พระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย
อดีตสมเด็จพระราชาธิบปีมีไฮในปีค.ศ. 2007
พระมหากษัตริย์โรมาเนีย
ทรงราชย์ครั้งแรก20 กรกฎาคม 1927 – 8 มิถุนายน 1930
ก่อนหน้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1
ถัดไปคาโรลที่ 2
ทรงราชย์ครั้งสอง6 กันยายน 1940 – 30 ธันวาคม 1947
ราชาภิเษก6 กันยายน ค.ศ. 1940
ก่อนหน้าคาโรลที่ 2
ถัดไปสิ้นสุดระบอบกษัตริย์
ประสูติ25 ตุลาคม ค.ศ. 1921(1921-10-25)
ปราสาทเปเลช, ซีนาเอีย, ราชอาณาจักรโรมาเนีย
สวรรคต5 ธันวาคม ค.ศ. 2017 (96 ชันษา)
อูบอนน์, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
คู่อภิเษกแอนน์ เดอ บูร์บง-ปาร์มา (สมรส 1948; เสียชีวิต 2016)
พระราชบุตรมกุฎราชกุมารีมาร์กาเรตา
เจ้าหญิงเอเลนา
เจ้าหญิงอีรีนา
เจ้าหญิงโซฟี
เจ้าหญิงมารีอา
ราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 2
พระราชมารดาเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก
ศาสนาออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (โรมาเนีย: Mihai I al României, Michael I al României) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโรมาเนียระหว่าง ค.ศ. 1927 จนกระทั่งถูกพระราชบิดาทวงราชบัลลังก์คืนไปในค.ศ. 1930 และขึ้นครองราชย์อีกครั้งระหว่าง ค.ศ. 1940 จนกระทั่งทรงถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์บังคับให้สละราชสมบัติในปีค.ศ. 1947 แล้วจึงทรงลี้ภัยไปพำนักในรัฐโวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮทรงมีเชื้อสายของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรและเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

ช่วงต้นของพระชนมชีพ

เจ้าชายมีไฮประสูติที่ ปราสาทเปเรชในเมืองซีนาเอีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย ทรงเป็นพระโอรสในมกุฎราชกุมารคาโรลกับเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก และจึงมีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย เมื่อมกุฎราชกุมารคาโรลได้ทรงหนีไปฝรั่งเศสกับนางกำนัลชื่อแม็กดา ลูเพสคู ในปี 1925 ก็ทำให้มกุฎราชกุมารคาโรลหลุดจากตำแหน่งรัชทายาท เจ้าชายมีไฮจึงได้รับการประกาศให้เป็นรัชทายาท เมื่อพระบรมอัยกาเสด็จสวรรคตในวันที่ 20 กรกฎาคม 1927 เจ้าชายมีไฮในวัย 5 ชันษาก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์โรมาเนียภายใต้คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อันประกอบด้วย เจ้าชายนิโคลัส เสด็จน้า, พระสังฆราชคริสตจักรโรมาเนีย และประธานศาลสูงสุด

อิทธิพล

ถูกถอดจากราชสมบัติ และยุคของจอมพลอันโตเนสคู

พระราชาธิบดีมีไฮและ จอมพลเอียน อันโตเนสคู ขณะทำการวางแผนที่ริมฝั่งแม่น้ำปรูต

ในปี 1930 อดีตมกุฎราชกุมารคาโรลที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์ ได้เสด็จกลับประเทศภายใต้คำเชื้อเชิญของนักการเมืองที่ไม่พอใจในผู้สำเร็จราชการ พระราชบิดาของพระองค์ได้ประกาศตนเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียโดยทางรัฐสภาได้ลงมติถอดสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮออกจากราชบัลลังก์ให้ดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมารด้วยตำแหน่ง "แกรนด์วออิวอดออฟเอลบา-ลูเลีย" ในเดือนพฤศจิกายน 1939 เจ้าชายมีไฮได้เข้าร่วมวุฒิสภาโดยรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2481 ได้กำหนดให้พระองค์มีตำแหน่งในสภาเมื่อมีพระชนมายุครบ 18 ชันษา ในเดือนกันยายน 1940 ผู้นิยมนาซีเยอรมนีต่อต้านพรรคบอลเชวิค นายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคู ได้กระทำการรัฐประหารต่อต้านสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 ซึ่งอันโตเนสคูเรียกพระองค์ว่าผู้ต่อต้านนาซี อันโตเนสคูได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญและล้มล้างระบบรัฐสภาและก่อตั้งเจ้าชายมีไฮขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งโรมาเนียอีกครั้งเมื่อมีพระชนมายุ 18 ชันษา พระองค์ได้สวมมงกุฎเหล็กแห่งโรมาเนียและได้รับการแต่งตั้งโดยพระสังฆราชานิโคดิม มันทีนู แห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์บูคาเรสต์ ในวันที่ 6 กันยายน 1940 พระองค์ทรงได้รับพระยศเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพและทรงแต่งตั้งและมอบหมายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจเต็มในชื่อ 'Leader of the people' = "Conducător" แต่ในความเป็นจริงพระองค์มีพระราชอำนาจเพียงในนามเท่านั้นจนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคม 1939

การหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี

ในปี พ.ศ. 2487 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น การเพลี่ยงพล้ำของฝ่ายอักษะแต่เผด็จการทหารของนายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคูยังคงปกครองโรมาเนีย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 โซเวียตจำเป็นต้องโจมตีโรมาเนียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พระราชาธิบดีมีไฮได้เข้าร่วมกับนักการเมืองฝ่ายพันธมิตร ได้กระทำรัฐประหารต่อต้านอันโตเนสคู นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่แต่งตั้งโดยพระราชาธิบดีมีไฮคือ คอนสแตนติน เซนาเทสคู ได้ให้ความคุ้มครองอันโตเนสคูจากพวกคอมมิวนิสต์ก่อนถึงโซเวียตและส่งเขาแก่สหภาพโซเวียตในวันที่ 1 กันยายน เพื่อกระทำการประหารชีวิต พระองค์ได้ขอสงบศึกกับกองทัพแดงที่เข้ารุกรานมอลดาเวียนและได้ประกาศพักรบกับอังกฤษและอเมริกา และได้ประกาศสงครามกับโรมาเนีย อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถหยุดโซเวียตที่จับกุมทหารชาวโรมาเนียกว่า 130,000 นายที่ถูกส่งไปยังโซเวียต ถึงแม้ว่าประเทศพันธมิตรของนาซีจะจบสิ้นหมดแต่การเคลื่อนไหวของกองทัพแดงยังคงมีอยู่ในเยอรมนี การพักรบนั้นได้ลงไว้แค่เพียง 3 สัปดาห์หลังจาก 12 กันยายน พ.ศ. 2487 ในอนุสัญญาของโซเวียต

สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของโรมาเนียหลังม่านเหล็กที่สูญเสียราชบัลลังก์ หลังจากสงครามสิ้นสุดลง พระองค์ทรงได้รับรางวัลขั้นสูงสุดแห่งลีเจียนออฟเมอริตโดยแฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา พระองค์ได้รับการประดับเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยชนะจากโจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียตด้วยเหตุผลที่ว่า

สำหรับความกล้าหาญในการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของโรมาเนีย และเข้าร่วมการต่อสู้เคียงข้างฝ่ายสัมพันธมิตร,ถึงแม้ในเวลานั้นจะยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงความพ่ายแพ้ของเยอรมนีก็ตาม

ราชบัลลังก์ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์

ไฟล์:King Michael with communist goverment.jpg
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนียในรัฐสภาแวดล้อมไปด้วยรัฐบาลคอมมิวนิสต์

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 ความกดดันทางการเมืองต่อพระเจ้ามีไฮที่สหภาพโซเวียตและพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียมีอำนาจมากขึ้น กษัตริย์ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์พระเจ้ามีไฮมีอำนาจแต่เพียงในพระนามเท่านั้น ในระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ช่วงนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "royal strike" พระเจ้ามีไฮทรงประสบความล้มเหลวที่จะต่อต้านคณะรัฐบาลคอมมิวนิสต์ซึ่ง เปทรู โกซาเป็นนายกรัฐมนตรีคอมมิวนิสต์คนแรกไม่ได้ลงนามในพระราชกฤษฎีกา ด้วยแรงกดดันจากสหภาพโซเวียตทำให้พระเจ้ามีไฮต้องทรงยินยอมรัฐบาลคอมมิวนิสต์และหยุดการต่อต้าน

