มาลา คำจันทร์
มาลา คำจันทร์ เป็นนามปากกาของ เจริญ มาลาโรจน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 เป็นนักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)จากเรื่อง เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน
ประวัติ[แก้]
นายเจริญ เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่ ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาจากโรงเรียนศิริมาตย์เทวี จังหวัดเชียงราย อนุปริญญาจากวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และรับราชการเป็นครู 11 ปี และได้จบปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโท วิชาจารึกภาษาไทย คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
เคยเป็นอาจารย์ภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ
นายเจริญ แต่งงานเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 กับนางสาวณัฐยาภรณ์ ใจหล้า หรือ "กระถิน" ปัจจุบันมีลูก 2 คน คือ นายรักพล มาลาโรจน์ และนางสาวพิราภรณ์ มาลาโรจน์
เคยได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ ของโรงเรียนศิริมาตย์ฯ ในขณะที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลงานเขียนชิ้นแรกที่เขียนยาวคือ นิราศผาโขง งานชิ้นนี้เขียนกลอนแปดไม่ได้รับการเผยแพร่ [1]
ผลงาน[แก้]
เรื่องสั้นและนวนิยาย[แก้]
- ทางที่ต้องเดิน (รวมเรื่องสั้น) 2523
- หมู่บ้านอาบจันทร์ 2523
- เด็กบ้านดอย 2524
- ไอ้ค่อม 2525
- ลูกป่า 2525
- นกแอ่นฟ้า 2526
- วิถีคนกล้า 2527
- บ้านไร่ชายดง 2528
- ลมเหนือและป่าหนาว (รวมเรื่องสั้น) 2529
- ท้าสู้บนภูสูง (เรื่องแปล) 2531
- เขี้ยวเสือไฟ 2531
- หุบเขากินคน 2532
- เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน เขียนจากจินตนาการของผู้เขียนเอง โดยไม่ใช่นำมาจากนิทานพื้นบ้านแต่อย่างใด ผู้เขียนบอกในคำนำว่าอยากลองเขียนถึงผู้หญิงในประวัติศาสตร์ ว่าจะมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร เพราะบันทึกประวัติศาสตร์ไม่ได้บอกสิ่งเหล่านี้เอาไว้ หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ปี 2534
- สิงหะนาคะ 2534
- เหรียญเวทมนตร์ 2534
- แพะขาวแพะดำ (นิทานสำหรับเด็ก) 2534
- แมวน้อยตกปลา (นิทานสำหรับเด็ก) 2534
- ฟ้ากว้างเท่าปากบ่อ (นิทานสำหรับเด็ก) 2534
- ดงคนดิบ 2535
- ไฟพรางเทียน (รวมเรื่องสั้น) 2535
- ตำนานบรพพชน(เรื่องเล่าจากตำนาน) 2537
- เรื่องเล่าจากดงลึก (เรื่องราวจากคำบอกเล่า) 2538
- เมืองลับแล 2539
- ใต้หล้าฟ้าหลั่ง 2540
- ดาบอุปราช 2541
- สร้อยสุคันธา 2543
- นางถ้ำ 2545
- แก้วลอดฟ้า ใต้ลมหนาวเมืองเหนือ[2]
- ผีในล้านนา
กงฟ้าลี้ [3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
หนังสืออื่น[แก้]
- มาลา คำจันทร์. พจนานุกรมคำเมือง. เชียงใหม่ : บุ๊คเวิร์ม, 2551. ISBN 978-974-84-1855-1
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "เจริญ มาลาโรจน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-14. สืบค้นเมื่อ 2008-02-24.
- ↑ แก้วลอดฟ้า ใต้ลมหนาวเมืองเหนือ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผีในล้านนากงฟ้าลี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข ๙ มกราคม ๒๕๕๘ หน้า ๙๙
![]() |
บทความเกี่ยวกับนักเขียน หรือ นักประพันธ์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเขียนชาวไทย
- นักประพันธ์รางวัลซีไรต์ชาวไทย
- ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
- รางวัลช่อการะเกด
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นามปากกา
- บุคคลจากอำเภอพาน
- บุคคลจากอำเภอสันป่าตอง
- บุคคลจากโรงเรียนศิริมาตย์เทวี
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- บทความเกี่ยวกับ นักเขียน ที่ยังไม่สมบูรณ์