พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา)
พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) | |
---|---|
จุฬาราชมนตรี | |
ชาติ | ไทยเชื้อสายเปอร์เซีย |
สมัย | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช |
ข้อมูลส่วนตัว | |
เกิด | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2437![]() |
เสียชีวิต | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493![]() |
บิดา | พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) |
มารดา | คุณหญิงถนอม อหะหมัดจุฬา |
ข้อมูลอื่น | จุฬาราชมนตรีคนสุดท้ายในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ |
หมวดหมู่:จุฬาราชมนตรี |
พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) กับคุณหญิงถนอม เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 เข้ารับราชการในกรมท่าขวา ได้เป็นหลวงราชเศรษฐีเมื่อ พ.ศ. 2456 ได้รับการแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2473 ถือเป็นจุฬาราชมนตรีคนสุดท้ายในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแก่กรรมเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 รวมอายุได้ 56 ปี ศพของท่านฝังอยู่ที่มัสยิดต้นสน.
เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นคนที่13แห่งราชอาณาจักรไทย พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) กับคุณหญิงถนอม ได้ถวายตัวเป็นหมาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ได้รับราชกาลและโปรดเกล้าให้เป็น “หลวงราชเศรษฐี” รับราชการในกระทรวงมหาดไทยในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ได้เลื่อนเป็น “พระจุฬาราชมนตรี สอน อะหมัดจุฬา”
พระจุฬา (สอน อหะหมัดจุฬา) นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนสุดท้ายในสายสกุลท่านเฉกอหะหมัด (เจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง) บุคคลในสายสกุลนี้ดำรงตำแหน่งพระยาราชมนตรีสืบเนื่องกันมาถึง 13 ท่านโดยไม่ขาดสาย นับแต่รัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา (ท่านเฉกอะหมัดได้รับโปรดเกล้าฯเป็นพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวาที่จุฬาราชมนตรีในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม) จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นเวลาถึง 337 ปี (นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2145 อันเป็นปีที่ท่านเฉกอะหมัดกับท่านมหะหมัดสอิด ได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา จนถึงปีที่ท่านพระจุฬาราชมนตรี (สอน อะหมัดจุฬา) ได้ออกจากบรรดาศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2482)
พระจุฬาราชมนตรี (สอน อะหมัดจุฬา) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2479หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ประมาณ 4 ปี ศพของท่านถูกฝัง ณ สุสานมัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่).[1]
อ้างอิง[แก้]
- ภัทระ คาน. สุสานประวัติศาสตร์ 3 สมัย ใน มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชนสามสมัย. กทม. จิรรัชการพิมพ์. 2544