สุลต่านเซลิมที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซลิมที่ 2
سليم ثانى
กัยเซรีรูม
ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง
เคาะลีฟะฮ์ออตโตมัน
อะมีรุลมุอ์มินีน
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน (ปาดีชาฮ์) องค์ที่ 11
ครองราชย์7 กันยายน ค.ศ. 1566 - 15 ธันวาคม ค.ศ. 1574 (8 ปี 99 วัน)
ขัดดาบ8 กันยายน ค.ศ. 1566
ก่อนหน้าสุลัยมานที่ 1
ถัดไปสุลต่านมูรัดที่ 3
ประสูติ30 พฤษภาคม ค.ศ. 1524[1]
พระราชวังโทพคาปึ, อิสตันบูล, จักรวรรดิออตโตมัน
สวรรคต15 ธันวาคม ค.ศ. 1574(1574-12-15) (50 ปี)
พระราชวังโทพคาปึ, อิสตันบูล, จักรวรรดิออตโตมัน
ฝังพระศพฮาเกียโซเฟีย, อิสตันบูล
คู่อภิเษกนูร์บานู ซุลตัน
พระราชบุตรสุลต่านมูรัดที่ 3
พระนามเต็ม
Selim Şah bin Süleyman Şah Han[2]
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระราชบิดาสุลัยมานที่ 1
พระราชมารดาร็อกเซลานา
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ตราพระปรมาภิไธยทูกรา

สุลต่านเซลิมที่ 2 (ตุรกีออตโตมัน: سليم ثانى Selīm-i sānī, ตุรกี: II.Selim; 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1524 – 15 ธันวาคม ค.ศ. 1574) มีอีกพระนามว่า เซลิมพระเกศาบลอนด์ (ตุรกี: Sarı Selim) [3] (ตุรกี: Sarhoş Selim) เป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันตั้งแต่ ค.ศ. 1566 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1574 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกรกับพระนางร็อกเซลานา พระองค์ไม่น่าจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งสุลต่านจนกระทั่ง เมห์เหม็ด พระเชษฐาสวรรคตจากโรคฝีดาษ และมุสทาฟาถูกพระราชบิดาบีบพระศอจนสวรรคต และบาเยซิดพระอนุชาถูกฆ่าตามพระราชดำรัสสั่งของพระราชบิดาหลังก่อกบฏต่อพระองค์

พระองค์สวรรคตในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1574 และถูกฝังที่ฮาเกียโซเฟีย

ประวัติ[แก้]

พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1524[1] ในรัชสมัยของสุลัยมานผู้เกรียงไกร ผู้เป็นพระราชบิดาของพระองค์ พระราชมารดาของพระองค์คือร็อกเซลานา ผู้เคยเป็นทาสและนางสนมที่เกิดเป็นลูกสาวของนักบวชออร์โธดอกซ์ในยูเครน[4] และต่อมาได้รับอิสรภาพและกลายเป็นพระมเหสีโดยชอบตามกฎหมายของสุลต่านสุลัยมาน[5]

ใน ค.ศ. 1545 ที่คอนยา พระองค์ได้แต่งงาน[ต้องการอ้างอิง]กับนูร์บานู ซุลตัน ซึ่งเธอเป็นมารดาของสุลต่านมูรัดที่ 3 ผู้สืบทอดของพระองค์

นิสัยส่วนพระองค์[แก้]

พระองค์ได้รับการกล่าวขานให้รู้จักในฐานะกษัตริย์พระทัยดี ประชาชนรักไคร่ พระองค์ชอบความสนุกสนานและความบันเทิง ชื่นชอบการดื่มเหล้า และชื่นชอบนักวิชาการและนักกวี เช่นเดียวกับนักดนตรี นักมวยปล้ำ อย่างไรก็ตามมีการระบุว่าพระองค์ไม่ได้ปรากฏตัวในที่สาธารณะมากนัก พระราชบิดาของพระองค์มักเสด็จไปละหมาดในวันศุกร์และออกไปเที่ยวในที่สาธารณะ พระองค์ละเลยสิ่งนี้และใช้เวลาอยู่ในวัง[1]

เหตุการณ์ในรัชสมัย[แก้]

ในรัชสมัยของพระองค์ที่ 2 มีการทำสงครามบ่อยครั้ง มีการทำสงครามกับเวนิสเพื่อแย่ชิงไซปรัส ช่วง ค.ศ.1570-1573 รวมถึงการได้ครอบครองจังหวัดอาเจะฮ์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก และผนวกประเทศตูนิเซียเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ และยังทำสงครามกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Emecen, Feridun (2009). "Selim II". TDV Encyclopedia of Islam, Vol. 36 (Sakal – Sevm) (ภาษาตุรกี). อิสตันบูล: Türkiye Diyanet Vakfı, ศูนย์อิสลามศึกษา. pp. 414–418. ISBN 9789753895668.
  2. Garo Kürkman, (1996), Ottoman Silver Marks, p.41
  3. Somel, Selçuk Akşin (2003). Historical Dictionary of the Ottoman Empire. Lanham, Maryland: Scarecrow Press. p. 263. ISBN 0810843323.
  4. The Speech of Ibrahim at the Coronation of Maximilian II, Thomas Conley, Rhetorica: A Journal of the History of Rhetoric, Vol. 20, No. 3 (Summer 2002), 266.
  5. Peirce, Leslie (1993). The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire. Oxford: Oxford University Press. pp. 61. ISBN 0-19-508677-5.

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สุลต่านเซลิมที่ 2