พระองค์ไม่ได้พระราชทานอภัยโทษแก่อดีตนายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคูผู้ซึ่งถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตด้วยเหตุผลที่ว่า "สำหรับการทรยศชาวโรมาเนียเพื่อผลประโยชน์ของนาซีเยอรมนี สำหรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองจากโรมาเนียถึงเยอรมนี, สำหรับการร่วมมือกับทหารหมวกเหล็ก (เวร์มัคท์) สำหรับการฆาตกรรมคู่แข่งทางการเมือง สำหรับการคร่าชีวิตพลเรือน และการกระทำที่ต่อต้านทางแห่งสันติภาพ" พระเจ้ามีไฮทรงสนับสนุนผู้ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่าง ลูลิว มานิวและ ตระกูลบราเทียนู พระองค์ในภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ทรงให้พระองค์ทำอะไรนอกจากจะได้รับการยินยอมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลูเซรทิว ปาเทสคานูผู้ซึ่งเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ บันทึกของเจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนียสมเด็จอาของพระเจ้ามีไฮซึ่งเป็นการตอบโต้กับอีมิล บอดนาลาส ผู้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคอมมิวนิสต์และเป็นสายลับจากสหภาพโซเวียต อีมิลได้กล่าวไว้ว่า "ถ้าฝ่าบาททรงตัดสินพระทัยไม่แสดงอากัปกิริยาที่แสดงให้เห็นถึงการต่อต้าน ข้าขอสัญญาพวกเราจะช่วยค้ำจุนพระองค์ต่อไป" เจ้าหญิงอีเลียนาทรงตอบกลับว่า"ท่านช่างรู้ดีจริง พระองค์จะไม่เป็นอิสระ และการลงพระนามเอกสารอันไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ถ้าพระองค์ทรงลงพระนาม ทั้งหมดก็จะเป็นช่องทางของพวกท่าน และรัฐบาลของท่านต้องรับผิดชอบกับการกล่าวตำหนิจากประเทศชาติทั้งปวง แน่นอนท่านก็จะมีอุปสรรคเพิ่มขึ้นจาการกระทำการครั้งนี้!"

การบังคับสละราชสมบัติ

พระราชโองการสละราชบัลลังก์ พ.ศ. 2490
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 พระเจ้ามีไฮได้ทรงเดินทางไปยังลอนดอนเพื่อทรงไปร่วมงานอภิเษกสมรสของพระญาติคือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ กับ ดยุคแห่งเอดินบะระ เป็นสาเหตุให้พระองค์ทรงได้พบ เจ้าหญิงแอนน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา ผู้ซึ่งต่อมาคือพระมเหสีของพระองค์ พระองค์ได้เรียกร้องและสนับสนุนเกี่ยวกับการมีกษัตริย์เป็นประมุขของแผ่นดิน พระองค์ไม่ต้องการกลับประเทศ แต่ชาวอเมริกันและชาวอังกฤษกล่าวว่าการอภิเษกสมรสครั้งนี้ปลุกใจให้พระองค์เรียกร้องสิทธิ์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้แนะนำให้พระองค์กลับประเทศด้วยเหตุผลที่ว่า "กษัตริย์ต้องกล้าหาญเหนือสิ่งอื่นใด" และพระองค์ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยพระองค์เอง พระเจ้ามีไฮปฏิเสธทุกทางในการลี้ภัยและตัดสินใจกลับโรมาเนีย

อย่างไรก็ตาม วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 พระเจ้ามีไฮได้ถูกบีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ พระราชวังหลวงถูกปิดล้อมไปด้วยกองกำลังทิวดอร์ วลาดิมีเรสคู ซึ่งเป็นกองกำลังของฝ่ายคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ประกาศล้มล้างระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐประชาชน (สังคมนิยม) และได้ประกาศการลงนามสละราชบัลลังก์ของพระองค์ ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2491 พระองค์ได้ถูกบังคับให้ออกจากโรมาเนีย หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียและเจ้าหญิงอีเลียนาได้เสด็จออกนอกประเทศ เนื่องจากทั้ง 2 พระองค์ทรงมีความสนิทสนมกับชาวรัสเซียมากทำให้ทรงถูกเรียกว่า "สมเด็จอากองทัพแดงของพระเจ้ามีไฮ" หลังจากนั้นจึงมีการถามกันมากมายว่าทำไมพระองค์จึงสละราชบัลลังก์ พระองค์ได้ทรงเล่าว่านายกรัฐมนตรีคอมมิวนิสต์เปทรู กอร์ซา ได้ขู่พระองค์ด้วยการจะลอบยิงพระองค์และจะทำการเปิดโปงเรื่องที่รัฐบาลชุดเก่าได้ทำการสังหารนักศึกษาที่ถูกจับกุมไปกว่า 1,000 คนให้ต่างชาติได้รับรู้ถ้าพระองค์ไม่สละราชบัลลังก์ การสัมภาษณ์ในนิตยสารเดอะ นิวยอร์ก ไทม์ ในปีพ.ศ. 2550 พระองค์ได้ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า "มันเป็นการแบล็กเมล์ พวกเขาบอกว่าถ้าพระองค์ไม่ลงพระนามด้วยตนเองไม่อย่างนั้นพวกเราจะบังคับ ทำไมต้องบังคับ พระองค์เองก็ไม่ทราบ ที่ฆ่านักศึกษากว่า 1,000 คนในคุกไงล่ะ" นิตยสารไทม์ ได้เชื่อว่าพวกคอมมิวนิสต์ทำการขู่พระองค์จริง ถ้าพระองค์ไม่สละราชสมบัติอาจมีการนองเลือดมากกว่านี้

