ข้ามไปเนื้อหา

เค็มเปไต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เค็นเปไต)
เค็มเปไต
憲兵隊
เจ้าหน้าที่ของ "เค็มเปไต" บนรถไฟในปี ค.ศ. 1935
ประจำการ1881–1945
ปลดประจำการAugust 1945
ประเทศ ญี่ปุ่น
ขึ้นต่อ กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
รูปแบบสารวัตรทหาร (Gendarmerie), ตำรวจลับ
บทบาทหน้าที่ต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการสอบสวน, ตัดสินคดี, ปราบปรามการต่อต้านและการทหาร
กำลังรบมากกว่า 36, 000 นาย (ค.ศ. 1945)
ขึ้นกับHome Ministry (within the Japanese home islands)
Ministry of War (overseas territories)

เค็มเปไต (ญี่ปุ่น: けんへいたいโรมาจิkenpeitaiทับศัพท์: "หน่วยตำรวจทหาร" (/kɛnpˈt/)) เป็นหน่วยงานสารวัตรทหารซึ่งเป็นหน่วยแผนกหนึ่งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น จากปี ค.ศ. 1881 ถึงปี ค.ศ. 1945 เค็มเปไตเป็นทั้งสารวัตรทหารและกองกำลังตำรวจลับ

ในขณะที่เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ เค็มเปไตก็ปลดประจำการของสารวัตร​ทหารสำหรับกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือ (แม้ว่ากองทัพเรือจะมีขนาดเล็กกว่า โทคเคไต) เหล่าหน่วยงานสารวัตร​ทหารเหล่านี้อยู่ภายใต้การชี้นำของรัฐมนตรีมหาดไทยญี่ปุ่นและตำรวจตุลาการภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรียุติธรรมญี่ปุ่น สมาชิกของหน่วยจะถูกเรียกว่า เค็มเป.[1]

ประวัติ

[แก้]
หน่วยเค็มเปไตขณะตรวจค้นอาวุธพลเรือนจีนหลังการล่มสลายของเมืองนานกิง
นักบินการตีโฉบฉวยดูลิตเติลของกองทัพอากาศสหรัฐ ถูกควบคุมตัวโดยหน่วยเค็มเปไตเพื่อทำการประหารชีวิต
สมาชิกของหน่วยเค็มเปไตพร้อมทหารโซเวียตที่ถูกจับกุมเป็นเชลยหลังจากยุทธการทะเลสาบคาซาน

เค็มเปไต ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1881 โดยคำสั่งที่เรียกว่า ญี่ปุ่น: 憲兵条例; พระราชกฤษฎีกาเค็มเป, เปรียบเปรย "บทความที่เกี่ยวข้องกับสารวัตรทหาร".[2] หน่วยเค็มเปไตของญี่ปุ่นได้รับโครงสร้างมาจากหน่วยงานสารวัตร​ทหารของฝรั่งเศสที่เรียกว่า Gendarmerie Nationale รายละเอียดของหน่วยสารวัตร​ทหารผู้บริหารและตุลาการของเค็มเปไตถูกกำหนดโดย เค็มเป เรย์ แห่งปี ค.ศ. 1898, [3] ซึ่งแก้ไขครั้งที่ยี่สิบหกก่อนที่ญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สองในเดือนสิงหาคม 1945

กองกำลังในระยะเริ่มแรกประกอบด้วย 349 นาย การบังคับใช้กฎหมายการเกณฑ์ทหารใหม่เป็นส่วนสำคัญของหน้าที่ของหน่วยเนื่องจากการต่อต้านจากครอบครัวชาวนา ฝ่ายกิจการทั่วไปของเค็มเปไตมีหน้าที่รับผิดชอบในนโยบายของกองทัพ, การบริหารงานบุคคลระเบียบวินัยภายในรวมถึงการสื่อสารกับกระทรวงทหารเรือ, กระทรวงมหาดไทยและการไต่สวนสืบสวนคดี ฝ่ายปฏิบัติการรับผิดชอบด้านการกระจายหน่วยสารวัตร​ทหารในกองทัพ, ความมั่นคงสาธารณะและข่าวกรอง

ในปี ค.ศ. 1907, จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยึดครองเกาหลีในฐานะอาณานิคม หน่วยเค็มเปไตได้รับมอบคำสั่งให้ไปประจำการที่เกาหลีด้วย[4] หน้าที่หลักของหน่วยคือกฎหมายกำหนดให้เป็น "ผู้รักษาความสงบเรียบร้อย", แม้ว่าหน่วยนี้จะทำหน้าที่เป็นสารวัตรทหาร สำหรับกองทัพญี่ปุ่นประจำการอยู่ที่นั่น สถานะนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงหลังจาก การผนวกเกาหลีของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1910

