ข้ามไปเนื้อหา

ฮิเดกิ โทโจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิเดกิ โทโจ
東條 英機
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม ค.ศ. 1941 – 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944
กษัตริย์จักรพรรดิโชวะ
ก่อนหน้าฟูมิมาโระ โคโนเอะ
ถัดไปคูนิอากิ โคอิโซะ
รัฐมนตรีกระทรวงการสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 – 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944
กษัตริย์จักรพรรดิโชวะ
นายกรัฐมนตรีฟูมิมาโระ โคโนเอะ (1940–1941)
ตัวเขาเอง (1941–1944)
ก่อนหน้าฮาตะ ชุนโรกุ
ถัดไปซูงิยามะ ฮาจิเมะ
เสนาธิการทหารบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1944
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าซูงิยามะ ฮาจิเมะ
ถัดไปโยะชิจิโระ อุเมะซึ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 ธันวาคม ค.ศ. 1884(1884-12-30)
ญี่ปุ่น กรุงโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิตธันวาคม 23, 1948(1948-12-23) (63 ปี)
เรือนจำซูกะโมะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สาเหตุการเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการเเขวนคอ[1]
ศาสนาชินโต
พรรคการเมืองสมาคมให้ความช่วยเหลือการปกครองจักรวรรดิ (1940–1945)
คู่สมรสคาสึโกะ อิโต (สมรส 1909–1948)
บุพการี
  • ฮิเดโนะริ โทโจ (บิดา)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ญี่ปุ่น
สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ยศพลเอก
บังคับบัญชากองทัพคันโต (1932–1934)
ผ่านศึก

พลเอก ฮิเดกิ โทโจ (ญี่ปุ่น: 東條英機 หรือ 東条 英機) เป็นรัฐบุรุษและทหารบกในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ผู้นำของสมาคมให้ความช่วยเหลือการปกครองจักรวรรดิ และเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ 27 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกำลังระอุมากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1941 - 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เขาได้เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากการปฏิบัติหน้าที่ของเขาในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงสงคราม[2] ดังเช่นที่มีส่วนรับผิดชอบในการออกคำสั่งให้โจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์และการทำสงครามอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของสงครามระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าการวางแผนได้เริ่มต้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 ก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่ง ภายหลังสงครามยุติลง, โทโจถูกจับกุม ตั้งข้อกล่าวหา และตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิตสำหรับข้อหาอาญากรรมสงครามโดยศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล และถูกแขวนคอ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1948[1]

ประวัติ

[แก้]

เกิดที่เมืองโคจิมาชิชานกรุงโตเกียวในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1884[3] เป็นบุตรคนที่สามของฮิเดโนริ โทโจ นายทหารในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น มีตำแหน่งเป็นพลโท พี่ชายสองคนเสียชีวิตก่อนที่เขาจะเกิด ในขณะนั้นญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การปกครองในช่วงยุค บากูฟุ ซึ่งเป็นการปกครองโดยโชกุนแบบหนึ่ง สังคมญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นสี่วรรณะอย่างเหนียวแน่น พ่อค้า,ชาวนา,ช่างฝีมือและซามูไร หลังการฟื้นฟูเมจิ ระบบวรรณะนั้นถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1871 แต่ความแตกต่างของวรรณะเดิมในหลาย ๆ ด้านยังคงมีอยู่หลังจากนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าพวกวรรณะซามูไรในอดีตยังคงเพลิดเพลินไปกับศักดิ์ศรีดั้งเดิมของตน[4] ตระกูลโทโจมาจากวรรณะซามูไร แม้ว่าตระกูลโทโจนั้นค่อนข้างเป็นนักรบผู้ติดตามชั้นต่ำของ ไดเมียว (ขุนนาง) ที่พวกเขาได้รับใช้มาหลายชั่วอายุคน พ่อของโทโจเป็นซามูไรซึ่งต่อมาเปลี่ยนอาชีพเป็นนายทหารและแม่ของเขาเป็นลูกสาวของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาทำให้ครอบครัวของเขาน่านับถือมาก แต่มีฐานะยากจน[4]

ฮิเดกิมีการศึกษาตามแบบฉบับของเยาวชนญี่ปุ่นในช่วงรัชสมัยจักรพรรดิเมจิหรือยุคเมจิ[5] จุดประสงค์ของระบบการศึกษาของเมจิคือเพื่อปลูกฝังฝึกให้เด็กๆเข้าเป็นทหารเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่และข่าวสารโฆษณาชวนเชื่อถูกเจาะอย่างไม่ลดละไปสู่นักเรียนญี่ปุ่นว่าสงครามเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดในโลกว่าองค์พระจักรพรรดิเป็นเทพพระเจ้าที่มีชีวิตและยิ่งใหญ่ที่สุด เกียรติยศสำหรับคนญี่ปุ่นคือการตายเพื่อจักรพรรดิ[6] ส่วนเด็กหญิงชาวญี่ปุ่นได้รับการสอนว่าเกียรติยศสูงสุดสำหรับผู้หญิงคือการมีลูกชายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะได้เป็นทหารและตายเพื่อจักรพรรดิในสงคราม ในฐานะที่เป็นเด็กผู้ชาย ฮิเดกิ โทโจเป็นที่รู้จักในเรื่องความดื้อรั้นไม่มีอารมณ์ขันเพราะเป็นเด็กที่มีความคิดดื้อดึงและมักจะหาเรื่องชวนต่อสู้หรือไม่ก็เข้าไปรังแกผู้อื่นอยู่เสมอ[7]

ในปี ค.ศ. 1899 ฮิเดกิเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบกแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและสำเร็จการศึกษาระดับที่ 17 จากโรงเรียนนายร้อยแห่งกองทัพกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1915 ในอันดับที่ 42 จากจำนวนนักเรียนนายร้อย 50 คน ได้รับแต่งตั้งยศร้อยตรี สังกัดทหารราบ

ต่อมาในปีเดียวกันเขาได้สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดจาก Army War College จากนั้นในปี ค.ศ. 1919 เขาได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก บัญชาการกองร้อยทหารรักษาพระองค์ที่ 3 ต่อมาเขาได้ถูกส่งไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในฐานะทูตทหาร หลังจากกลับมาจากภารกิจ ในปี ค.ศ. 1920

เข้ารับราชการทหาร

[แก้]

ดำรงตำแหน่งพลตรี

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1934 ฮิเดกิได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น พลตรี และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกบุคคลภายในกระทรวงว่าการสงครามแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น[8] โทโจได้เขียนบทความหนึ่งในหนังสือ ฮิโจจิ โคะคุมิน เซ็นชู (บทความในเวลาฉุกเฉินแห่งชาติ), หนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1934 โดยมีเนื้อหาเสนอและเรียกร้องให้กระทรวงทหารเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นให้กลายเป็นประเทศเผด็จการทหารและมีแนวความคิดลัทธิฟาสซิสต์แพร่ในหนังสือ[9] นอกจากนี้โทโจยังได้มีแนวคิดที่ชื่นชมแสนยานุภาพของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีชัยชนะเหนือรัสเซียในสงครามปี 1904–05 หรือ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นนับถือลัทธิบูชิโดซึ่งมอบเกียรติยศและศักดิ์ศรีที่เหนือกว่าของญี่ปุ่นในขณะที่ญี่ปุ่นไม่กลัวความตายเหมือนชาวรัสเซียที่ขี้ขลาดและต้องการมีชีวิตอยู่ โทโจเห็นว่าญี่ปุ่นยังคงต้องทำสงครามอีกต่อไปที่ ซึ่งจะต้องระดมกำลังพลทั้งประเทศเพื่อทำสงคราม[9]

โทโจได้กล่าวหาโจมตีเหล่าชาติตะวันตก ได้แก่ประเทศอังกฤษ, ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาที่เป็นคู่แข่งและแอบทำ "สงครามอุดมการณ์" กับญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919[10] โทโจได้เขียนสนับสนุนจบการเขียนบทความของเขาโดยระบุว่าญี่ปุ่นจะต้องยืนสูง ด้วยวิธีการขยายอำนาจอิทธิพลของจักรวรรดิญี่ปุ่นไปทั่วโลก[9] ความคิดของเขายังทะเยอทะยานไปถึงการที่จักรวรรดิญี่ปุ่นต้องส่งทหารเข้าไปขับไล่เหล่าประเทศอาณานิคมของยุโรปตะวันตกออกไปและปลดปล่อยประเทศอาณานิคมในเอเชียให้เป็นอิสระ โดยแทรกความเป็นจักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่นในเอเชียเข้าแทนที่ชาติตะวันตก มีการริเริ่มความคิดการก่อตั้งวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาโดยให้ชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำชาวเอเชียปกครองชาวเอเชียด้วยกัน

ทำการรบในจีน

[แก้]

โทโจได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 24 ของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1934[11]

เมื่อเกิดกรณีมุกเดนซึ่งทำให้จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศจีนและเข้ารุกรานยึดดินแดนแมนจูเรียมาได้สำเร็จ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1935 โทโจเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของหน่วยตำรวจลับ "เค็นเปไต" สังกัดกองทัพคันโตของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย ในทางการเมืองเขาเป็นฟาสซิสต์ชาตินิยมและนิยมทหารจนได้รับฉายาว่า (ญี่ปุ่น: "ใบมีดโกน"โรมาจิカミソリทับศัพท์: คะมิโซะริ) สำหรับชื่อเสียงของเขาที่มีจิตใจที่ดุดันโหดร้ายและสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเฉียบคม โทโจยังสมาชิกของกลุ่มโทะเซะฮะ (ที่มีแนวความคิดแบบควบคุม) ซึ่งเป็นฝ่ายในกองทัพบกที่มีแนวคิดขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกลุ่มโคะโดะฮะ ("วิถีจักรวรรดิ")[12] ทั้งกลุ่ม โทะเซะฮะ และ โคะโดะฮะ ในกองทัพมีความเข้มแข็งทางทหารแบบฟาสซิสต์ซึ่งนิยมใช้นโยบายการขยายอำนาจในการทำสงครามรุกรานดินแดนและมีความเป็นเผด็จการภายใต้ระบอบจักรพรรดิญี่ปุ่น แต่ทั้งสองกลุ่มมีความต่างกันในแนวความคิดและวิธีการในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้[12] โดยที่กลุ่มโคะโดะฮะต้องการทำรัฐประหารเพื่อที่จะบรรลุแผนการฟื้นฟูโชวะ; ซึ่งเน้นย้ำ "จิตวิญญาณ" ในฐานะที่เป็นหลักการที่ชนะสงคราม มีแนวความคิดสนับสนุนการเปลี่ยนระบบอย่างรุนแรงและยืนกรานให้ญี่ปุ่นรุกรานสหภาพโซเวียต[12]

ขณะที่กลุ่มโทะเซะฮะยินดีที่จะใช้การลอบสังหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและยังคงเต็มใจที่จะทำงานในระบบแบบเดิมเพื่อให้เกิดการปฏิรูปมากขึ้น; อีกทั้งยังต้องการสร้าง "ความมั่นคงของชาติ" เพื่อระดมพลทั้งชาติก่อนทำสงคราม แม้ว่ากลุ่มโทะเซะฮะจะไม่ปฏิเสธแนวความคิดแบบ "จิตวิญญาณ" ในฐานะที่เป็นปัจจัยที่ชนะสงครามก็เห็นว่าการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางทหารเป็นปัจจัยที่ได้รับชัยชนะและมองว่าสหรัฐอเมริกาเป็นศัตรูในอนาคตเช่นเดียวกับสหภาพโซเวียต[12]

ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1936 กลุ่มทหารโคะโดะฮะได้พยายามทำการก่อรัฐประหารขึ้น โทโจและชิเกะรุ ฮอนโจ ได้ให้การสนับสนุนการกระทำของซะดะโอะ อะระกิ ทั้งสองไม่เห็นด้วยกับการก่อกบฏของกลุ่มโคะโดะฮะที่เป็นคู่แข่งทางการเมือง[13] เมื่อความไปถึงสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ พระองค์เองทรงพิโรธอย่างยิ่งในการที่กลุ่มกบฏโจมตีที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดพระองค์และหลังจากเกิดวิกฤติทางการเมืองสั้นๆ ทรงถ่วงเวลาให้ทหารที่เห็นอกเห็นใจพวกกบฏถูกบังคับให้ยอมจำนน โทโจในฐานะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วย เค็นเปไต เขาสั่งให้จับกุมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในกองทัพคันโตที่สงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการรัฐประหารในกรุงโตเกียว[14] หลังจากนั้นกลุ่มโทะเซะฮะได้ทำการกวาดล้างผู้เห็นต่างทางการเมืองในกองทัพและผู้นำการก่อรัฐประหารถูกดำเนินคดีตัดสินประหารชีวิต หลังจากการกวาดล้างทางการเมืองกลุ่มโคะโดะได้ถูกยุบรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในด้านการเมืองแบบชาตินิยมภายใต้การนำของกลุ่มทหารโทะเซะฮะ โดยมีโทโจเป็นผู้นำ

หลังจากการกวาดล้างกลุ่มโคะโดะฮะ โทโจได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพคันโตในปี ค.ศ.1937[15] ขณะเดียวกันญี่ปุ่นได้ยกสถานะดินแดนยึดครองแมนจูเรียของตนเป็นประเทศอิสระชื่อว่า "ประเทศแมนจู" (แมนจูกัว) แต่ในความเป็นจริงเป็นอาณานิคมหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในทุกด้านและหน้าที่ของกองทัพคันโตนั้นเป็นเรื่องทางการเมืองมากเท่ากับด้านการทหาร[16]

การบริหารประเทศในภาวะสงคราม

[แก้]
ฮิเดกิ โทโจขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ลงปกนิตยสารชาชิน ชูโฮ (2 ธันวาคม ค.ศ. 1942) ครบรอบปีแรกของสงครามมหาเอเชียบูรพา

ฮิเดกิ โทโจ เป็นนายทหารอาชีพที่มีเกียรติประวัติดีเด่น เป็นคนดีซื่อสัตย์และมีคุณสมบัติครบถ้วนของความเป็นสุภาพบุรุษตามมาตรฐาน ของซามูไร เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงทหารบกในรัฐบาลของเจ้าชายโคโนเอะ เมื่อที่ประชุมร่วมกับสมเด็จพระจักรพรรดิของรัฐบาลโน้มเอียงไปในทางการทำสงคราม เจ้าชายฟูมิมาโระ โคโนเอะได้กราบถวายบังคมลาออกจากนายกรัฐมนตรี และ โทโจ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสืบต่อมา อันเป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการถล่มเพิร์ลฮาเบอร์ พร้อม ๆ บุกเข้าสู่อินโดจีน สยาม มลายู ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ในเวลาต่อ ๆ มา ด้วยชัยชนะติดต่อกันมาระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มพ่ายแพ้และกลายเป็นฝ่ายรับหลังยุทธนาวีที่มิดเวย์ ในช่วงแรกๆจะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ ให้ปลดโทโจออกตามคำเรียกร้องของฝ่ายที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโทโจออกตามคำเรียกร้อง เพราะในระหว่างสงครามยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโทโจดำเนินการรบ แต่เมื่อชัดเจนว่าญี่ปุ่นกำลังเพลี่ยงพล้ำในสงครามหลังจากยุทธการโอะกินะวะ อันเป็นผลจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ[17] และการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหภาพโซเวียต เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข โทโจ จึงลาออกและสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศยุติสงครามด้วยการยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยหวังว่าทางสหรัฐอเมริกาจะใจกว้างกว่าสหภาพโซเวียต ช่วง 1 วันก่อนจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข มีความพยายามจากนายทหารฝ่ายขวาจัดบางกลุ่มพยายามก่อการรัฐประหาร เพื่อให้กองทัพสู้ตายและไม่ยอมแพ้แต่ศัตรู ทหารกบฏบางส่วนก็ฆ่าตัวตายหนีความผิดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากจักรพรรดิทรงประกาศยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคมแล้ว [18]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1909 เขาได้สมรสกับคัตสุโกะ อิโตะ มีบุตร 3 คน และธิดา 4 คน

