ความสมมูลเท็จ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สมมูลเท็จ)
ความสมมูลเท็จ
ตัวอย่างของความสมมูลเท็จ ที่ชี้ว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ไม่ต่างกับพระเยซูคริสต์ทางอุดมการณ์ เพราะมีหนวดทั้งคู่

ความสมมูลเท็จ (อังกฤษ: false equivalence, false equivalency) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่สิ่งสองสิ่งจัดว่าสมมูลกันหรือเท่าเทียมกัน โดยใช้เหตุผลที่บกพร่องหรือเป็นเท็จ[1] ในสำนวนภาษาอังกฤษ การเปรียบเทียบเป็นความเท่าเทียมกันผิดๆ เช่นนี้มักจะเรียกว่า "การเปรียบเทียบแอปเปิลกับส้ม" (comparing apples and oranges)

ลักษณะ[แก้]

การจัดสิ่งสองสิ่งที่มีลักษณะอย่างหนึ่งซึ่งเหมือนกันว่าเท่าเทียมกันหรือสมมูลกัน เมื่อความสมมูลกันไม่ใช่ผลหรือข้อสรุปทางตรรกะ โดยเฉพาะในเรื่องอันดับของขนาด นี่จัดเป็นความสมมูลเท็จ[2] เหตุผลวิบัตินี้มักเกิดเมื่อระบุเกร็ดเรื่องราวที่คล้ายๆ กันว่าเท่าเทียมกัน แต่ข้อสรุปคือความเท่าเทียมกันไม่สมเหตุผล เพราะคิดง่ายๆ เกินไปหรือว่าไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ โดยมักจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้

ถ้า A เป็นเซตที่มีสมาชิก c และ d ส่วน B เป็นเซตที่มี d และ e เพราะเซตทั้งสองมี d เหมือนกัน ดังนั้น A และ B จึงเท่ากัน

รูปแบบที่วิบัติยิ่งกว่านั้นก็คือ ไม่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ d ในเซตทั้งสอง มีเพียงแต่สิ่งที่คล้ายกัน คือ d_1 ในเซต A และ d_2 ในเซต B แต่กลับใช้สิ่งที่คล้ายกันเป็นเหตุผลเพื่อสรุปว่าเซตทั้งสองเท่ากัน[3] ตัวอย่างก็คือ

ถ้าทั้งแอปเปิลและส้มเป็นผลไม้ และทั้งสองต่างก็มีเม็ด ดังนั้น เพราะทั้งสองต่างมีเม็ด แอปเปิลและส้มจึงเท่ากัน[2]

ตัวอย่าง[แก้]

อันดับของขนาด
รอยเปื้อนน้ำมันในลานจอดรถ
คราบน้ำมันรั่วไหล (oil spill) ในทะเล

นี้เป็นตัวอย่างต่างๆ ของความสมมูลเท็จ[3]

การรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน ไม่ได้เป็นอันตรายยิ่งกว่าเมื่อเพื่อนบ้านทำน้ำมันรั่วลงบนพื้นเมื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถ
ความสมมูลเป็นเท็จเพราะเปรียบเทียบสิ่งสองสิ่งที่ต่างกันเป็นหลายๆ อันดับขนาด[3] เพราะดีพวอเทอร์ฮอไรซันได้ทำน้ำมันให้รั่วไหลถึง 790 ล้านลิตร[4] เทียบกับเมื่อเพื่อนบ้านทำน้ำมันรั่วเพียงแค่ 0.47 ลิตร
(เพราะ)สัตว์ทั้งสองต่างก็อยู่ในวงศ์เสือและแมว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ[5] ดังนั้น การเลี้ยงแมวจึงไม่ต่างกับการเลี้ยงเสือจากัวร์[6]
ความสมมูลเป็นเท็จเพราะเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ[7] ที่ทำให้สัตว์เหมาะสมเป็นสัตว์เลี้ยงง่ายเกินไป[3]
การใช้กัญชาจะทำให้ใช้และติดเฮโรอีนต่อมาในชีวิต เพราะเป็นยาเปิดประตู ดังนั้น การใช้กัญชาจึงเหมือนกับการใช้เฮโรอีน[8]
ความสมมูลเป็นเท็จเพราะไม่พิจารณาความน่าจะเป็นที่ต่างๆ กัน เพราะการใช้เฮโรอีนมีโอกาสทำให้ติดเฮโรอีนในอนาคตมากกว่าการใช้กัญชา นี้แม้เมื่อพิจารณาสมมติฐานแล้วว่า คนที่ใช้กัญชามีโอกาสทดลองใช้เฮโรอีนในอนาคตมากกว่าคนที่ไม่เคยใช้[8]

ผลลบ[แก้]

นักข่าวบางครั้งจะให้เหตุผลโดยอาศัยความสมมูลเท็จ[9][10] ในการเมือง ข้อบกพร่องของนักการเมืองคนหนึ่ง อาจจะเอาไปเทียบกับข้อบกพร่องแบบคนละเรื่องกันของอีกคนหนึ่ง[11]

ศาสตราจารย์ทางด้านรัฐบาลและสื่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เขียนเรื่องความสมมูลเท็จที่สื่อใช้ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Phillips, Harry; Bostian, Patricia (2014). The Purposeful Argument: A Practical Guide, Brief Edition (Second ed.). Cengage Learning. p. 129. ISBN 9781285982847.
  2. 2.0 2.1 "False Equivalence". Truly Fallacious. 2013-08-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-14. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Bennett, Robert "Bo". "False Equivalence". Logically Fallacious. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27.
  4. On Scene Coordinator Report on Deepwater Horizon Oil Spill (PDF) (Report). September 2011. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  5. Salles, L. O. (1992). "Felid phylogenetics: extant taxa and skull morphology (Felidae, Aeluroidea)" (PDF). American Museum Novitates (3047). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-18. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  6. "Cat or Lion: Differences Between Wild and Domestic Cats". Lone Tree Veterinary Medical Center. 2017-02-16.
  7. "Distinguishing Cougars, Bobcats, and Domestic Cats". Department of Natural Resources. State of Michigan.
  8. 8.0 8.1 Finocchiaro, Maurice A. (1981). "Fallacies and the Evaluation of Reasoning". American Philosophical Quarterly. 18 (1): 13–22. ISSN 0003-0481. JSTOR 20013887.
  9. Krugman, Paul (2016-09-16). "The Falsity of False Equivalence". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
  10. Phillips, Ari (2016-08-26). "Welcome to the maddening world of false equivalence journalism (from a climate reporter who knows)". Fusion. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
  11. Buchanan, Neil H. (2016-06-22). "The False Equivalence of Clinton and Trump's Negatives". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
  12. Patterson, Thomas E. (2016-12-07). "News Coverage of the 2016 General Election: How the Press Failed the Voters". Shorenstein Center.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]