ไฟล์:King Michael in Bucharest.jpg
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮในกรุงบูคาเรสต์ปีพ.ศ. 2540

ทางผู้นำคอมมิวนิสต์ในแอลบาเนีย เอนเวอร์ ฮอซา ได้เล่าถึงการสนทนากับผู้นำคอมมิวนิสต์โรมาเนียในการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้ามีไฮ พระองค์ทรงถูกขู่หมายเอาชีวิตจากหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย กีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ จากนั้นเปทรู กอร์ซาก็ให้พระองค์สละราชบัลลังก์ แต่ปัจจุบันหลักฐานยังไม่เพียงพอจึงยังสรุปไม่ได้ ฮอซาได้บอกว่าทหารของพระองค์เองที่ล้อมวังหลวงของพระองค์ไม่ใช่กองกำลังทิวดอร์ วลาดิมีเรสคู

ทฤษฎีนี้ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการโดยระบอบของนิโคไล เชาเชสกู โดยในเรื่อง 'novel historical revelation' ในช่วง 60 ปีที่แล้วได้เล่าถึงบทบาทของพระเจ้ามีไฮที่ 1 ซึ่งนำมาซึ่งการล้มล้างอำนาจเผด็จการของอันโตเนสคูในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 ข้อมูลที่คอมมิวนิสต์ต้องการและพยายามเผยแพร่คือ การที่พระองค์ปฏิบัติตนไม่เป็นที่พอใจของพวกเขา จึงต้องบังคับให้สละราชบัลลังก์ หลังจากนิโคไลเชาเชสคูและนางอีลีนา เชาเชสคูภรรยาถูกตัดสินประหารชีวิตในช่วงจุดเสื่อมของคอมมิวนิสต์ เมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ในโรมาเนียล่มสลาย พระองค์จึงทรงเสด็จนิวัติกลับโรมาเนียอีกครั้งหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีแห่งโรมาเนีย คาลิน โปเปสคู-ทาริเชียนู ได้ปฏิเสธการกล่าวหาเกี่ยวกับพระเจ้ามีไฮ และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์แต่เป็นเพียงในพระนามและให้เป็นศูนย์รวมใจของประชาชน

พระชนมชีพหลังสละราชบัลลังก์

พิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮแห่งโรมาเนียกับเจ้าหญิงแอนน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2491 พระองค์ทรงได้รับพระอิศริยยศเป็น "เจ้าชายแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น แทนพระอิศริยยศ "กษัตริย์แห่งโรมาเนีย" หลังจากการสละราชสมบัติ และหลังจากการล่มสลายของคอมมิวนิสต์พระองค์จึงทรงได้กลับคืนสู่พระอิศริยยศเดิม

ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2491ที่กรุงเอเธนส์, กรีซ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแอนน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา ทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันครั้งแรกที่อังกฤษและจากนั้นที่สวิตเซอร์แลนด์ พรรคคอมมิวนิสต์ได้ถอดถอนพระองค์จากการเป็นชาวโรมาเนีย พระองค์และเจ้าหญิงมีพระธิดาทั้งหมด 5 พระองค์

