พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำมาตย์ตรี
พระยาจุฬาราชมนตรี
(สัน อหะหมัดจุฬา)

ต.จ., จ.ช., จ.ม., ร.จ.พ.
จุฬาราชมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม พ.ศ. 2454 – 27 เมษายน พ.ศ. 2466
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้า พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา)
ถัดไป พระจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด พ.ศ. 2411
เสียชีวิต 27 เมษายน พ.ศ. 2466
บิดา พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา)
มารดา คุณหญิงแพ อหะหมัดจุฬา
คู่สมรส คุณหญิงถนอม อหะหมัดจุฬา
บุตร พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา)
ศาสนา อิสลามนิกายชีอะฮ์

อำมาตย์ตรี พระยาจุฬาราชมนตรี นามเดิม สัน เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) มีชื่อทางศาสนาว่า มิซซา อาลีระชา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2411 เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นปลัดกรมท่าขวามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชาเศรษฐี เมื่อ พ.ศ. 2432 แล้วเลื่อนเป็นพระราชเศรษฐี ตามลำดับ ต่อมาย้ายไปรับราชการกระทรวงยุติธรรมฝ่ายการเงินแล้วเลื่อนขึ้นเป็นจ่าศาลต่างประเทศ จนวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2454 จึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา ถือศักดินา 1400[1]

นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาในด้านศาสนาอิสลามถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานนามสกุล "อหะหมัดจุฬา" เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2456[2]

พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) ป่วยเป็นไข้ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2466 สิริอายุได้ 53 ปี[3] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีฝังศพแทนพระองค์ด้วยที่มัสยิดต้นสน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 14 มกราคม ร.ศ. 130, หน้า 2261
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๕, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 14 กันยายน พ.ศ. 2456, หน้า 1247
  3. ข่าวตาย
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๘๘, ๒๗ พฤศจิกายน ๑๒๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๕, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๐, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๔, ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
  • ภัทระ คาน. สุสานประวัติศาสตร์ 3 สมัย ใน มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชนสามสมัย. กรุงเทพฯ:จิรรัชการพิมพ์. 2544
  • เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กรุงเทพฯ:ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549.