เค็มเปไตมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในจักรวรรดิญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและ และบรรดาดินแดนที่ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีกองกำลังตำรวจลับพลเรือน, โทคโคะ, ซึ่งเป็นตัวย่อของญี่ปุ่น คำว่าโทคุเบ็ตสึ โคะโตะ เคซัตซุไต ("หน่วยตำรวจระดับสูง") ส่วนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย อย่างไรก็ตาม, เค็มเปไตมีแผนกสาขาหน่วยงสย โทคโคะ เป็นของตนเองและได้รับมอบให้ทำหน้าที่มี่เกี่ยวกับการทำงานของตำรวจลับ

เมื่อหน่วยเค็มเปไตจับกุมพลเรือนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้ถูกจับกุมอาจถูกดำเนินคดีทางพลเรือน

ความโหดร้ายของหน่วยเค็มเปไตนั้นโด่งดังและเป็นที่กล่าวขานอย่างมากในเกาหลีและดินแดนที่ถูกยึดครองอื่นๆ เค็มเปไตก็ถูกรังเกียจในประเทศญี่ปุ่นเช่นกันโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อนายกรัฐมนตรี ฮิเดกิ โตโจ ที่เคยดำรงตำแหน่งเค็มเปไตประจำกองทัพคันโตในแมนจูเรีย ตั้งปี ค.ศ. 1935 ถึง 1937, [5] โตโจได้ใช้หน่วยเค็มเปไตอย่างกว้างขวางเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนมีความภักดีและไม่แสดงอาการขัดขืนต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในการทำสงคราม

หน่วยเค็มเปไตได้ถูกปลดอาวุธและถูกยุบหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945.

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการจัดตั้งหน่วยสารวัตรทหารประจำแต่ละเหล่าทัพในกองกำลังป้องกันตนเองขึ้นมาแทนที่หน่วยเค็มเปไตที่ถูกยุบ ในชื่อ "เคมุกัง" ญี่ปุ่น​ : (警務官) โรมาจิ​ : Keimukan

ภารกิจในช่วงสงคราม

[แก้]
หุ่นจำลองเครื่องแบบหน่วยเค็มเปไตที่พิพิธภัณฑ์ป้องกันชายฝั่งฮ่องกง

หน่วยเค็มเปไตมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อไปนี้:

  • อนุญาตหรือให้ใบอนุญาตเดินทาง
  • การเกณฑ์แรงงานทาส
  • การข่าวกรองและการต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อ (ดำเนินการโดย โทคโคะ- เค็มเปไตมีหน้าที่ "ต่อต้านลัทธิอุดมการณ์")
  • จัดหาใบขอเสนอซื้อและการปันส่วน
  • ปฏิบัติการทางจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์โฆษณาชวนเชื่อ
  • คุ้มกันพื้นที่ให้ความปลอดภัยทางการทหาร

ในปี ค.ศ. 1944 แม้สงครามจะเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เค็มเปไตก็ยังคงจับกุมผู้คนไว้สำหรับความรู้สึกต่อต้านสงครามและการเรียกร้องประชาธิปไตย[6]

เครื่องแบบ

[แก้]

บุคลากรสวมมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งของเครื่องแบบภาคสนามของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นหรือชุดทหารม้าที่มีรองเท้าบูทหนังสีดำสูง เสื้อผ้าพลเรือนก็ได้รับอนุญาต แต่ตราประจำตำแหน่งหรือจักรพรรดิญี่ปุ่น ดอกเบญจมาศ สวมอยู่ภายใต้ปกเสื้อแจ็คเก็ต พนักงานเครื่องแบบสวมบั้งนายสิบบนเครื่องแบบและมีปลอกแขนสีขาวที่แขนซ้ายด้วยอักษรญี่ปุ่นคำว่า เค็ง (憲, ที่แปลว่า "กฎหมาย") และ เฮย์ (兵, ที่แปลว่า "ทหาร"), เมื่ออ่านรวมกันจึงอ่านว่า เค็มเป ซึ่งแปลว่า "ตำรวจทหาร"

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Takahashi, Masae (editor and annotator), Zoku Gendaishi Shiryo ("Materials on Contemporary History, Second Series"), Volume 6, Gunji Keisatsu ("Military Police"), (Tokyo: Misuzu Shobo, 1982), pp. v–xxx.
  2. Dajokan-Tatsu (Decree in Grand Council of the State) of 11 March 1881 (14th Year of Meiji), No. 11. This decree was subsequently amended by Chokurei (Order in Privy Council) of 28 March 1889 (22nd Year of Meiji), No. 43.
  3. Order in Privy Council of 29 November 1898 (31st year of Meiji), No. 337.
  4. Order in Privy Council of 1907 (40th Year of Meiji), No. 323.
  5. Naohiro Asao, et al. ed., Simpan Nihonshi Jiten ("Dictionary of Japanese History, New Edition", Tokyo: Kadokawa Shoten, 1997) p. 742 ("Tojo Hideki"), and pp. 348–9 ("Kempei").
  6. Edwin P. Hoyt, Japan's War, p 397 ISBN 0-07-030612-5

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Deacon, Richard, Kempei Tai: A History of the Japanese Secret Service Berkley; Reprint edition 1990. ISBN 0425074587

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]