พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาจุฬาราชมนตรี
(สิน อหะหมัดจุฬา)

มิรซากุลามอุชเซ็น[1]
เจ้ากรมท่าซ้าย
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด พ.ศ. 2391
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต 10 มิถุนายน พ.ศ. 2453
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บิดา พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม)
มารดา คุณหญิงกลิ่น
คู่สมรส คุณหญิงแพ
นางพิน
นางแดง
บุตร 12 คน

พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) กับคุณหญิงกลิ่น ธิดาพระยารามัญวงศ์ (มะโดด) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2391 บิดานำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กตั้งแต่อายุ 18 ปี เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์ มียศเป็นนายฉลองไนยนารถ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านย้ายมาเป็นขุนนางกรมท่าซ้าย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชเศรษฐี ระหว่างนี้ก็ศึกษากฎหมายด้วย

ครั้นถึงรชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชเศรษฐี และเมื่อบิดาถึงแก่กรรมจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าซ้าย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 นอกจากนั้นยังเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศในกระทรวงยุติธรรมอีกตำแหน่งหนึ่ง ท่านเป็นข้าราชการที่สนิทชิดเชิ้อกับรัชกาลที่ 5 เป็นพิเศษ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และพานทองเทียบชั้นเจ้าพระยาพานทอง เมื่อท่านเจ็บป่วยก็โปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงมาดูแลรักษา

พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ป่วยเป็นฝีที่แก้มและที่ชายโครง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2453[2] รวมอายุ 65 ปี โปรดให้มีการแห่ศพทางน้ำอย่างสมเกียรติ พระราชทานไม้นิซ่านปักที่หลุมศพของท่านและทรงเป็นประธานในพิธีฝังศพด้วยพระองค์เองที่มัสยิดต้นสน

ครอบครัว[แก้]

พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) สมรสกับคุณหญิงแพ มีบุตร 4 คน คือ

  1. พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)
  2. ป๋ง (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
  3. เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5
  4. ลมุล อหะหมัดจุฬา หัวหน้าพนักงานภูษามาลา

นอกจากนี้ท่านยังมีภรรยาอีก 2 คน คือ นางพิน มีบุตร 1 คน คือ ขุนวรวาที (เล็ก อหะหมัดจุฬา) และนางแดง มีบุตร 6 คน คือ

  1. แม้น อหะหมัดจุฬา
  2. พระจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา)
  3. พระราชเศรษฐี (สุทธิ์ อหะหมัดจุฬา)
  4. สายหยุด อหะหมัดจุฬา มหาดเล็กหลวง
  5. หยด อหะหมัดจุฬา
  6. ย้อย อหะหมัดจุฬา

และมีธิดาอีกคนหนึ่งชื่อแป๊ด ภายหลังเธอออกจากครอบครัวเพราะรักกับชายชื่อปลื้ม จนเกิดคดีความเมื่อ พ.ศ. 2442[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • ภัทระ คาน. สุสานประวัติศาสตร์ 3 สมัย ใน มุสลิมมัสยิดต้นสนกับบรรพชนสามสมัย. กทม. จิรรัชการพิมพ์. 2544
  • เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กทม. ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549
  1. สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย. พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน-กุลาฮูเซ็น) เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 27 มกราคม 2556
  2. "ข่าวฝังศพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 483. 19 มิถุนายน ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. ภาวิณี บุนนาค. รักนวลสงวนสิทธิ์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2563, หน้า 93-94
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๒๓, ตอน ๒๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๔๙, หน้า ๗๑๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
  6. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์