สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์
สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ | |
---|---|
จุฬาราชมนตรี | |
ชื่ออื่น | อะหมัด มะมูด ซัรกอรี |
ชาติ | ไทย |
สมัย | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช |
ข้อมูลส่วนตัว | |
เกิด | 27 มกราคม พ.ศ. 2459![]() |
เสียชีวิต | 24 มีนาคม พ.ศ. 2553 (94 ปี)![]() |
บิดา | นายฮัจญีมะมูด สุมาลยศักดิ์ |
มารดา | นางเราะมาห์ สุมาลยศักดิ์ |
หมวดหมู่:จุฬาราชมนตรี |
นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ (27 มกราคม 2459 - 24 มีนาคม 2553) อดีตจุฬาราชมนตรีของประเทศไทย และประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ประวัติ[แก้]
นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ มีชื่อทางศาสนาว่า อะหมัด มะมูด ซัรกอรี เกิดเมื่อ 27 มกราคม พ.ศ. 2459 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของฮัจญีมะมูด และนางเราะมาห์ สุมาลยศักดิ์ เมื่อเรียนจบสายสามัญได้เรียนต่อทางด้านศาสนากับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านรวมทั้งอาจารย์ต่วน สุวรรณศาสน์และอาจารย์มุสตาฟา พรหมยงค์ รวมทั้งได้ไปเรียนศาสนาที่เมืองมักกะหฺ ประเทศซาอุดิอาระเบียด้วย
ในด้านสังคมได้เป็นรองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดพระนคร เป็นหัวหน้าคณะธรรมทูตอิสลามของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพฯ 2 สมัยอีกด้วย
ท่านได้รับเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรีหลังจากนายประเสริฐ มะหะหมัด ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2540 ขณะอายุได้ 82 ปีเศษ เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม ฉบับ พ.ศ. 2540 และเป็นประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง
นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 มีนาคม 2553 ด้วยวัย 94 ปี โดยมีพิธีฝังศพวันในวันรุ่งขึ้น (25 มีนาคม) ที่สุสานมัสยิดอัลฮุสนา เจียรดับ แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานดินฝังศพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในการพิธีพระราชทานดินฝังศพด้วย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ไปร่วมในพิธีฝังศพ [1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2547 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
- พ.ศ. 2540 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
อ้างอิง[แก้]
- เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กทม. ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549. หน้า 49 - 51
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2459
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- บุคคลจากจังหวัดฉะเชิงเทรา
- มุสลิมชาวไทย
- จุฬาราชมนตรี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคกิจสังคม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.