ในปี พ.ศ. 2535 พรรคคอมมิวนิสต์ถูกปฏิวัติล้มล้างในโรมาเนีย รัฐบาลได้เชิญให้พระองค์เสด็จกลับประเทศเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ ในบูคาเรสต์ชาวโรมาเนียกว่าล้านคนออกมารับเสด็จพระองค์ ทำให้พระองค์ถูกเตือนโดยประธานาธิบดีเอียน อีลีเอสคู ดังนั้นพระองค์จึงไม่ได้รับการอนุญาตให้เสด็จมาโรมาเนียเป็นเวลา 5 ปี ในปี พ.ศ. 2540 หลังจากอีลีเอสคูถูกรัฐประหารโดยอีมิล คอนสแตนติเนสคู รัฐบาลได้คืนให้พระองค์ดำรงเป็นชาวโรมาเนีย พระองค์ทรงประทับที่สวิตเซอร์แลนด์ บ้างก็โรมาเนียที่ปราสาทซาวาร์ซิน ในอารัดหรือในพระราชวังอลิซาเบตาที่บูคาเรสต์

พระองค์มีพระราชธิดา 5 พระองค์ คือ

เจ้าหญิงอีลีนาและเจ้าหญิงไอรีนาต่างมีพระโอรสและพระธิดาทั้งคู่ เจ้าหญิงโซเฟียมีพระธิดา การสืบราชบัลลังก์ในโรมาเนียภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2466 กล่าวไว้ว่า ถ้าสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮเสด็จสวรรคตโดยปราศจากพระโอรส พระราชสมบัติจะถูกถ่ายโอนไปยังเชื้อพระวงศ์ในสาย ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมารินเกน

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการสละราชสมบัติของพระเจ้ามีไฮ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระธิดาองค์โตคือ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตตาแห่งโรมาเนียขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย และพระอิสริยยศ "ผู้ดูแลราชสมบัติแห่งโรมาเนีย" และเป็นโอกาสนี้ที่พระองค์เสนอให้รัฐบาลพิจารณาในการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2550 มีประชากร 14% เห็นด้วยในการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ และนอกจากนั้นปี พ.ศ. 2551 มีประชากร 16% เป็นผู้นิยมระบอบกษัตริย์

พระพลานามัย

โฆษกประจำสำนักพระราชวังของโรมาเนียได้แถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 ประทับรักษาพระอาการประชวร พระพลานมัยย่ำแย่ลงอย่างมาก กำลังพระวรกายลดลง คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้ถวายการรักษาได้ติดตามพระอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ เจ้าหญิงมาร์กาเรต้า มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เจ้าชายราดู พระสวามี ไปทรงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักเมืองโอบอนน์ เขตเมืองมอร์ช สมาพันธรัฐสวิส สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮ (พระชนมพรรษา 96 พรรษา) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของโรมาเนีย ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองยกเลิกระบอบพระมหากษัตริย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทรงเป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังทรงพระชนม์ชีพในขณะนั้น

สวรรคต

สำนักพระราชวังแห่งโรมาเนียได้แถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เสด็จสวรรคตแล้วด้วยพระอาการสงบ เมื่อวันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เวลา 12.00 น. ณ พระตำหนักเมืองมอร์ช สมาพันธรัฐสวิส สิริพระชนมพรรษา 96 พรรษา

พระราชตระกูล

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. ชาร์ลส์ แอนโทนีแห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
8. ลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
4. เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงแอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. มาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
2. คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
11. แกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์และไรน์
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮแห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. คริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
12. จอร์จที่ 1 แห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. หลุยส์แห่งเฮสส์ - คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
6. คอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. แกรนด์ดยุคคอนสแตนติน นิโคเลวิชแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
13. โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งแซ็กซ์ - เอลเทเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
3. เฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. วิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
14. ฟริดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ออกุสตาแห่งแซ็กซ์ - ไวมาร์
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 

ภาพ

อ้างอิง

ก่อนหน้า พระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย ถัดไป
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย
(ครั้งที่ 1)
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(พ.ศ. 2470พ.ศ. 2473)
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย
(ครั้งที่ 2)
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(พ.ศ. 2483พ.ศ. 2490)
ไม่มี
(สิ้นสุดระบอบกษัตริย์)
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
ผู้นำประเทศโรมาเนีย
(ครั้งที่ 1)

(พ.ศ. 2470พ.ศ. 2473)
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
ผู้นำประเทศโรมาเนีย
(ครั้งที่ 2)

(พ.ศ. 2483พ.ศ. 2490)
คอนสแตรติน เอียน ปาร์ฮอน
(คอมมิวนิสต์โรมาเนีย)
คอมมิวนิสต์
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์โรมาเนีย
(ภายใต้กฎหมาย)
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(พ.ศ. 2490พ.ศ. 2560)
เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตตา มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย