อำเภอพบพระ
อำเภอพบพระ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phop Phra |
คำขวัญ: เมืองสนสองใบ ศิวิไลซ์น้ำตก พืชผลดกการเกษตร งามเนตรบ่อน้ำร้อน น่าพักผ่อนอากาศดี มากมีชาวเขา | |
แผนที่จังหวัดตาก เน้นอำเภอพบพระ | |
พิกัด: 16°23′10″N 98°41′25″E / 16.38611°N 98.69028°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตาก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,006.5 ตร.กม. (388.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 91,742 คน |
• ความหนาแน่น | 91.15 คน/ตร.กม. (236.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 63160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6307 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพบพระ หมู่ที่ 3 ถนนดอนเจดีย์-วาเล่ย์ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก 63160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
พบพระ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตาก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลช่องแคบ อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระเป็นอำเภอที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเมย แม่น้ำพรมแดนสายสำคัญระหว่างไทยกับพม่า
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอพบพระตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่สอด
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก อำเภอวังเจ้า และอำเภอคลองลาน (จังหวัดกำแพงเพชร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภออุ้มผาง และรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
ประวัติ
[แก้]อำเภอพบพระ เดิมตั้งอยู่ในเขตปกครองของตำบลช่องแคบ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากคำบอกเล่าของนายสูน อดีตผู้ใหญ่บ้านคนที่สองของบ้านเพอะพะ ทราบว่าคำว่า “พบพระ” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เพอะพะ” โดยเล่ารายละเอียดว่า เมื่อตนเองอายุประมาณ 12 ปี บิดาพร้อมญาติ พี่น้องจากบ้านแม่ตาว อำเภอแม่สอด จำนวน 4 ครอบครัว ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณที่เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลพบพระ ในปัจจุบัน ซึ่งในอดีตท้องที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีลักษณะพื้นที่เป็น ป่าหวาย ป่าเตย และป่าแขม มีบริเวณแหล่งน้ำผุดหลายแห่งทั่วบริเวณ ทำให้มีน้ำท่วมขังและเฉอะแฉะ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “เพอะพะ” ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ แปลว่า บริเวณที่มีน้ำขังเป็นแอ่งกระจัดกระจายเปรอะเฉอะแฉะไปทั่วนั้น
เนื่องจากตำบลพบพระมีพื้นที่กว้างขวาง มีอุปสรรคต่อการปกครองดูแลราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และการบริหารจัดการพื้นที่ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลช่องแคบและตำบลพบพระ ที่มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แทรกซึมอยู่ทั่วพื้นที่จึงได้ขอแยกตำบลคีรีราษฎร์เป็นออกจากตำบลช่องแคบอีกตำบลหนึ่ง และได้ขอเสนอตั้งกิ่งอำเภอใหม่ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2520 ได้มีการตั้งกิ่งอำเภอใหม่ เรียกว่า “กิ่งอำเภอพบพระ” มี 3 ตำบล ประกอบด้วยตำบลพบพระ ตำบลช่องแคบ และตำบลคีรีราษฎร์ และเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2530 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้ “กิ่งอำเภอพบพระ” ตั้งเป็นอำเภอพบพระ
- วันที่ 31 มีนาคม 2507 ตั้งตำบลพบพระ แยกออกจากตำบลช่องแคบ[1]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2512 ตั้งตำบลคีรีราษฎร์ แยกออกจากตำบลช่องแคบ[2]
- วันที่ 29 มีนาคม 2520 แยกพื้นที่ตำบลพบพระ ตำบลช่องแคบ และตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอแม่สอด มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพบพระ[3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแม่สอด
- วันที่ 5 เมษายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลพบพระ ในท้องที่บางส่วนของตำบลพบพระ[4]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลวาเล่ย์ แยกออกจากตำบลพบพระ[5]
- วันที่ 12 สิงหาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอพบพระ อำเภอแม่สอด เป็น อำเภอพบพระ[6]
- วันที่ 27 ตุลาคม 2536 ตั้งตำบลรวมไทยพัฒนา แยกออกจากตำบลช่องแคบ และตำบลพบพระ[7]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพบพระ เป็นเทศบาลตำบลพบพระ[8] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอพบพระแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 52 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[9] |
---|---|---|---|---|
1. | พบพระ | Phop Phra | 9
|
23,726
|
2. | ช่องแคบ | Chong Khaep | 15
|
15,216
|
3. | คีรีราษฎร์ | Khiri Rat | 11
|
26,106
|
4. | วาเล่ย์ | Wale | 7
|
12,762
|
5. | รวมไทยพัฒนา | Ruam Thai Phatthana | 11
|
16,277
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอพบพระประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพบพระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพบพระ
- องค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพบพระ (นอกเขตเทศบาลตำบลพบพระ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลช่องแคบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องแคบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีราษฎร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคีรีราษฎร์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวาเล่ย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวาเล่ย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลรวมไทยพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรวมไทยพัฒนาทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สอด และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (29 ง): 899–902. March 31, 1964.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (60 ง): 2074–2076. July 1, 1969.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพบพระ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (26 ง): 1315. March 29, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพบพระ กิ่งอำเภอพบพระ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (54 ง): 1073–1075. April 5, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่กิ่งอำเภอพบพระ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (133 ง): 2860–2864. August 16, 1983.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอพญาเม็งราย อำเภอพบพระ อำเภอทับคล้อ อำเภอบ้านโคก และอำเภอโพธิ์ไทร พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (156 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-28. August 12, 1987. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (173 ง): (ฉบับพิเศษ) 53-57. October 27, 1993.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.