชโอรส/ราชธิดา ร่วมกัน 4 องค์ ได้แก่
- เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน)
- เจ้านางบัวเขียว สมรสกับ เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน)
- เจ้าบุรีรัตน์ (ขัติยศ ณ น่าน) สมรสกับ เจ้านางจันทรประภา ณ น่าน
- เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) สมรสกับ เจ้านางบุญสม ณ น่าน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่4 จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)(ฝ่ายใน)[3]
ราชตระกูล
[แก้]พงศาวลีของแม่เจ้าศรีโสภา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙ เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๘๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เล่ม ๔๒ หน้า ๑๙๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๘๙๓, ๒๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๕