พฤฒาวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พฤฒาวิทยา (อังกฤษ: Gerontology) คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแง่มุมของชีวิตชราภาพ ทั้งในด้านสังคม, วัฒนธรรม, จิตวิทยา, ปริชาน วิชานี้เป็นคนละแขนงกับเวชศาสตร์ผู้สูงอายุที่มุ่งเน้นแต่เพียงศึกษาด้านการรักษาดูแลผู้สูงวัยเท่านั้น แต่วิชาพฤฒาวิทยานั้นเน้นการศึกษาและปฏิบัติในทุกแง่มุมของชีวิตของผู้สูงวัย ทั้งด้านชีววิทยา พยาบาลศาสตร์, การแพทย์, อาชญาวิทยา, ทันตกรรม, งานสังคม, การบำบัดทางร่างกายและจิตใจ, จิตวิทยา, จิตเวช, สังคมวิทยา, เศรษฐศาสตร์, การเมือง, สถาปัตยกรรม, ภูมิศาสตร์, เภสัชกรรม, สาธารณสุข, ที่อยู่อาศัย และมานุษยวิทยา[1]

กล่าวโดยสรุปคือ พฤฒาวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาว่าผู้สูงวัยใช้ชีวิตอย่างไร ในสภาพแวดล้อมแบบไหน มีความสนใจอะไร มีความรับรู้มากแค่ไหน ดูแลสุขภาพอย่างไร ใช้ยาอะไร ฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร สังคมของเขาเป็นอย่างไร มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไรทั้งทางกายภาพและจิตใจ

อ้างอิง[แก้]

  1. Hooyman, N.R.; Kiyak, H.A. (2011). Social gerontology: A multidisciplinary perspective (9th ed.). Boston: Pearson Education. ISBN 978-0205763139.