ในระหว่างบริหารประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานในช่วงสงคราม เขาเป็นตัวอย่างของนายทหารที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างยิ่งยวด มีหลักฐานหลายครั้งว่าเขาดำเนินนโยบายด้วยความเคารพในแนวทางที่สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระประสงค์แม้จะมีเหตุผลด้านอื่นที่ดีกว่า หลังสงครามเขาถูกจับกุมตัวนำขึ้นพิจารณาคดีในศาลอาชญากรสงคราม ในวันที่ถูกจับเขาพยายามยิงตัวตาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ คำให้การของเขาต่อศาลอาชญากรสงครามนั้นยืนยันความรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในการ ก่อสงคราม รวมไปถึงคำให้การที่ชี้ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้ทรงเกี่ยวข้องกับการเริ่มสงคราม

วาระสุดท้าย

[แก้]
ฮิเดกิ โทโจ พยายามกระทำอัตวินิบาตกรรม แต่ไม่สำเร็จ

ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ฮิเดะกิ โทโจได้ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตในข้อหาอาชญากรรมสงคราม ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยถูกประหารชีวิตด้วยการเเขวนคอที่เรือนจำซูกะโมะ ตามคำพิพากษาของศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล ซึ่ง เถ้ากระดูกของโทโจ อยู่ที่ศาลเจ้ายาซูกูนิ[19] ภายหลังได้มีการสำรวจทรัพย์สินที่ทางสัมพันธมิตรอายัดไว้ และพบว่าไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเหลืออยู่เลยนอกจากบ้านเก่า ๆ หนึ่งหลัง ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจส่งคืนให้กับภรรยาหม้ายของโทโจไป [20][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ยศทหาร

[แก้]
  • มีนาคม 1905 : ร้อยตรี (陸軍少尉)
  • ธันวาคม 1907 : ร้อยโท (陸軍中尉)
  • ธันวาคม 1915 : ร้อยเอก (陸軍大尉)
  • สิงหาคม 1920 : พันตรี (陸軍少佐)
  • สิงหาคม 1924 : พันโท (陸軍中佐)
  • สิงหาคม 1928 : พันเอก (陸軍大佐)
  • มีนาคม 1933 : พลตรี (陸軍少将)
  • ธันวาคม 1936 : พลโท (陸軍中将)
  • ตุลาคม 1941 : พลเอก (陸軍大将)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Yenne, p. 337.
  2. Moeller, James. "Hideki Tojo in WW2". Study.com.
  3. Gorman, p. 43.
  4. 4.0 4.1 Browne, p. 19.
  5. Browne, pp. 14–15, 19–20.
  6. Browne, pp. 19–20.
  7. Browne, p. 20.
  8. Fredrikson, p. 507.
  9. 9.0 9.1 9.2 Bix, p. 277.
  10. Bix, p. 278.
  11. Lamont-Brown, p. 65.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Bix, p. 244.
  13. Takemae & Ricketts, p. 221.
  14. Browne, p. 59.
  15. Dear & Foot, p. 872.
  16. Browne, p. 60.
  17. Toland, ibid, p. 873
  18. จดหมายจากอิโวจิมา : เสียงกระซิบจากอีกด้านของเหตุการณ์
  19. "ฐานข้อมูลสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิเดกิ โทโจ".
  20. "ตัวอย่างของคนดีที่ทำให้ประเทศชาติพินาศย่อยยับ".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]